อื่นๆ
รู้ไว้ใช่ว่า..กับประกันภัยรถยนต์ EP.2

กลับมาต่อกันจาก EP.1 ในขั้นตอนการใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ประกันภัยภาคสมัครใจ กันเลยนะครับ หลังจากที่เกิดอุบัติหตุและคู่กรณีได้รับบาดเจ็บและทางเราต้องการรับผิดชอบ จึงยื่นข้อเสนอไปทางโรงพยาบาลว่าเราจะใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ของเราช่วยค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากรถมอเตอร์ไซต์คู่กรณี พ.ร.บ.และภาษีขาด ผลปรากฏว่าไม่สามารถทำได้เลยทันทีนะครับ ต้องได้รับคำตัดสินจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเราผิดจริงเสียก่อน โดยเอาหลักฐานการแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันพร้อมระบุว่าเราเป็นคนผิดไปยื่นกับทางโรงพยาบาล ประกัน พ.ร.บ. ถึงจะให้สิทธิ์ในการรักษา ซึ่งสิทธิ์ขั้นต้นในการรักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุจะอยู่ที่ 30,000 บาท หากมีการแอดมิทหรือผู้บาดเจ็บรักษานานกว่านั้นและมีค่าใช้จ่ายเกินสิทธิ์ พ.ร.บ. ก็จะเป็นในส่วนของประกันรถภาคสมัครใจที่ซื้อไว้....
Advertisement
Advertisement
ยัง ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ ในวันปิดคดีหรือต้องการจบแบบสวย ๆ ผู้บาดเจ็บจะต้องหายป่วยหรือไม่ต้องเข้ารับการรักษาอีกหรือไม่มีการนัดจากทางหมออีก จึงจะสามารถปิดคดีได้ เพราะทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้บาดภายนอกไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่พอผ่านไป 3-4 วันปรากฏว่าเสียชีวิต เนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือน เมื่อปิดคดีไปแล้ว จึงไม่สามารถเอาผิดใด ๆ เพิ่มเติมได้ หรือหากเป็นการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้มาเบิกเงินค่ารักษากับทางคนชนได้ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ต้องภาวนามิให้คู่กรณีเป้นอะไรไปมากกว่านี้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับประกันภัยรถยนต์และสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของ พ.ร.บ. ว่าเหตุใดถึงแนะนำให้ซื้อหรือต่อ พ.ร.บ. เดียวกันกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ นั่นเพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวและเสียเวลาเหมือนผู้เขียนอีก ซึ่งจริง ๆ แล้วเจ้าของรถจักรยานยนต์ควรต่อ พ.ร.บ.และภาษีให้ตลอด ห้ามขาด เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่ารถยนต์ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ตามต่างจังหวัด ต่างอำเภอมากกว่า 50% ไม่ค่อยต่อ พ.ร.บ.และ ภาษีรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุมาบางรายไม่มีแม้แต่เงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ด้วยเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาทต่อปี สามารถที่จะช่วยเจ้าของรถในยามฉุกเฉินได้ เชื่อหรือไม่ว่าแม้แต่การเกิดอุบัติเหตุโดยไม่มีคู่กรณี พ.ร.บ. ก็ยินดีที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ เพียงแต่ต้องนำเอกสารเหล่านี้ไปยื่นกับโรงพยาบาล
Advertisement
Advertisement
- ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวัน
- รูปถ่ายรถจักรยานยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ
- สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (พ.ร.บ.)
- สำเนาจดทะเบียนภาษีรถ
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประสบเหตุ
หากเจ้าของรถประสบเหตุเองก็ใช้สำเนาบัตรประชาชนแค่เจ้าของรถ แต่ถ้ารถยืมมาต้องใช้เอกสารทั้งสองคน จากนั้นยื่นให้กับทางโรงพยาบาล
ซึ่งชาวบ้านมากกว่า 80-90% มักไม่รู้ ว่า พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด หรือแม้แต่เกิดอุบัติเหตุรถล้มคนเดียว โดยค่ารักษาที่จะได้รับประกอบไปด้วย
- ค่ารักษาพยาบาลตามจริง 30,000 บาท
- นิ้ว, ขา, แขนขาด ทุพพลภาพ 35,000 บาท
- ทุพพลภาพ, เสียชีวิต รักษาพยาบาลด้วย, นิ้วแขนขาขาดด้วย 65,000 บาท
แต่ถ้าเป็นฝ่ายถูก
- ค่ารักษาพยาบาลเบิกได้ตามจริง 80,000 บาท
- นิ้วขา 200,000 บาท
- มือ, แขน, ขา ขาด, ตาบอด 250,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร ทำงานปกติไม่ได้ 300,000 บาท
- เสียชีวิต เบิกได้ 500,000 บาท
Advertisement
Advertisement
ซึ่ง บริษัทประกัน ของ พ.ร.บ. จะต้องจ่ายภายใน 7 วัน นับจากบริษัทได้รับแจ้งและเอกสารการเบิกครบ
เห็นหรือไม่ว่า....พ.ร.บ. เองก็มีความสำคัญไม่แพ้ประกันภัยรถยนต์เหมือนกัน
บทความโดย Rum
- ภาพปก ถ่ายโดย Peggy_Marco / Pixabay
- ภาพที่ 1 ถ่ายโดย fsHH / Pixabay
- ภาพที่ 2 ถ่ายโดย blende12 / Pixabay
- ภาพที่ 3 ถ่ายโดย valtercirillo / Pixabay
- ภาพที่ 4 ถ่ายโดย Queven / Pixabay
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น
