ความรู้
วิศวกร ระบบท่อ
768
.jpg)
สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับอาชีพวิศวกร ซึ่งอาชีพวิศวกรมีหลากหลายสาขาออกไป วันนี้ผมจะมาพูดถึงอาชีพ วิศวกรรมระบบท่อ (Piping engineering) นั้น ทำงานเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง ต้องจบสาขาอะไร และลักษณะของงานที่ทำเป็นแบบใด เราไปคุยต่อกันเลยครับ
- จะเป็นวิศวกรระบบท่อได้นั้นต้องจบสาขาวิศวกรรมเครื่องกลโดยหลัก ๆ จะเน้นวิชาของไหล วัสดุศาสตร์ และวันนี้เราจะเน้นเกี่ยวข้องกับงานท่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบท่อ ซึ่งงานระบบท่อจะอยู่ทั้งภายในโรงงาน โดยลักษณะงานของวิศวกรระบบท่อนั้นจะเกี่ยวข้องกับ
- อย่างแรกที่วิศวกรระบบท่อต้องเป็นคือ การอ่านแบบ และสามารถเขียนแบบได้ และฝึกทักษะด้านการจินตนาการโดยที่สามารถมองหน้างานออก
- รู้คุณสมบัติของท่อแต่ละประเภท ซึ่งทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน และเลือกขนาดท่อและความหนาของท่อ ที่เหมาะสมกับงาน
- การออกแบบแนวท่อ และการติดตั้งท่อโดยให้ของไหลสามารถไหลได้ตามที่ต้องการ และมีความดันสูญเสีย (Pressure loss) ในระบบท่อให้น้อยที่สุด (ส่วนมาก Pressure loss จะเกิดตรงข้อต่อหรือข้องอ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อ)
- การออกแบบและติดตั้ง Support รับท่อ และ Pipe rack เพื่อให้ระบบท่อมีความแข็งแรงไม่เคลื่อนที่ ที่เวลามีของไหลภายในท่อ มั่นคง ปลอดภัย และลดแรงการแทกจากการไหลของของไหลได้อีกด้วย
- วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างของระบบท่อให้มีความยืดหยุ่น (Flexibility analysis) เพียงพอต่อการใช้งานเนื่องจากอย่างที่กล่าวไปข้างต้นการไหลของของไหลทำให้เกิดแรงกระแทรก ทางวิศวกรระบบท่อต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย ถ้าลืมจุดนี้ไป จะทำให้เกิดเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุ ส่งผลให้เครื่องจักร หรือ งานระบบไฟฟ้า หรือแม้กระทั้งโครงสร้างอาคารพังเสียหายได้อีกด้วย
- รู้ขั้นตอนการติดตั้งและประกอบระบบท่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อ เช่น ข้อต่อ วาล์ว เครื่องมือวัด เป็นต้น
- ตรวจสอบและวางแผนซ่อมบำรุงรักษาระบบท่อด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ที่มาตรฐาน
Advertisement
Advertisement
ภาพ งานระบบท่อน้ำเย็น
ภาพ การติดตั้งงานระบบท่อน้ำเย็น
ภาพ การเทสเบื่องต้นของแผลเชื่อม
ภาพ ระบบท่อดับเพลิง
วิศวกรระบบท่อนั้น นอกจากจะต้องชำนาญเรื่องท่อแล้ว ยังต้องมีทักษะรอบด้านในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและวางแผนอย่างมืออาชีพในการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งบำรุงรักษาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเป็นไปตามมาตราฐานของวัสดุ ได้ดีอีกด้วย จึงจะทำให้งานนั้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ภาพ: Weerapart N.
Advertisement
Advertisement
ความคิดเห็น
