ความรู้
แอบส่องพฤติกรรมคนไทยด้วย Google Trends ฟีจเจอร์สำคัญที่ครีเอเตอร์ต้องรู้ !

ทุกวันนี้เวลาอยากจะรู้ จะถามอะไร ก็คงไม่พ้นถามอากู๋ หรือ Google เว็บไซค์ Search Engines ที่ทุกคนต้องเข้าก่อนเป็นอันดับแรกในทุก ๆ วัน แล้วรู้หรือไม่ ? ทุกผลการค้นหาของเรานั้น Google ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ จัดอันดับ สร้างกราฟ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้อย่างฟรี ๆ !
Google Trends คือฟีจเจอร์หนึ่งของ Google ที่รวบรวมผลการค้นหาของผู้คนที่ใช้เว็บไซค์ของ Google จำนวนหลายสิบล้านคนเอาไว้ ยิ่งกว่าการเก็บข้อมูลจากแบบสำรวจ โดยผู้ใช้งานสามารถดูผลแนวโน้มการค้นหาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่าสำหรับคนที่ทำงานสายครีเอเตอร์ ที่จะต้องแสวงหาคอนเทนต์ที่ดี มีประโยชน์ และตอบโจทย์ของผู้คนในขณะนั้นมาให้ได้ เครื่องมือนี้จัดได้ว่าเป็นหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ครีเอเตอร์ทุกคนทำงานได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
สำหรับการใช้งานนั้นไม่ยากเลย เพียงแค่เข้าไปที่เว็บไซค์ Google Trends
Advertisement
Advertisement
ด้านในของฟีจเจอร์นั้นจะแสดงข้อมูลของผลการค้นหาต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาได้ทั้ง ผลการค้นหายอดนิยม คียเวิร์ด เปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลย้อนหลังได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งมีหลากหลายลูกเล่นให้ลองใช้
ยกตัวอย่างเช่น ผลการค้นหายอดนิยมในวันนี้ เวลานี้ เช่น ในประเทศไทย (23 มี.ค. 63) ผลการค้นหายอดนิยมที่มียอดการค้นหามากกว่า 10,000 ครั้ง ได้แก่ โตโยต้าลีสซิ่ง ลงทะเบียนว่างงาน และ ประกันโควิดเจอจ่าย นั่นเอง (เนื่องจากช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ประกันโควิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการแพร่ระบาดของโรค เป็นผลให้มีการหยุดงาน ทำงานโดยไม่ได้รับเงินบ้าง เลิกจ้างบ้าง ประชาชนจึงมีความสนใจในการลงทะเบียนว่างงาน และผลการค้นหาโตโยต้าลีสซิ่งก็เรื่องของการพักชำระหนี้นั่นเอง)
นอกจากนี้ เรายังสามารถค้นหาผลการค้นข้อมูลด้วย Keyword บางตัวได้ โดยเราสามารถเลือกค้นหาได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงที่แล้ว ย้อนกลับไปจนถึง ปี ค.ศ. 2004 (16 ปี) เลยทีเดียว
Advertisement
Advertisement
เหตุผลว่าทำไมต้องใช้ Google Trends
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ข้อมูลที่ได้จาก Google Trends เป็นข้อมูลเชิงดิบ ที่มาจากพฤติกรรมของผู้ใช้โดยตรง ดังนั้นข้อมูลจึงมีความแม่นยำสูง และเรียลไทม์มาก เพราะในแต่ละนาทีข้อมูลก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามผลการค้นหา ณ ขณะนั้น โดยจะเป็นประโยคต่อครีเอเตอร์ในการทำคอนเทนต์ที่สดใหม่ ตรงกับแนวโน้มและความนิยมในขณะนั้น
นอกจากนี้ สำหรับครีเอเตอร์ นักเขียนผู้ที่เขียนงาน SEO ก็สามารถใช้ประโยชน์ Keyword Analysis โดยฟีจเจอร์ “คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง” โดยดังภาพตัวอย่าง Keyword = ประกัน โควิด โดยระบบจะแสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ไล่เรียงลำดับลงมา ซึ่งแสดงว่าผู้คนสนใจประกันโควิดของกสิกร มากที่สุดนั่นเอง โดยนักเขียนสามารถนำข้อมูลส่วนนี้มาวิเคราะห์หาคำคีย์เวิร์ดสำหรับบทความ SEO ของตนเองต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น ประกันโควิด คุ้มครองทันที เจอจ่าย เป็นต้น
Advertisement
Advertisement
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับฟีจเจอร์ดี ๆ ที่เราได้แนะนำไป ด้วยความที่การใช้งานไม่ซับซ้อน สำหรับครีเอเตอร์ทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงเป็นเครื่องมือเบื้องต้นได้ดีทีเดียว หรือไม่จำเป็นต้องเป็นครีเอเตอร์ก็ได้ สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการข้อมูลสถิติไว้อ้างอิงในบทความ หรือรายงาน Google Trends ก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ตอบโจทย์เช่นกัน
ความคิดเห็น
