ไลฟ์แฮ็ก

10 ทริคเด็ด สัมภาษณ์งานอย่างไร ไม่ให้พลาด

4.0k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
10 ทริคเด็ด สัมภาษณ์งานอย่างไร ไม่ให้พลาด



พูดถึงเรื่องการสัมภาษณ์งาน สำหรับมนุษย์วัยทำงานที่ผ่านงานกันมาอย่างโชคโชนแล้วนั้น คงจะพอจับทริคหรือแนวทางเด็ด ๆ สำหรับตัวเองได้บ้างแล้ว แต่สำหรับน้อง ๆ ที่เป็นFirst Jobber ยังไม่มีประสบการณ์นี่สิ การสัมภาษณ์คงจะทำให้เกิดอาการประหม่ากันไม่ใช่น้อย ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ด้วยแล้ว พอมีตำแหน่งงานว่างสักที ก็แทบจะกระโดดตะครุบกันเลยทีเดียว แล้วเราจะเอาชนะบรรดาผู้สมัครคนอื่น ๆ ได้อย่างไร? ต้องบอกก่อนเลยว่า ประเด็นสำคัญของหัวข้อนี้ไม่ได้อยู่ที่การเอาชนะคนอื่น แต่เป็นการเอาชนะตัวเองต่างหาก เพราะเราจะไม่รู้สึกกลัวว่าจะแพ้คนอื่นเลย หากเรา"มั่นใจและเตรียมตัว"มาดีพอ ขอย้ำว่าประเด็นสำคัญคือ ความมั่นใจ และ การเตรียมตัว สำหรับทริคเด็ดของเราจะมีอะไรบ้างนั้น มาชมกัน

การสัมภาษณ์งาน

ที่มา : https://www.pexels.com

1. ศึกษาข้อมูลขององค์กรที่ต้องไปสัมภาษณ์งาน

Advertisement

Advertisement


ต้องบอกก่อนว่าถ้าเราได้ศึกษาและมีข้อมูลขององค์กรนั้น ๆ มาก่อนจะถือว่าเป็นข้อได้เปรียบในการสัมภาษณ์ เช่น องค์กรนั้นทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ? จุดเด่นหรือจุดแข็งขององค์กร ? ยิ่งถ้าเราไม่มีประสบการณ์ในสายงานนั้น ๆ ด้วยแล้ว ยิ่งควรที่จะพยายามหาข้อมูลให้มากที่สุด และที่สำคัญคือ ควรรู้และทำความเข้าใจก่อนว่า ตำแหน่งที่เราได้สมัครไปนั้น ต้องทำงานเกี่ยวกับอะไรและมีหน้าที่อะไรบ้าง



2. กรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและอย่าลืมเขียนแนะนำตัว

เอกสารสมัครงานที่มา : https://pixabay.com
การกรอกใบสมัครงานควรกรอกให้ครบทุกช่องเท่าที่จะทำได้ ด้วยลายมือที่เป็นระเบียบ อ่านง่าย (ไม่ต้องรีบ) สิ่งสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม คือช่องที่ให้เขียนแนะนำตัว หลายคนปล่อยว่างเลยก็มี ขอบอกว่าพลาดมากเพราะนั่นเป็นโอกาสทองที่คุณจะได้เขียนแนะนำตนเองนอกเหนือจากที่ใบสมัครกำหนดให้เขียน จงเขียนสิ่งที่คุณคิดว่าคุณมีดีอยู่ในตัว สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือตำแหน่งงานที่สมัคร เช่น คุณสมัครตำแหน่งพนักงานต้อนรับในโรงแรมและคุณสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ดี คุณอาจจะเขียนแนะนำตนเองเป็นภาษาอังกฤษซะเลย เผื่อจะเป็นจุดที่เตะตาต้องใจฝ่ายบุคคลเข้าให้

Advertisement

Advertisement



3. เอกสารประกอบการสมัครต้องครบ


การที่เราเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนนั้นแสดงถึงความพร้อมและความตั้งใจจริงของเรา ซึ่งเอกสารการสมัครโดยทั่วไปก็อาทิเช่น ใบสมัครงาน สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน วุฒิการศึกษา ใบผ่านงาน(ถ้ามี) หรืออื่น ๆ ตามที่มีในประกาศรับสมัคร



4. ตรวจสอบข้อมูลติดต่อกลับให้ถูกต้องและครบถ้วน


หากกรอกใบสมัครและสัมถาษณ์ซะดิบดี แต่ดันเขียนข้อมูลติดต่อกลับผิด ก็เท่ากับตกม้าตายจริง ๆ ฉะนั้นแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องของเบอร์โทรศัพท์มือถือ เบอร์โทรศัพท์บ้าน อีเมล หรือจะเพิ่มFacebook หรือ Line ID ลงไปด้วยก็ได้ ทั้งนี้เผื่อมีอันใดอันหนึ่งผิดพลาดไป จะได้ติดต่อช่องทางอื่นได้


5. แต่งตัวไปสัมภาษณ์งานอย่างไร

แตางตัวไปสัมภาษณ์งานภาพถ่ายโดย mentatdgt จาก Pexels

เรื่องนี้คงจะเป็นปัญหาหนักอกหนักใจของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะคุณผู้หญิง เพราะสำหรับคุณผู้ชายปกติก็คงแพทเทินกันไม่เยอะมาก สำหรับผู้หญิงนั้นการแต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน อย่างแรกเลยคือ การเตรียมชุดที่จะใส่ไว้ตั้งแต่คืนก่อนสัมภาษณ์ เพราะจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาเลือกในตอนเช้า สำคัญที่สุดคือต้องสุภาพ ไม่โป๊ ดูสะอาดสะอ้าน รองเท้าควรคัชชู ส้นสูง หรือหุ้มส้น(ทั้งนี้ขึ้นอยู่บริบทของแต่ละองค์กร) นอกจากนี้การแต่งตัวให้เหมาะสมแก่ตำแหน่งงานที่สมัครก็มีความสำคัญไม่น้อย เช่น ถ้าสมัครตำแหน่งพนักงานเสริฟ อาจจะต้องเป็นชุดที่มีความกระฉับกระเฉงหน่อย หรือพนักงานต้อนรับในโรงแรม อาจจะต้องดูเรียบร้อยเป็นทางการ ใส่กระโปรง รองเท้าส้นสูงนิดหน่อยเพื่อบุคคลิกที่ดี การใส่ใจรายละเอียดเช่นนี้แสดงถึงความตั้งใจและเข้าใจในตำแหน่งงานนั้น ๆ อีกอย่างคือ ชุดที่ใส่ไปสัมภาษณ์งานควรจะเป็นชุดที่ใส่แล้วมั่นใจด้วย เพราะอย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่าความมั่นใจสำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับคุณผู้หญิง

Advertisement

Advertisement


6. ตรงต่อเวลาและศึกษาเส้นทาง

การจราจรที่ติดขัด

ภาพถ่ายโดย VisionPic .net จาก Pexels

ก่อนจะถึงวันสัมภาษณ์งานควรทำการศึกษาเส้นทางการเดินทางให้ดี ว่าต้องใช้เวลาเดินทางเท่าไหร่? แถวนั้นรถติดหรือไม่? สามารถเดินทางไปด้วยวิธีใดได้บ้าง? เพราะหากเรามัวไปหลงทางหรือติดแหงกอยู่บนท้องถนนที่รถติดขนัด จนไปไม่ทันเวลาแล้วล่ะก็ สิ่งที่ได้ตระเตรียมมาทั้งหมดก็คงจะสูญเปล่า และอย่าลืมที่จะเผื่อเวลา ยิ่งเยอะยิ่งดี เพราะคุณสมบัติสำคัญที่ทุกองค์กรต้องการคือ ความตรงต่อเวลานั่นเอง


7. เตรียมตอบคำถามเบสิค

คงจะรู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าในการสัมภาษณ์แทบจะทุกที่จะมีคำถามเบสิคที่ถามกันเป็นประจำ แต่คนตกม้าตายเพราะคำถามเบสิคก็มีเยอะเช่นกัน ทางที่ดีเราควรที่จะซักซ้อมและเตรียมคำตอบเหล่านั้นไว้เลยจะดีกว่า เพื่อช่วยลดความตื่นเต้น ตัวอย่างคำถามเช่น

เพราะเหตุใดจึงลาออกจากที่ทำงานเดิม?

คุณคิดว่าจนเองเหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้อย่างไร?
ทำไมเราถึงควรรับคุณเข้าทำงาน?
คุณมีการวางแผนอนาคตการทำงานของคุณใน5ปีข้างหน้าไว้อย่างไร?
หน้าตาของคำถามก็จะประมาณนี้ ทั้งหมดนี้ก็เป็นการถามเพื่อจะดูทัศนคติและแผนระยะยาวของคุณ ทั้งนี้คำถามอาจจะไม่ใช่แบบนี้เป๊ะ ๆ แต่ก็ควรฝึกหาคำตอบไว้เพื่อเป็นแนวทาง



8. Resume กับ portfolio บ่งบอกความเป็นคุณ

เรซูเม่

ที่มา : https://www.freepik.com

การจัดทำResumeกับportfolioนั้นสำคัญมาก เพราะมันทำให้ทางผู้รับสมัครงานได้ทราบข้อมูล ความถนัด ความสนใจ รางวัล ประสบการณ์ของคุณ และคุณสามารถออกแบบข้อมูลที่ใส่ลงไปได้ตามต้องการ ประมาณว่าคุณอยากนำเสนออะไรในตัวเอง คุณก็ใส่ลงไปในResume กับ portfolio ได้เลยดังนั้นขอให้ทำมันออกมาอย่างดีที่สุด และทุกวันนี้ก็มีไอเดียการทำ Resume กับ portfolio สวย ๆ ในอินเตอร์เน็ตมากมายให้เลือกมาปรับใช้ ดังนั้นจงใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์



9. จงพกพาความมั่นใจไปอย่างเต็มเปี่ยม


สิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ ก็คือการเตรียมตัวนี่แหละ ทั้งความมั่นใจในการแต่งตัวที่เราได้คัดสรรมาตั้งแต่เมื่อคืนแล้วว่าแต่งแบบใหนจึงจะเหมาะสมแก่ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร หรือจะเป็นความมั่นใจในการตอบคำถามสัมภาษณ์ซึ่งเราได้หาข้อมูลและแนวทางในการตอบเอาไว้แล้ว ที่สำคัญควรฝึกพูดจาให้ฉะฉาน เสียงดังฟังชัด ปราศจากความเคอะเขินจะดีมาก



10. ตอบคำถามด้วยทัศนคติเชิงบวก

ยิ้มแยมแจ่มใสที่มา : https://www.freepik.com

ไม่ว่าจะองค์กรใดก็ย่อมต้องการบุคลากรที่มีทัศนคติเชิงบวกเข้าไปทำงาน ฉะนั้นแล้วการตอบคำถามสัมภาษณ์ด้วยทัศนคติเชิงบวกย่อมดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่ทำงานเก่า เศรษฐกิจ หรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม และอย่าลืมที่จะยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงความเป็นมิตรกับทุกคน

สุดท้ายเมื่อคุณได้เตรียมความพร้อมไปอย่างดีแล้ว คุณจะไม่มีอะไรต้องประหม่าอีกเลย และอย่าลืมสิ่งสำคัญที่คุณทำได้ง่าย ๆ คือความคิดบวกจากข้างในและรอยยิ้มสดใสที่จะเป็นใบเบิกทางเล็ก ๆ ให้กับคุณ แต่ถึงแม้จะไม่ได้งานในครั้งนี้ แต่สิ่งที่คุณจะได้กลับมาแน่นอนคือประสบการณ์ ที่จะช่วยให้คุณได้เปิดโลกการทำงานและสะสมทริคของตัวเอง จนไม่ต้องกลัวการสัมภาษณ์อีกต่อไป



คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์