อื่นๆ

การทำสวนทุเรียน โดยใช้เทคนิคการส่งน้ำของธนาคารน้ำใต้ดิน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การทำสวนทุเรียน โดยใช้เทคนิคการส่งน้ำของธนาคารน้ำใต้ดิน

ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจ มีราคาสูง ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จึงมีผู้สนใจทำสวนทุเรียนเพิ่มมากขึ้น แต่ทุเรียนเป็นพืชที่ชอบดินมีความชื้นเพียงพอ ทำให้มีข้อจำกัด เพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่ปลูกแล้ว ทุเรียนให้ผลผลิตดี แต่เหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ สวนทุเรียนที่ให้ผลผลิตดี มักอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ หรือเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่หากรู้หลักการไหลของน้ำใต้ดิน ก็จะเข้าใจความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ได้ไม่ยาก

https://unsplash.com/photos/MuhoLuFJksc

การไหลของน้ำใต้ดิน ตามแรงเหวี่ยงของโลก จากอิทธิพลการหมุนรอบตัวเอง ทำให้น้ำไหลจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และมีแนวโน้มจะไหลเข้าหาเส้นศูนย์สูตร จากหลักการนี้จึงสามารถส่งน้ำ ผ่านทางใต้ดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นระยะทางไกล ๆ ได้  โดยเส้นทางที่น้ำผ่านทางใต้ดิน จะส่งผลให้ดินเกิดความชุ่มชื้น เหมาะสมกับการเพาะปลูก จึงมีผู้นำหลักการนี้ มาใช้เพื่อให้น้ำสวนทุเรียนขนาดใหญ่ เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง

Advertisement

Advertisement

https://unsplash.com/photos/3aH6trOf2dA

หากจะเห็นภาพชัด ว่าระบบส่งน้ำใต้ดินทำงานอย่างไร อาจต้องดูจากสวนทุเรียนของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งจะมีทะเลสาบเก็บน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แม้จะอยู่ห่างออกไป 160 กิโลเมตร แต่ได้รับอิทธิพลจากระบบการไหลของน้ำใต้ดิน และเป็นพื้นที่เส้นทางน้ำไหลผ่าน ทำให้พื้นดินได้รับความชุ่มชื้น รอเลี้ยงสวนทุเรียนให้เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ จึงให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และยังช่วยลดต้นทุน รายจ่ายในการลดน้ำสวนทุเรียนได้เป็นอย่างมาก

https://unsplash.com/photos/b1jeQiJwYQI

ระบบส่งน้ำใต้ดินจากแรงเหวี่ยงของการหมุนรอบตัวเองของโลก ยังจะสามารถนำไปพัฒนาที่ดิน ที่ขาดแคลนน้ำ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ทำการเกษตร ช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น โดยมีต้นทุนต่ำลง จึงเป็นโอกาส สำหรับการลงทุนยุคหลังโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี และยังจะช่วยให้เกิดการจ้างงานขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้มีอาหารเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

Advertisement

Advertisement

เครดิตภาพปกจาก unsplash โดย Jonny Clow

เครดิตภาพประกอบที่ 1 จาก unsplash โดย Vincenzo Biancamano

เครดิตภาพประกอบที่ 2 จาก unsplash โดย Vincenzo Biancamano

เครดิตภาพประกอบที่ 3 จาก unsplash โดย Rajiv Perera

เขียนบทความโดย ปล.ใจดี

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ปลใจดี
ปลใจดี
อ่านบทความอื่นจาก ปลใจดี

การตลาด การออกแบบ การประดิษฐ์ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์