อื่นๆ

การปรับตัวในห้วงสุดท้ายของชีวิต

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การปรับตัวในห้วงสุดท้ายของชีวิต


วันนี้ฉีดเข็มสอง AZ ผู้เขียนออกจากบ้านพักขับรถไปเองใช้เวลาไม่นานก็ได้ครบตามกระบวนการ ย้อนกลับไปถึงตอนจะเริ่มฉีดเข็มแรก สังคมมีทั้งการวิพากษ์วิจารณ์จนถึงขั้นวิตก มีการแสดงออกถึงพฤติกรรมนำความคิดอย่างมากมายหลายแบบตลอดเวลา พอมาเข็มสองก็ธรรมดาขึ้น เรียบง่ายขึ้น ไม่ค่อยจะบ่นกันมากเท่าไหร่

การออกนอกบ้านในสถานการณ์แบบนี้ และอยู่ในฐานะของวัยนี้ ที่ถึงวัยนึง ก็จะเริ่มมีเวลามองสิ่งรอบตัวได้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน แก่งแย่งกันในสิ่งที่ต้องการมากๆ ของบุคคลในสังคมที่ทำให้เห็นภาพพฤติกรรมของผู้ที่มีอายุมากขึ้นในสังคมกว่าที่เคยเห็นก่อนที่จะถึงวัยนี้  ทั้งการแต่งกาย การพูดจา การวางตัว ผู้สูงวัยที่แสดงอาการไม่พอใจในสิ่งที่ต้องการ การพูดเสียดสี กระทบกระแทก พร้อมเสนอสิ่งที่ต้องการให้ทำตามที่ตนเองต้องการโดยไม่คำนึงถึงคนอื่นๆ ที่อยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกันเหมือนกัน การใช้เทคโนโลยีในโทรศัพท์เคลื่อนที่บันทึกเหตุการณ์เพื่อสนองความต้องการ ซึ่งแสดงออกเพื่อให้เห็นเหมือนกับว่าจะไม่ยอมให้มีการเอารัดเอาเปรียบ แต่ลืมนึกไปว่าการกระทำแบบนั้นเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นแบบไม่สมควรอย่างยิ่งและไม่น่าให้อภัยเหมือนกัน  ทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นการกระทำการแสดงออกที่ไม่สมควรกับวัยที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมได้

Advertisement

Advertisement

ผู้สูงอายุ 1 สิ้นเดือนกันยายน ก็จะมีการเกษียณอายุราชการทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้เขียนซึ่งได้หยุดพักผ่อนจากการทำงานมานานถึงสองปีแล้วจึงขอเสนอข้อคิดส่วนหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางการปรับตัวให้มีความสุขในวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นข้อคิดจาก คณะแพทย์ศาสตร์โรพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นความรู้สำหรับประชาชนซึ่งระบุไว้ว่า ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย สมอง อารมณ์ และสังคม เป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ

ด้านจิตใจ ท่านอย่าคิดว่าอายุทำให้คนอื่นเลิกเคารพตัวท่าน ตัวท่านเองก็ไม่ควรจริงจังกับชีวิตให้มากนักควรดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง พักผ่อนหย่อนใจด้วยการทำงานอดิเรกเล็กๆน้อยๆเพื่อความเพลิดเพลินใจ เช่น ปลูกต้นไม้ หรือสมัครเป็นนักเขียนกับ True id ที่สำคัญต้องไม่เก็บตัวแยกตัวอยู่ตามลำพังคนเดียวเมื่อพบอุปสรรคควรปรึกษาขอคำแนะนำจากคนอื่นบ้างก็น่าจะดีกว่าเครียดอยู่คนเดียว ท่านควรจะเริ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในสังคมโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Advertisement

Advertisement

การที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะถ้าท่านเป็นบุคคลที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2489 ถึง พ.ศ.2507 ในยุคที่เรียกว่า Baby Boomer/Gen B ผู้เขียนมีเทคนิคเคล็ดลับที่ใช้กับตัวเองเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงนั้น คืออย่างแรก การเปิดใจยอมรับ ยกตัวอย่างภาษาเขียนของยุคสมัยนี้ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก การยอมรับคำว่า ค่า ซึ่งสมัยนี้มักจะเขียนแทนคำว่า ค่ะ หรือ พุ่งนี้ แทนคำ พรุ่งนี้ ซึ่งมักจะใช้กันมากใน Line ก็ไม่ใช่ใครอื่นลูกๆ หลานของผู้เขียนเองนั่นแหละตอนแรกก็รู้สึกว่าทำไมพิมพ์ผิดกันบ่อย แต่พอซ้ำๆ ก็เข้าใจได้ว่าต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารมากกว่าจะมีเจตนาอื่น อย่าลืมว่าตอนนี้ท่านไม่ใช่หัวหน้าผู้คุ้มกฎที่เคร่งครัดด้านวินัย ถ้าเป็นการสื่อสารเพื่อความเข้าใจแบบที่ไม่เป็นทางการมันจะเสียหายตรงไหน แต่ถ้าเป็นเรื่องงานเรื่องการมันก็ควรที่จะเป็นแบบที่ถูกต้อง เริ่มจากการยอมรับสิ่งที่ควรจะยอมรับได้บ้างก็น่าจะเป็นการดีกว่าที่จะปฏิเสธทุกอย่าง

Advertisement

Advertisement

ผู้สูงอายุ 2

สำหรับด้านร่างกายต้องดูแลสุขภาพอนามัยให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 - 2 ครั้ง และออมทรัพย์ไว้เพื่อจุนเจือใช้จ่ายด้วย ในส่วนนี้มีเคล็ดลับอีกข้อที่ทำเป็นประจำคือ จากการที่ตื่นเช้าเป็นปกติถ้าหากเด็กๆในบ้านตื่นสาย ที่ว่าสายนี้คือสายมากๆ บางท่านเมื่อได้พักผ่อนอยู่กับบ้านก็มักจะมองว่าการตื่นสายมากๆของเด็กๆลูกๆหลานๆไม่ดีไม่งามก็ถ้าเขาเหล่านั้นเรียนหนังสือหรือทำงานมาตลอดอาทิตย์แล้วจะตื่นสายซักหนึ่งหรือสองวันจะเป็นไรไป แทนที่จะเกรี้ยวกราดลองพูดคุยชวนไปออกกำลังกายในตอนเช้ารับอากาศบริสุทธิ์ โดยเลือกประเภทการออกกำลังกายที่เด็กๆชอบ โน้มน้าวให้เด็กๆเห็นถึงประโยชน์จะดีกว่าบ่น ท่านเองก็จะได้ออกกำลังกายไปด้วย ก็คือหาพวกไปออกกำลังกาย ระหว่างไปออกกำลังกายก็จะมีคนดูแลเกิดความอบอุ่นในครอบครัว

ผู้สูงอายุ 3 ผู้สูงอายุรุ่นก่อนๆได้บอกเล่าต่อๆกันมาว่า ไม่ต้องหวนคิดคำนึงถึงอดีต ไม่ต้องถวิลหาอนาคต จงอยู่กับปัจจุบัน ที่สำคัญขอเสนอให้ท่านยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้ถูกกาลละเทศะและเหมาะสมกับวัย ที่ผ่านมาเราทำตัวให้เป็นแบบอย่างกับคนรุ่นหลังบ้างหรือไม่ ข้อเสนอ แนวทาง ข้อคิด คำแนะนำ เป็นเพียงการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยในห้วงเวลาแต่การปฏิบัตินั้นๆจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลยถ้าท่านไม่ละทิฐิ เพื่อให้จิตใจเกิดการยอมรับ ท่านต้องไม่ดื้อดึงในความเห็นหรือการยึดมั่นในสิ่งที่คิดที่ทำในรูปแบบเดิมๆ ต้องปรับความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้ทันกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีของสังคมซึ่งก็อยู่ที่ผู้สูงอายุว่าจะปรับรับมือให้ทันความเปลี่ยนแปลงหรือไม่.

ผู้สูงอายุ 4

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์