อื่นๆ

คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างไร 2

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างไร 2

บทความที่แล้วได้กล่าวถึงการเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวโดยถูกกฎหมายในภาพรวมแล้ว อย่างไรก็ตาม คนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยก็มีหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งในวันนี้จะกล่าวถึงการเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MoU) ในที่นี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า การนำเข้าตามระบบ MoU

ขุดดินเครดิตภาพโดย : pixabay

โดยพื้นฐานแล้วคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยตามระบบ MoU นายจ้างสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง เนื่องจากจะต้องไปติดต่อที่ประเทศต้นทางด้วย ก็สามารถใช้บริการบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ (ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน) เป็นผู้ดำเนินการแทนนายจ้างก็ได้ ซึ่งการนำเข้าตามระบบ MoU มีกระบวนการโดยสังเขป ดังนี้

Advertisement

Advertisement

1. การยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10

2. การดำเนินการของประเทศต้นทาง ได้แก่ รับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา จัดทำบัญชีรายชื่อ และส่งบัญชีรายชื่อให้นายจ้างไทย

3. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว

4. การอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ

5. คนต่างด้าวไปดำเนินการตรวจลงตรา (Visa) รหัส L-A ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง กรณีคนต่างด้าวลาวและกัมพูชา หรือ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) กรณีคนต่างด้าวเมียนมา

6. คนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศไทย และผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง จากนั้นไปศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง เพื่ออบรมคนต่างด้าวในเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม และการทำงานในประเทศไทย และรับใบอนุญาตทำงาน E-Work Permit

Advertisement

Advertisement

7. เมื่อคนต่างด้าวมาถึงสถานที่ทำงานแล้ว คนต่างด้าวอย่าลืมไปยื่นใบรับรองแพทย์เพิ่มเติมตามระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนั้นนายจ้างยังจะต้องมีการแจ้งการจ้างคนต่างด้าว และคนต่างด้าวยังจะต้องแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 (ที่ได้ยื่นแบบคำร้อง) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คนต่างด้าวเข้าทำงาน

กรรมกรเครดิตภาพโดย : pixabay

โดยสรุปแล้วการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MoU) มีเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น ได้แก่ (1) นายจ้างดำเนินการด้วยตนเองทั้งหมด และ (2) นายจ้างจ้างบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานตามกฎหมายแทนตนทั้งหมด

เข็นรถเข็นเครดิตภาพโดย : pixabay


ภาพหน้าปกเครดิต : pixabay

Advertisement

Advertisement

เรียบเรียงโดย Ballack007

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์