ไลฟ์แฮ็ก

ปรับระบบความคิด ลดวิกฤติการฆ่าตัวตาย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ปรับระบบความคิด ลดวิกฤติการฆ่าตัวตาย

ปัจจุบันนี้มีคนฆ่าตัวตายหรือ ที่เรียกว่า "ทำอัตวินิบาตกรรม" นั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประเทศไทยนั้นมีสถิติการฆ่าตัวตายเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น และสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศแถบสแกนดิเนเวีย โดยเฉลี่ยประมาณ 300 รายต่อเดือน ส่วนช่วงอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด คือระหว่างอายุ 20 ถึง 50 ปี สาเหตุมาจาก การผิดหวังในความรัก จากหนี้สิน และจากบุคคลในครอบครัว วิธีการฆ่าตัวตายที่นิยมมากที่สุด คือ การแขวนคอตาย และมีแนวโน้มว่าจะ มีการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่าความเจริญทางเทคโนโลยีที่มีมากขึ้นนั้น เพียงแต่ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบาย แต่ไม่ได้ช่วยให้มนุษย์มีความทุกข์ลดลงได้ คนฆ่าตัวตายเกิดจากไม่สามารถ ทนได้ต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้น จึงอยากให้ท่านที่มีความทุกข์ปรับระบบความคิด ลดวิกฤติการฆ่าตัวตาย เพื่อให้เห็นถึงลักษณะแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์และเห็นคุณค่าในความมหัศจรรย์แห่งชีวิตที่เหนือสิ่งอื่นใดhttps://www.pexels.com/th-th/photo/9565498/

Advertisement

Advertisement

ภาพประกอบที่ 1 ถ่ายโดย Abhishek sanga จาก Pexels

ความทุกข์นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • ข้อ 1 "ทุกขัง" คือ ทุกข์ในไตรลักษณ์ เป็นสภาพที่บีบคั้น ไม่อาจทนอยู่ได้อย่างเดิม เป็นทุกข์อันมีลักษณะธรรมดาที่เกิดขึ้นกับทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่า เป็นรูปหรือเป็นนาม คือ "การไม่อาจทนอยู่ได้ในสภาพเดิมนั่นเอง" ทุกข์ในไตรลักษณ์ นี้ ทุกสิ่งเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ ระดับอะตอม หรือสิ่งใหญ่โตระดับจักรวาล ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับ เพราะมีทุกขังจึงเป็นเหตุให้เกิดอนิจจัง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็ว บางสิ่งก็เปลี่ยนแปลงช้า ระยะเวลาเกิดดับนานมากจนมองไม่เห็น เช่น การเกิดดับของดวงดาวของแกแล็กซี หรือ เอกภพทุกขนาด จนเราคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันเที่ยง หรือ บางสิ่งอาจจะมีระยะเวลา ในการเกิดดับเร็วเกินไป จนเรามองว่าเที่ยงเหมือนกัน เช่น การเกิดดับของคลื่นกระแสไฟฟ้า การเกิดดับของจิต
  • ข้อ 2 ทุกข์ในอริยสัจ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจนั่นเอง จึงเป็นทุกข์เล็ก ที่เป็นส่วนหนึ่งของทุกใหญ่ คือ ทุกขังนั่นเอง ทุกข์ในอริยสัจนั้น ก็มีระยะเวลาในการเกิดดับเช่นกัน สาเหตุแห่งทุกข์ในอริยสัจก็คือตัณหาหรือความอยากนั่นเอง เรียกรวมๆว่า สมุทัย อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ตัณหาแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิดคือ
  • ๑ กามตัณหา คือความอยากใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ อยากได้รูปสวยๆ อยากได้รสชาติอร่อย อยากได้กลิ่นหอมหรือกลิ่นรัญจวนใจที่ตนชอบ อยากฟังเสียงที่ไพเราะ เสียงที่ได้ยินแล้วเป็นสุข อยากได้รสสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สัมผัสสิ่งที่ตนรักตนชอบ และอยากมีความรู้สึกเบิกบานในอารมณ์ เมื่อไม่ได้ตามความอยากก็เป็นทุกข์
  • ๒ ภวตัณหา คือความอยากเป็น อยากในสถานะ เช่นอยากเป็นเจ้านาย อยากเป็นคนมีชื่อเสียง อยากได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นคนสำคัญ เป็นต้น เมื่อไม่ได้ตามความอยากก็เป็นทุกข์
  • ๓ วิภวตัณหา คือความไม่อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากอยู่ในสถานะใด หรืออยากให้พ้นไปเสียจากสิ่งใดๆ เช่นให้พ้นไปเสียจากความป่วยไข้ ให้พ้นไปจากความยากจน อยากให้พ้นไปเสียจากคู่ครองที่อยู่กันมานานเพราะมีความเบื่อหน่ายในนิสัยใจคอ อยากไปให้พ้นเสียจากหน้าที่การงานเดิม เป็นต้น เมื่อไปให้พ้นเสียไม่ได้ก็เกิดเป็นทุกข์
  • ตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ก็มีลักษณะไม่เที่ยง ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ เพราะเป็นทุกขัง คือทุกข์ในไตรลักษณ์ มีอาการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้เสมอเช่นกัน ถ้ามีความอดทน รอให้เป็น เย็นให้ได้ แต่ที่ด่วนฆ่าตัวตายก็เพราะจะให้ทุกอย่างได้ดั่งใจอย่างรวดเร็วนั่นเองhttps://www.pexels.com/th-th/photo/4935595/ภาพประกอบที่ 2 ถ่ายโดย Bruno Braghini จาก Pexels

Advertisement

Advertisement

แต่คนที่ฆ่าตัวตายนั้น กลับคิดว่าทุกข์ของเขาจะต้องเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้นตลอดไปไม่มีวันดับ เช่น เชื่อว่าชาตินี้ถ้าฉันขาดเธอฉันจะไม่มีวันที่จะมีความสุขไปตลอดชีวิต หรือ ชีวิตนี้ฉันไม่อาจจะรักใครได้อีกแล้วนอกจากเธอ ในเมื่อเธอไม่รักฉัน ฉันก็ขอตายดีกว่า

  • ความทุกข์ของคนเหล่านี้ถ้าเปรียบเสมือนเป็นก้อนหิน ก็เป็นหินก้อนใหญ่มาก ๆ ที่หนักจนเคลื่อนย้ายออกไปไม่ได้ แต่เขาก็คิดว่าขนาดของก้อนหิน มันจะเท่าเดิมตลอดไป เขาไม่ได้คิดว่าสักวันหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป ก้อนหินมันอาจจะผุกร่อน หรือถูกแรงอะไรมากระทำ ให้มีขนาดเล็กลง จนมีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก และพอจะเคลื่อนย้ายออกไปได้เอง และคิดว่าความทุกข์มันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง หรือจะบางเบาลงได้อีกแล้ว จะเป็นความทุกข์หนักอยู่เช่นนี้ตลอดไป เขาไม่อาจจะทนอยู่กับความทุกข์อันใหญ่หลวงเช่นนี้ได้อีก จึงฆ่าตัวตายhttps://www.pexels.com/th-th/photo/3693039/ภาพประกอบที่ 3 ถ่ายโดย cottonbro จาก Pexels

Advertisement

Advertisement

โดยคิดว่าถ้าตายแล้ว ก็จะทำให้พ้นจากความทุกข์ไปได้นั่นเอง ซึ่งเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง คือคิดถึงแต่ตนเอง หากคิดถึงผู้อื่นสักนิด เขาจะต้องใช้ชีวิตใช้ร่างกายในอัตภาพมนุษย์ที่หาได้ยากยิ่งนี้ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นก่อน เช่น อุทิศชีวิต อุทิศความรู้ความสามารถ อุทิศแรงกาย เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเพื่อคนใดคนหนึ่งก่อนทำลายตนเองทิ้งไป แต่ก็แน่นอนเหลือเกินว่า เมื่อจิตเปลี่ยนไปเป็นการมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นขึ้นมาแล้ว เขาก็จะเริ่มเห็นถึงคุณค่าแห่งชีวิตตน และในที่สุดเขาก็จะจะเลิกล้มการทำลายชีวิตตนไปโดยปริยายhttps://www.pexels.com/th-th/photo/3690509/

ภาพประกอบที่ 4 ถ่ายโดย Louis จาก Pexels

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า " ชีวิตไม่ควรดำรงอยู่ ถ้าไม่ใช่การอยู่เพื่อผู้อื่น "

ภาพปกเครดิตภาพภาพถ่ายโดย Pixabay จากPexels

เขียนโดย พระยมอมยิ้ม

ติดตามผลงานอื่น ๆ ของพระยมอมยิ้มได้เพิ่มเติมที่

Facebook : Ajarn.JarunCorrect

YouTube : พระยมอมยิ้ม เรื่องเล่ากฎแห่งกรรมและกฎหมาย

ขอขอบคุณทุกๆท่านที่อ่านบทความของพระยมอมยิ้มครับ

อัปเดตบทความดีต่อใจ ๆ แบบนี้อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
พระยมอมยิ้ม
พระยมอมยิ้ม
อ่านบทความอื่นจาก พระยมอมยิ้ม

ผู้คุมเรือนจำ ผู้พบเห็นกฎแห่งกรรม ศึกษาธรรมะและกฎหมาย อยากแบ่งปันประสบการณ์จริงในชีวิตเพื่อเป็นวิทยา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์