เนื่องด้วยทางบ้านของผู้เขียนทำอาชีพปลูกผักส่งขายให้กับตลาด การที่จะไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลยเห็นทีคงจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการปลูกแต่ละครั้งจะปลูกประมาณที่เยอะ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็จะสู้กับแมลงหรือหนอนหรือโรคต่างๆที่มารบกวนกับผักไม่ได้ ซึ่งถ้าผักออกมาไม่สวยก็ขายไม่ได้เหมือนกัน ทั้งนี้จึงทำให้รู้ว่า ผักที่ใช้สารเคมีเยอะ ก็จะเป็นผักชนิดทานใบ และส่งตรงถึงผู้บริโภคเลยเช่นกันเพราะซื้อไปผู้บริโภคก็ต้องทานใบ ถ้าเลือกทานได้ผู้เขียนแนะนำให้ทานผักที่เป็นผลดีกว่า เพราะในการฉีดพ่นยาแต่ละครั้ง จะไม่โดยผลโดยตรงจะมีใบของพืชนั้นๆปิดบังป้องกันไม้ให้โดนผลเลย100% และกว่าผลเขาจะโตเก็บขายได้ก็อีกหลายวัน ต่างกับผักทานใบฉีดพ่นยาโดนใบแล้วก็ยังทานใบ คนทานก็โดนไปเต็มๆ จริงไหมค่ะ ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำผัก 5 ชนิดที่ใช้สารเคมี ในปริมาณ มากที่สุดตามประสบการณ์การทำผักของผู้เขียนมาเล่านะคะ และ จะบอกวิธีที่ลดความเสี่ยงจากสารเคมีก่อนที่เราจะนำมาประกอบอาหารทานกันค่ะ 1.กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีเป็นผักที่มีการห่อของใบแต่ละชั้นจนกลายเป็นหัว ในการปลูกกะหล่ำปลีจะมีการคอยฉีดยาสม่ำเสมอเริ่มตั้งแต่การห่อของเขา เพราะถ้าทำไม่มีดีจะมีหนอนแอบซุ่มเข้าไปอยู่ภายในหัวของกระหล่ำและเกิดการเน่าข้างใน จึงทำให้รู้ว่าการฉีดพ่นยาคือสิ่งสำคัญและหารู้ไม่ว่าภายในหัวกะหล่ำปลีก็จะมียาสารเคมีต่างๆอยู่ภายในหัวเต็มไปหมด เมื่อถึงคนกินผู้เขียนขอแนะนำว่า ให้แกะกะหล่ำปลีออกทีละใบทีละกาบแล้วนำมาล้างให้สะอาดโดยการแซ่น้ำเกลือ สักพัก แล้วล้างด้วยน้ำไหลผ่าน จะทำให้ผักสะอาดและปลอดภัยมากขึ้นก่อนนำไปปรุงอาหารต่อค่ะ 2.ผักกาดขาว หรือ ลุ้ย ตามภาษาการเกษตรค่ะ ผักกาดขาวเป็นที่นิยมกันมากในการทานหมูกระทะ เมนูโปรดของใครหลายคน ปักกากขาวเป็นผักห่อ เหมือนกับกะหล่ำปลีกาบนิ่มหวาน ทำให้แมลงต่างๆชอบมารบกวนเยอะกว่ากะหล่ำปลี ไม่ว่าจะเชื้อรา หนอนหรือแมลงบิน การดูรักษาเฝ้าระวังจึงใช้สารเคมีมาก จึงทำให้มีการห่อสะสมของสารเคมีภายในหัวค่อนข้างเยอะและในปริมาณมาก ผู้เขียนแนะว่าก่อนนำมาทำอาหารให้ ดึงแกะทีละกาบออกมาแช่น้ำ ล้างโดยล้างน้ำเกลือหรือด่างทับทิมสักพัก ก่อนทำการล้างโดยน้ำไหลผ่าน จากนั้นค่อยนำมาประกอบอาหาร วิธีนี้ก็จะทำให้เราทานอย่างสบายใจขึ้นและปลอดภัยขึ้น 3.ผักคะน้า ผักเมนูเด็ดของราดหน้า ผัดซีอิ๊ว ที่จะต้องขาดไม่ได้ ผักคะน้าเป็นผักทานใบและต้น สีเขียวเข้มถ้าต้นแก่จะมีเปลือกแข็ง ผักคะน้าถือว่าเป็นผักยอดฮิตของผู้ทานอีกหนึ่งชนิด และเป็นผักชนิดที่ใช้ยาฆ่าแมลงมากพอสมควร โดยเริ่มฉีดตั้งแต่คะน้าต้นเล็กๆจนโตถึงส่งเข้าตลาดแบบขาดยาไม่ได้เลย เพราะใบผักคะน้าคือหน้าตาของเขาถ้าใบไม่สวยไม่ใหญ่จะไม่มีแม่ค้าคนไหนมอง ผู้เขียนแนะนำว่าก่อนนำไปประกอบอาหารให้ทำนำต้นมาแช่กับน้ำเกลือหรือด่างทำทิมก่อนซักพัก จากนั้นค่อยล้างน้ำเปล่า แล้วค่อยมาทำการหั่นแล้วจึงล้างด้วยน้ำเกลืออีกครั้ง แต่ถ้าซื้อแบบต้นใหญ่มาให้ผู้บริโภคทำการปลอกเปลือกของต้นออกทาเนื้อในดีกว่าค่ะ นอกจากไม่แข็งแล้วยังลดการเสี่ยงต่อสารตกค้างจากสารเคมีได้อีกด้วย 4.ต้นหอม หรือ หอมแบ่ง ผักโรยหน้าอาหารสำหรับแต่งกลิ่น มีลักษณะเป็นกอมีหลอดแหลมยาว สีเขียวอ่อนถึงเข้ม ต้นหอมคือผักที่ละเอียดอ่อนต้องทำการดูแลกันตั้งแต่เริ่มแทงต้นออกมาจากหัว ก็จะต้องพ่นยากันแล้ว เพื่อป้องกันหนอนมาเจาะชอนใบ ตลอดไปจนยาเชื้อราที่เกิดขึ้นจากน้ำค้างหรือการให้น้ำเยอะ จนเกิดการเน่า จนมาถึงยาเคลือบสีก่อนที่จะได้อายุ ก่อนจะขายได้ต้องฉีดกันตลอด และในบางกรณีอาจมีชุบสารต่างๆเพื่อชะลอการเน่าหรือเหี่ยวของต้นหอมก็มี ทั้งนี้ผู้เขียนจึงขอแนะว่าก่อนทานให้ลอกใบนอกของต้นหอมออกก่อนล้าง และดึงแยกแต่ละต้นออกจากกอให้เป็นต้นใครต้นมันก่อน เพื่อที่จะได้นำส่วนที่โดนสารเคมีที่อยู่รอบนอกและภายในซอกกอออกไปบ้าง แล้วนำมาทำการล้างน้ำด้วยน้ำเกลือ แล้วจึงนำมาหั่นค่ะ 5.ผักชีล้อม ขึ่นฉ่าย หรือ ตั้งโอ๋ เป็นผักแต่งกลิ่น ในเมนูทั้งขาดไม่ได้ก็จะเป็นสุกี้หมูกระทะ ต้มจืด ผักชีล้อมมีลักใบหยักขอบคล้ายฟันเลื่อย ต้นอวบน้ำ การปลูกก็ชอบน้ำค่ะ ยิ่งแฉะๆผักชีล้อมยิ่งชอบ เป็นผักที่ปลูกง่าย ใช้สารเคมีน้อยในช่วงปลูกเพาะเขามีกลิ่น ทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน แต่สิ่งสำคัญว่าทำไม่ผู้เขียนเอามาเล่าทั้งที่ผักชีล้อมก็ไม่ได้ใช้สารเคมีเยอะนี่หนา สงสัยกันแล้วใช่ไหมค่ะ มาฟังกันต่อเลยค่ะ ผักชีล้อมจะมีขั้นตอนสำคัญตรงก่อนจะนำส่งตลาดตรงที่ต้นเขาอวบน้ำช้ำง่าย จะเกิดการเน่าง่ายและลามติดกันหมด จึงมีการชุบยาเขื้อราตรงบริเวณรากขึ้นมาประมาณ5-10เซนติเมตร หรือภาษาชาวบ้านก็คือตรงสะดือผักชีล้อม ก่อนนำมาปรุงอาหารผู้เขียนจึงแนะนำให้ตัดโคนออกก่อน เป็นการตัดส่วนที่ชุบยาทิ้งออกไป จากนั้นค่อยทำการล้างจะล้างแค่น้ำเปล่าหรือน้ำเกลือก็ได้ค่ะ ครบแล้วค่ะผักทั้ง 5 ชนิดที่สารเคมีเยอะอันดับต้นๆ ที่ผู้เขียนนำมาฝากกัน ที่ได้รู้ถึงกระบวนการใช้สารเคมีและวิธีการปฏิบัติก่อนรับประทานกันเลย ผักทุกชนิดมีประโยชน์ แต่โทษที่เพิ่มมาเกิดจากผู้ผลิตและในกระบวนการปลูกจึงทำให้เกิดโทษที่แอบแฝงมา เราจึงควรเรียนรู้วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงลงค่ะ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนจบบทความค่ะ เครดิตภาพ จากครีเอเตอร์ แต่งภาพโดย โปรแกรม Canva และ ภาพตัดแปะเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !