อื่นๆ

พัฒนาการเรื่องลิขสิทธิ์กับชุดความคิดในสังคมไทย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
พัฒนาการเรื่องลิขสิทธิ์กับชุดความคิดในสังคมไทย

ในประเทศไทยมีชุดความคิดในทางปฎิบัติทางสังคมที่หลากหลายแบบ หนึ่งในนั้นก็เป็นประเด็นหรือหัวข้อที่มีชุดความคิดสถิตอยู่ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เชื่อมถึงกันและกันผ่านกระบวนการทางสังคม และ สถาบันเอง พัฒนาการนี้จะแสดงให้เห็นถึงชุดความคิดที่เคยเป็นองค์รวม และ ยังเป็นองค์รวมอยู่ สิ่งเหล่านี้จะนำมาอธิบายความเป็นไปในอนาคตที่เป็นทิศทางของความเป็นไปตามพัฒนาการที่มันจะเลือกเป็น ‘ภายใต้กรอบความคิด’ ต่าง ๆ ที่ปรากฏผ่านวาทกรรม การพัฒนาการของชุดความคิดจะปรากฏตาม ‘การรับรู้’ และ ‘วาทกรรม’ แต่หลัก ๆ ในตามมโนทัศน์ทางสังคมก็คงไม่พ้นเรื่องระบบทุนนิยมที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นภายใต้ระบบที่ไม่ได้สร้างความเสมอภาค(แต่นั้นก็เป็นเรื่องที่ดี)

ภาพจาก pixabay.com

หลัก ๆ แล้วความคิดที่ปรากฏจะมีอยู่ 3 อย่าง และ จะมีระยะในตัวของมันโดย

1.) ชุดความคิดในกลุ่มที่อ้างอิงกับความชอบธรรมกฏหมาย และ การกระบวนการควบคุมทางสังคม(ในขั้นตอนนี้ยังอิงกับความเป็นศีลธรรมและจารีตนิยมอยู่โดยลึก ๆ แล้วพวกเขาเหล่านี้ไม่มีเหตุผลในตามความจริงที่จะใช้พิจารณาเหตุการณ์ที่มีเงื่อนไข)

2.) ชุดความคิดในกลุ่มที่อ้างอิงกับ ‘สถานภาพ’ และ ‘ฐานะ’ รวมไปถึงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคม ที่แสดงให้เห็นถึง ‘ความจำเป็นที่ลดทอนความชอบธรรมโดยกฏหมายลง’ และ สร้างความสมเหตุสมผลจากความไม่เสมอภาคทางสถานภาพและฐานะ

3.) ชุดความคิดในกลุ่มที่อ้างอิงในเชิงพหุนิยม กล่าวคือ มันจะพยายามนำทั้งความคิดทั้งสองอย่าง โดยผลักดันเป็นสิ่งที่มันเป็นพื้นที่ว่างนั้นจะแสดงให้เห็นถึงน้ำหนักทางศีลธรรมมันถูกบล็อคจากพื้นที่ว่าง รวมไปถึงเป็นพื้นที่ที่มีความเสมอภาคในแบบการเข้าถึง เหมือนกัน และ มีคุณค่าเท่ากัน

Advertisement

Advertisement

ทั้งนี้ ‘ชุดความคิด’ ทั้งสามอย่างเป็นที่ที่ไม่ลงรอยกันในทางสาธารณะ ซึ่งนั้นเป็นปัญหาที่มองถึง ‘ความไม่เพียงพอ’ ของทรัพยากรทางสาธารณะที่ถูกผลิตมาเพื่อทุกคนให้เข้าถึง มันจึงเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดเงื่อนไขที่แตกแยกออกไปจนกลายเป็น ‘กลุ่ม’ ซึ่งนั้นแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของสิ่งที่กลายเป็นกลุ่ม นั้นหมายความว่า ‘การเกิดขึ้นของอุดมการณ์ที่ยึดถือ’ ในกลุ่มเองมีเป้าหมายในตัวเองและ เป็นเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะ ฉะนั้น สังคมการแข่งขัน(Social competition) มันจึงปะปนไปกับ ‘ความไม่ชอบธรรมทางกฏหมาย’ และ ‘ความชอบธรรมทางกฏหมาย’ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ขอบเขตในทางกฏหมายกับพื้นที่สาธารณะจะไม่มีความลงรอยกันเนื่องจากความไม่พอดังกล่าวทำให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่ ซึ่งนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการพัฒนาการการปกครองของ Oppenheimer(ในระดับแรกและระดับที่สอง) ซึ่งเมื่อเงื่อนไขการแย่งชิงพื้นที่นั้นทำให้เกิดฝ่ายชนะ ซึ่งนั้นอาจจะกลายเป็น ‘การผูกขาด’ ในกระแสทางสังคม ความคิด และ การดำเนินความเป็นไปของกลุ่มคน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า ‘พื้นที่การแย่งชิง’ จะไม่เกิดขึ้นอีก พัฒนาการของลิขสิทธิ์นี้เองจะแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ในเชิงพื้นที่และการแย่งชิงมวลชน ซึ่งเงื่อนไขการแย่งชิงพื้นที่เป็นเงื่อนไขที่แสดงถึงความอ่อนแอ เสียเปรียบของฝ่ายนึง และ มันเป็นผลประโยชน์ของอีกฝ่ายนึงเช่นกัน ที่จะเป็นผู้ชนะในศึกของการแย่งชิงพื้นที่

Advertisement

Advertisement

ว่ากันด้วยกฏเกณฑ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการแย่งชิงทำให้เกิดการประยุกต์ใช้ความคิด หนึ่งในชุดความคิดสามอย่างเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

ภาพโดยผู้เขียน

ระยะในการเกิดขึ้นของชุดความคิดนี้ต้องอาศัย “เวลา” “พื้นที่” และ “ความปรารถนา” เมื่อเงื่อนไขถูกตัดออกไป จะทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ในชุดความคิด นั้นจึงเป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไม ‘การต่อต้านเว็บเถื่อน’ มันจึงเกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะ เงื่อนไขบางอย่างมันถูกตัดออกไป และ การพยายามของฝ่ายนึงที่ก็มีกลยุทธ์ในทางการตลาดเอง ที่สามารถก้าวพ้นกับดักไปได้ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า ‘ชัยชนะ’ มันจะมาจากการแย่งพื้นที่อย่างเดียว ‘ชัยชนะ’ มิได้เกิดแค่ การแย่งชิงในทางความคิด เวลาและพื้นที่ แต่มันจะเกิดขึ้นกับ “กฏหมาย” การพิทักษ์รักษาเพียงฝ่ายเดียวมันจึงเกิดขึ้น ซึ่งในระยะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีได้ หลังจากไม่สามารถชนะในการแย่งพื้นที่ นั้นทำให้เกิดการไปปิดปากหรือไปกำจัดต้นตอ ถ้ามองในเรื่องโครงสร้างสิ่งเหล่านี้มันเปรียบเหมือน “กระบวนการที่เป็นฐานของการถ่ายโอนทั้งหมด” แต่สิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างที่ไม่มีความถูกต้องในตัวมันเอง เพราะ มันได้สร้างพิษภัยกับผู้สร้างผลงานต่าง ๆ ออกมา นั้นจึงเป็นความสมเหตุสมผลอย่างนึงที่จะกำจัดโดยไม่ถามหาสาเหตุของเรื่องนี้ แต่ในสังคมสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นสาเหตุเหล่านี้มักถูกบดบังโดยความคาดหวังในแบบที่ออกมาในรูปของความโกรธ นั้นเป็นมายาคติ

Advertisement

Advertisement

ภาพโดยผู้เขียน

อย่างไรก็ตามการจะพรรณาหรือคิด วิเคราะห์ ประเด็นเหล่านี้มันจะย้อนกลับไปที่การแย่งชิงสิ่งเหล่านี้ซึ่งท้ายที่สุดการตอบโจทย์ปัญหาฐานคิดของมันยังอยู่ในเรื่องแย่งชิง ที่มากกว่า การเกิดข้อยุติในฝ่ายนึง(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมไทยการยุติสิ่งเหล่านี้ย่อมหยุดยั้งไม่ได้เหมือนกับการโกรธ และ ความขัดแย้ง)

  • (ยอดสูงสุดของประเด็นเหล่านี้คือ เรื่องชัยชนะระหว่าง ‘ชัยชนะในการแย่งชิงพื้นที่’ กับ ‘ชัยชนะผ่านหลักนิติธรรม’)

อ้างอิงของตัวเอง (https://medium.com/@ratatosukr/พัฒนาการเรื่องลิขสิทธิ์กับชุดความคิดในสังคมไทย-a953fa582e70)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
WittgensteinMIZ
WittgensteinMIZ
อ่านบทความอื่นจาก WittgensteinMIZ

ผู้เขียนเคยทำ blog และ เพจซึ่งทำหน้าที่ผลิตบทความเป็นตัวอักษรขึ้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ส่วนใหญ่

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์