อื่นๆ

มนุษย์ยางพารา

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
มนุษย์ยางพารา

ภาพหน้าปกโดยhtts://pixabay.com

หากจะพูดถึงอาชีพชาวสวน ก็มีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามพืชที่ปลูก เช่น ปลูกเงาะก็เป็นชาวสวนเงาะ ปลูกมังคุดก็เป็นชาวสวนมังคุด ปลูกปาล์มก็เป็นชาวสวนปาล์ม แต่วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาชีพชาวสวนยางพาราที่เป็นการทำสวนที่แปลกและไม่เหมือนกับพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมีวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ต่างกันออกไป ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าผู้เขียนเป็นคนจังหวัดทางภาคใต้ ทั้งครอบครัวและผู้คนรอบตัวต่างโตมากับอาชีพทำสวนยางพาราเป็นส่วนใหญ่

หน้ายางพาราภาพโดย https://pixabay.com

อาชีพนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แต่จะมีใครบ้างนะที่แอบคิดและสงสัยต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับอาชีพนี้เหมือนผู้เขียนตอนยังเด็กนัก อย่างเช่น ทำไมต้องไปกรีดยางตอนกลางคืนด้วยล่ะ ไม่ง่วงนอนกันหรือ แล้วไม่กลัวผีหรือกลัวคนร้ายหรืออย่างไร ทำไมกล้าหาญจัง และก็ได้รับคำตอบจากแม่และพ่อซึ่งทำอาชีพกรีดยางว่า ที่ต้องไปกรีดยางตั้งแต่ก่อนนรุ่งสางก็เพราะจะได้ปริมาณยางในปริมาณที่มากกว่าตอนกลางวันเนื่องจากตอนกลางคืนมีอุณหภูมิต่ำกว่าตอนกลางวัน ผู้เขียนมักจะเห็นพ่อและแม่คาดไฟฉายที่มีสายสำหรับคาดศีรษะ หรือที่คนใต้เรียกว่า "เกียงตัดยาง" แต่งตัวด้วยเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมรองเท้าบูทกันน้ำ ภาษาใต้เรียกว่า "เกือกบอก" เมื่อต้องออกไปกรีดยางพารา เพื่อการมองเห็นได้ชัดในความมืดและการป้องกันตนเองจากยุงหรือสัตว์แมลงอื่นที่มีพิษและต้นพืชที่เป็นหนามซึ่งหากเกิดสะดุดหรือสัมผัสครูดผิวหนังอาจทำให้เลือดตกยางออกได้ พ่อได้บอกกับผู้เขียนอีกว่า พ่อไม่นึกกลัวผีเลยเมื่อไปกรีดยางแต่กลัวคนซะมากกว่า ย้อนความไปตอนผู้เขียนอยู่ประถมต้น ราคายางพาราตอนนั้นจัดว่าราคาสูง เกิดผลให้มีโจรมาขโมยยางพาราของชาวสวนถี่มาก ชาวสวนบางคนต้องไปนอนกระท่อมเพื่อเฝ้าสวนยางของตนเองกันเลยทีเดียว

Advertisement

Advertisement

สวนยางพารา
ภาพโดย https://pixabay.com

ถึงคราวที่เราจะมาพูดถึงในเรื่องเกี่ยวกับการเก็บผลผลิตยางพารากัน ขั้นตอนแรกคือการกรีดยาง โดยใช้มีดกรีดยางกรีดที่ลำต้นซึ่งเรียกว่าหน้ายาง น้ำยางก็จะไหลลงมาเป็นหยดติ๋ง ๆ ทีละนิดลงทางท่อเพื่อไปยังภาชนะที่รองรับอยู่ เมื่อก่อนผู้เขียนเคยเห็นคนใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะรองรับแต่ต่อมาคนไม่ค่อยนิยมใช้แล้วเพราะตัวกะลาจะนำยางพาราออกมายากกว่าภาชนะพลาสติก เมื่อน้ำยางสะสมไปเรื่อยๆจากการกรีดทุกวันจนจะเต็มภาชนะก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ในรูปของแข็ง อีกทั้งยังมีการเก็บเกี่ยวอีกประเภทหนึ่งคือแบบน้ำยางสด แบบนี้ต้องเก็บทุกวันและนำมาใส่สารเคมีเพื่อไม่ให้ยางจับตัวกันเป็นก้อน

สวนยางพาราในฤดูผลัดใบภาพโดย https://pixabay.com

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์