อื่นๆ

ย้อนอดีต ... การเขียนงานส่งนิตยสารในอดีต VS. การเขียนบทความส่ง TrueID ในปัจจุบัน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ย้อนอดีต ... การเขียนงานส่งนิตยสารในอดีต VS. การเขียนบทความส่ง TrueID ในปัจจุบัน

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จากการส่งงานเขียนไปตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ กลายมาเป็นการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ผ่านออนไลน์ ซึ่ง TrueID ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักเขียนส่งเรื่องไป ถ้าได้รับการอนุมัติเผยแพร่ก็ได้ค่าตอบแทนงานเขียน และจากบรรยากาศที่นักเขียนออกมาโพสต์ตัดพ้อกองบก.ในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ผู้เขียนอยากเล่าบางเรื่องจากประสบการณ์การเขียนงานทั้งในอดีตและปัจจุบันให้ฟัง

รับนักเขียน

1. การประกาศรับงาน

เมื่อก่อนไม่มี Internet กว่าจะรู้ว่านิตยสารเล่มไหนเปิดรับงานจากนักเขียนทางบ้าน นักเขียนก็ต้องขวนขวายหาข้อมูลกันเอง แต่ปัจจุบันคนที่อยากเป็นนักเขียน TrueID สามารถรู้ข่าวจากการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คจาก TrueID โดยตรง ทำให้รู้ได้ทั่วถึงและรวดเร็ว นักเขียนจึงมีโอกาสรู้ข่าวมากกว่าในอดีต

หมวดหมู่

2. เรื่องที่จะเขียนส่ง

Advertisement

Advertisement

TrueID ประกาศชัดเจนว่า รับงานเขียนประเภทบทความหมวดไหนบ้าง ทำให้นักเขียนไม่ต้องเขียนเปะปะหรือคาดเดาเอาเอง ง่ายต่อการเริ่มงาน แต่เมื่อก่อนต้องศึกษาและวิเคราะห์เอาเองว่า งานแบบไหนที่นิตยสารต้องการ และมีโอกาสได้ตีพิมพ์ ฉะนั้น รูปแบบที่มีการระบุถึงกรอบของงานแบบ TrueID จึงดีต่อนักเขียนมากกว่าในอดีต

การพิจารณา

3. ผลการพิจารณา “รู้ดีกว่าไม่รู้”

นักเขียน TrueID สามารถกำหนดเวลาได้คร่าว ๆ ว่า หลังจากส่งงานแล้วประมาณ 5 - 7 วัน จะรู้ผลการพิจารณา ซึ่งนับว่าเป็นเวลาน้อยมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่บางทีกว่าจะรู้ว่างานที่ส่งไปนั้นผ่านการพิจารณาหรือไม่ จะต้องใช้เวลาอย่างต่ำ ๆ ก็เป็นเดือน อย่างสูงก็เป็นปี และในกรณีที่งานไม่ผ่าน ในอดีต นักเขียนต้องคาดเดาเอาเองจากเวลาที่ผ่านไป เพราะไม่มีใครมาบอก แต่นักเขียน TrueID จะมีโอกาสรู้ แม้งานจะไม่ผ่านก็ถือว่าดีกว่า เพราะอย่างน้อยก็ได้รู้ ไม่ต้องรอแบบหวังลม ๆ แล้ง ๆ ให้เสียเวลา และดีขึ้นไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ บางครั้งงานยังไม่ดีพอ แต่ก็ยังได้รับโอกาสให้แก้ไขให้ดีขึ้นอีกด้วย ส่วนในอดีตนั้น ถ้าไม่ดีพอก็ถูกปัดตกเลย เพราะมีคนส่งงานให้พิจารณาจำนวนมาก ทางนิตยสารสามารถเลือกงานที่คิดว่าดีที่สุดของตัวเองได้เต็มที่

Advertisement

Advertisement

เงิน

4. ค่าตอบแทนและโอกาสการเผยแพร่ผลงาน

TrueID ระบุค่าตอบแทนต่อบทความชัดเจนว่า 1 บทความทั่วไปราคา 100 บาท ซึ่งหากเทียบกับเมื่อ 30 ปีก่อนแล้ว ถ้าเฉลี่ยตามจำนวนคำ ก็อาจจะบอกได้ว่า ราคาเท่ากัน แต่เทียบกับค่าของเงิน ราคาของงานเขียนในอดีตถือว่าสูงกว่าของ TrueID หลายเท่า แต่เมื่อพิจารณาควบคู่กับโอกาสในการได้เผยแพร่ผลงาน ที่ในปัจจุบัน นักเขียนมีโอกาสเผยแพร่งานได้สูงมากกว่าในอดีตหลายเท่าแล้ว โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนโดยรวมจึงอาจจะกล่าวได้ว่า พอ ๆ กัน หรือถ้านักเขียนขยันสร้างงานมากพอ ในปัจจุบัน นักเขียนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนรายเดือนมากกว่าในอดีตได้เหมือนกัน

5. ความหลากหลายสร้างโอกาส

ปัจจุบันความหลากหลายของชิ้นงาน เช่น ที่ TrueID ทำให้ทุกคนมีโอกาสเป็นนักเขียน สร้างผลงานตามความถนัดของตัวเองอันเป็นที่มาของการฝึกฝนและสร้างรายได้ได้ง่ายกว่าในอดีต

Advertisement

Advertisement

ติดต่อบก.

6. การติดต่อสื่อสารกับกองบก.

อีกหนึ่งข้อดีของ TrueID ก็คือ นักเขียนสามารถติดต่อสื่อสารกับกองบก.ได้ง่ายกว่าในอดีต สามารถทักท้วงคำตัดสินเกี่ยวกับบทความก็ได้ แต่ในอดีต ถ้างานไม่ผ่านก็คือไม่ผ่าน แทบไม่มีโอกาสทราบเหตุผลด้วยซ้ำว่า ทำไมกอง บก. ไม่ให้ผ่าน นักเขียนในอดีตจึงทำได้แค่ยอมรับคำตัดสินนั้นแล้วสร้างงานชิ้นใหม่ ส่งไปใหม่ พร้อมความหวังใหม่ว่า จะผ่านการพิจารณา เท่านั้น

งานเขียนของแต่ละยุค ต่างก็มีข้อดี จุดเด่นที่เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะนักเขียนของ TrueID ในยุคนี้ นับว่าได้โอกาสดี ๆ เป็นพิเศษ เนื่องจากทาง TrueID ตั้งใจสร้างเครื่องมือที่ดีอย่าง “การคอมเมนต์ผลงานจากกองบก.” เพื่อพัฒนางานเขียน หรือกลุ่ม In-Trend Creators ให้นักเขียนได้มีช่องทางสื่อสารและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ถ้าเราใช้เครื่องมือที่มีตามวัตถุประสงค์อย่างเข้าใจ มันก็จะเป็นเครื่องมือดี ๆ สำหรับทุกคน

ภาพประกอบ

ภาพปก ภาพฟรีจาก pixabay

ภาพที่ 1 - 3 , 5 ขอบคุณภาพจาก TrueID

ภาพที่ 4 ภาพฟรีจาก pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์