อื่นๆ

เลี้ยง”ลูก”ยังไงให้ฟังเรา

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เลี้ยง”ลูก”ยังไงให้ฟังเรา

เลี้ยง"ลูก"อย่างไรให้ฟังเรา

ช่วงวัย3ขวบขึ้นไปของ"ลูก"จะเป็นวัยที่อยากเรียนรู้ด้วยตัวเองและเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง บ่อยครั้งที่เด็กวัยนี้จะเริ่มมีคำพูดต่อต้านหรือให้เรียกง่าย ๆ ว่าเถียง เราจะมีวิธีจัดการกับนิสัยเหล่านี้ยังไง บทความนี้มีคำตอบสำหรับผู้อ่านอย่างแน่นอนครับ

เด็กดื้อ

การเจรจา

สิ่งแรกที่"ลูก" ๆ วัยนี้จะมีบ่อยคือ การปฏิเสธและจะเริ่มงอแง ดื้อ ใช้อารม มีความต้องการในสิ่งที่"ลูก"กำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น เช่น ต้องการของเล่นชิ้นนี้ อยากทำสิ่งนี้ตอนนี้เดี๋ยวนี้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ดุด่าว่ากล่าว"ลูก"ก็จะยิ่งต่อต้าน ดื้อ ไม่เชื่อฟัง ลองเปลี่ยนคำพูดหรือต่อรองกับ"ลูก"เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นทางเลือกนึงที่จะทำให้"ลูก"รู้สึกว่าไม่ได้ถูกบังคับ และยอมฟังในข้อเสนอที่คุณพ่อคุณแม่กำลังจะยื่นให้ ถ้ายังไม่ได้ผลก็ฟาดสักทีสองทีจะเป็นไรไป(หยอก ๆ ครับ)

Advertisement

Advertisement

นาฬิกา

การรอ

หากว่าข้อแรกยังไม่เป็นผล การรอเวลาให้"ลูก"ได้ปล่อยอารมสุดเกรี้ยวกราดของเค้าออกมาจนหมดแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ใช้จังหวะนี้เข้าชาร์จล็อกคอตีเข่าไม่ใช่อย่างนั้นครับ คุณพ่อคุณแม่ใช้จังหวะนี้ใช้คำพูดสุดอ่อนโยนเข้าไปเจรจาอีกครั้งพูดถึงสาเหตุที่ว่าการที่"ลูก"แสดงอาการแบบนี้ไม่ดี และแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควรทำ เป็นการฝึกควบคุมอารมณ์ของ"ลูก"ไปด้วยเลยน่ะครับ ที่สำคัญในระหว่างที่รอไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่จะปล่อยนิ่งเฉยเหมือนไม่สนใจ"ลูก"น่ะครับ ไม่อย่างนั้นจะเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นกำลังสองเอาได้น่ะครับ

hug

โอบกอดด้วยความรัก

เมื่อคุณพ่อคุณแม่รอจังหวะที่ใช่แล้วสิ่งต่อไปคือเข้าไปโอบกอด"ลูก"ด้วยความรักเพื่อให้เค้ารู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่รับฟัง"ลูก"อยู่นั่นเองละครับ รับรองว่า"ลูก"ของคุณพ่อคุณแม่ใจอ่อนแน่นอน แนะนำให้รอดูท่าทีของ"ลูก"ด้วยนะครับ หาก"ลูก"ยังมีอารมเกรี้ยวกราดอยู่บางครั้ง การโอบกอดอาจจะยังไม่ใช่จังหวะที่สมควร แต่ส่วนใหญ่ร้อยทั้งร้อยก็คือ"ลูก"ต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ"ลูก"นั่นเองละครับ ฉะนั้นรอจังหวะที่เหมาะสมแล้วโอบกอดด้วยความรักเลยครับ-

Advertisement

Advertisement

คำพูดสุดอ่อนโยน

เมื่อความเกรี้ยวกราดของ"ลูก"ลดลงแล้วทีนี้ก็เป็นทีของคุณพ่อคุณแม่แล้วละครับตอนนี้ มีเท่าไหร่ใส่มาให้หมดเลยครับ คำพูดสุดอ่อนโยนเพื่อให้"ลูก"รู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ชมเชย"ลูก"ให้"ลูก"รู้สึกดีจนตัวลอยไปติดเพดานเลยครับ ถ้า"ลูก"อารมดีแล้วทีนี้ก็จะง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้วละครับ มีข้อแม้อยู่นะครับในขณะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังใช้คำพูดสุดอ่อนโยนเราต้องรับฟังและเข้าใจ"ลูก"ด้วยนะครับว่าที่"ลูก"ไม่พอใจอยู่นี้เรื่องอะไร เพราะ"ลูก"จะรอคำตอบวิธีแก้ไขจากคุณพ่อคุณแม่อยู่นะครับ

ถ้าเมื่อไหร่ที่"ลูก" ๆ ของคุณพ่อคุณแม่เริ่มมีอาการงอแง ดื้อ เถียง เกรี้ยวกราด เอาแต่ใจ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวเลือกนึงที่ตัวผู้เขียนเองใช้วิธีเหล่านี้แล้วได้ผลดีเกินคาด ตัวผู้เขียนเองมั่นใจว่าการตี"ลูก"บางครั้งอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ใช่เสมอไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยนะครับ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้"ลูก"ได้เห็นด้วยนะครับ อนาคต"ลูก"จะเติบโตมีอุปนิสัยเป็นอย่างไรก็อยู่ที่การขัดเกลาตั้งแต่ยังเล็กนี่แหละครับ

Advertisement

Advertisement

บทความโดย tongkung

รูปภาพที่ 1 ถ่ายโดย Tatiana Syrikova / Pexels

รูปภาพที่ 2 ถ่ายโดย Monstera / Pexels

รูปภาพที่ 3 ถ่ายโดย Shawn Stutzman / Pexels

รูปภาพที่ 4 ถ่ายโดย Rotaru Florin / Pixabay

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Tongkung
Tongkung
อ่านบทความอื่นจาก Tongkung

ชอบดูยูทูป ชอบเที่ยว ชอบกิน ชอบกีฬา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์