อื่นๆ

ชายผู้ช่วยชีวิต 669 ชีวิต

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชายผู้ช่วยชีวิต 669 ชีวิต

ในปี 1938 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจคนทั้งโลกเหตุการณ์หนึ่ง

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ถูกกระตุ้นโดยคำพูดของใครบางคน ให้จงเกลียดจงชัง กับคนกลุ่มหนึ่ง และเลือกที่จะประหัตประหาร คนกลุ่มนี้ให้สิ้นซากลงไป

เหตุการณ์นี้คือ เหตุการณ์คืนกระจกแตก (Kristallnacht) หรือ ค่ำคืนของการสังหารหมู่ชาวยิว ที่เรารู้ ๆ กันcr. https://historycollection.co/24-photographs-kristallnacht-destruction-1938/

หนึ่งในเมืองที่จะได้รับการโจมตี หลังจากที่ ผู้นำชาวเยอรมัน หนวดเข้มเส้นหนาที่อยู่ระหว่างจมูกและปาก ได้สั่งการออกมา นั่นก็คือ กรุงปราก 

ชายคนหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจมากพอที่จะช่วยเหลือคนกลุ่มหนึ่งให้รอดพ้นการถูกสังหารหมู่นี้ได้ ตัดสินใจบางอย่าง ที่จะทำการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ 

โดยการรวบรวมรายชื่อของเด็กที่อยู่ ณ เมืองปรากและใกล้เคียง จนได้ 669 ราย

และส่งเด็กเหล่านั้น ลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ 

Advertisement

Advertisement

ซึ่งในตอนนั้นประกาศรับผู้ลี้ภัยอย่างเปิดเผย แต่มีเงื่อนไขเพียงข้อเดียว นั่นคือผู้ลี้ภัยจะต้องมีที่พักอาศัย และมีเงิน 50 ปอร์น ติดตัว

แต่นั่นก็ไม่ทำให้ ชายคนที่ช่วยนั้นลังเล ที่จะต้องทุ่มงบ จำนวนมากเพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านี้

การช่วยเหลือ ไม่ได้ราบรื่นสักเท่าไหร่นัก แต่ก็ยังเป็นโชค ของเด็กทั้ง 669 คน ที่สามารถรอดพ้น เงื้อมมือของมัจจุราช จากคืนนั้นได้

ชายคนนั้นไม่ได้ป่าวประกาศเรื่องที่เขาให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้แต่อย่างไร เพราะในใจของเขา นั้นเศร้าเกินไปกว่าที่จะนั่งดีใจ เพราะการสูญเสีย มันช่างมากมายเกินกว่าจำนวนที่เขาช่วยได้มากเสียเหลือเกิน


ในวันหนึ่งของปี 1988 ณ รายการโทรทัศน์ของช่อง BBC จากคลิป https://www.youtube.com/watch?v=DTg8W6TrFsU

ได้เชิญ ชายคนนี้ไปเป็น ผู้ร่วมรายการ(คนดูในสตูดิโอ)

และระหว่างที่ดำเนินรายการอยู่นั้น พิธีกรหญิง ก็ได้หยิบสมุดรายชื่อ ของคน 669 คน พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวนี้ ให้แก่คนดูได้รับรู้ เรื่องราวแห่งความดี ที่ถูกเก็บซ่อนไว้เป็นเวลานาน

Advertisement

Advertisement

เมื่อเล่าจบ เธอถาม คำถามหนึ่งแก่คนที่นั่งในสตูดิโอ ว่า "ใครเป็นหนึ่งในเด็กทั้ง 669 คนที่รอดชีวิตในคืนนั้นมาบ้าง"?

ปรากฎว่า ผู้หญิงที่นั่งข้าง ๆ ชายคนนั้น ได้แสดงตัวออกมา และหันไปจับมือชายสูงอายุคนนั้น นำมันมาแนบที่แก้ม พร้อมกับโผกอด และกล่าวคำขอบคุณด้วยใจจริง แก่ชายคนนั้น

แน่นอนว่า ชายผู้ที่เคยแบกความรู้สึกผิด ที่ไม่สามารถช่วยเหลือคนจำนวนมากกว่านั้นมาตลอด และไม่เคยคิดว่าเขาจะมีโอกาสได้พบกับคนที่เขาเคยช่วยเหลือไว้เมื่อ 50 ปีก่อนย่อมต้องประหลาดใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

แต่ด้วยความรู้สึกตื้นตัน ที่ส่งต่อมาจากใจจริงของผู้หญิงที่นั่งข้าง ๆ มันก็ทำให้เขาถึงกับหลั่งน้ำตาของความปิติยินดีออกมา

และแล้วสิ่งที่คาดไม่ถึง ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อพิธีกร ในรายการ ถามอีกครั้งว่า "แล้วในที่นี้ มีใครอีกไหม ที่รอดชีวิตจากคืนนั้นบ้าง"?

Advertisement

Advertisement

ผลปรากฎว่า ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยืนขึ้น และหันมามองที่ชายคนนั้น พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณ 

วินาทีนั้น ชายคนนั้น ก็ได้รับรู้แล้วว่า ชีวิต 669 ชีวิตที่เขาได้ช่วยเหลือไปนั้น แท้จริงแล้ว มันไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียใจเลย 

เพราะ 669 ชีวิตนั้น ได้ก่อเกิดอีกหลายชีวิตเพิ่มขึ้นมา ได้สร้างงาน และเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับประเทศได้เดินก้าวไปข้างหน้า และยัง สามารถที่จะช่วยเหลือคนได้อีกเป็น พัน ๆ คน

ทันใดนั้น น้ำตาของชายคนนั้นก็ไหลอีกครั้ง หากแต่ครั้งนี้ ไม่ใช่น้ำตาของความเสียใจ แต่เป็นน้ำตา ของความปลื้มใจ ที่เขาได้เห็น เด็กที่เขาเคยช่วยเหลือไว้ เติบโต จนกลายมาเป็นคนที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมในทุก ๆ วันนี้

ชายคนนี้มีชื่อว่า Sir Nicholas Winton (เซอร์ นิโคลัส วินตัน) 

ปัจจุบันเขาได้จากโลกนี้ไปแล้วเมื่อปี 2015 แต่สิ่งที่เขาได้ทำ มันจะตราตรึงอยู่ในใจ คนบนโลกนี้ไปอีกนานเท่านาน


ขอให้เรื่องราวนี้ สดุดีแก่  เซอร์ นิโคลัส วินตัน ด้วยครับCr. Wikipidia

ขอบคุณรูปภาพจาก 

https://en.wikipedia.org/wiki/Nicholas_Winton

https://en.wikipedia.org/wiki/Kindertransport#mediaviewer/File:Bundesarchiv_Bild_183-S69279,_London,_Ankunft_j%C3%BCdische_Fl%C3%BCchtlinge.jpg

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์