ไลฟ์แฮ็ก

"ซ่อมแอร์" ด้วยช่างประจำตัว #วันว่างๆ ช่วงโควิด

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"ซ่อมแอร์" ด้วยช่างประจำตัว  #วันว่างๆ ช่วงโควิด

                เชื่อว่าบ้านหลายหลังที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศแล้ว จากราคาก็แสนไม่ธรรมดา ยังคงต้องพบกับปัญหาสารพัน ไม่ว่าจะค่าไฟที่เพิ่มขึ้น ใช้ไปไม่กี่ปีก็ต้องจ้างช่างมาดูเพราะประเดี๋ยวก็ไม่เย็นบ้าง มีน้ำหยดบ้าง ซ้ำยังต้องเสียค่าซ่อมมิใช่น้อย พอใช้ไปไม่เท่าไรช่างก็บอกว่าน้ำแอร์รั่วอีก ต้องซ่อมแซมบำรุงอีก

                วันนี้ NT เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ตรงกับตัวเอง ขออนุญาตเล่าก่อนว่า ใช้แอร์มา 13 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่เคยดูแลอะไรเลย และเนื่องจากก่อนหน้านี้เมื่อปีก่อนเปิดเครื่องทีไร ความเย็นก็ลดลงทุกวัน ๆ มิหนำซ้ำเมื่อหลายเดือนก่อนเปิดได้ไม่ทันไรก็เริ่มมีน้ำหยดติ๊ง ติ๊ง นานวันไปอาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องนำถังน้ำมารอง ราวกับฝนตกลงหลังคารั่วก็ไม่ปาน แรกเริ่มเดิมที NT คิดไปเองว่า เกิดจากเย็นเกินไปจนไอเย็นเกาะตัวจนเป็นน้ำแข็งจึงมีน้ำหยด จนกระทั่งทนไม่ไหว ไหนๆช่วงนี้ก็มีเวลาว่างเพราะโควิด จึงแก้ผ้าเปิดเรือนร่างเครื่องปรับอากาศดูเสียหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้น 

Advertisement

Advertisement

Cr.NT Napatt                                                                                             Cr.NT Napatt

                      พอเปิดดูก็พบสิ่งที่น่าตกใจยิ่งนัก เพราะฝุ่นมากมายที่เกาะอยู่ที่เครื่องปรับอากาศทุกอณู

Cr.NT Napatt                                                                                           Cr.NT Napatt 

                เมื่อถอดองค์ทรงเครื่องแล้วก็มาหาสาเหตุกัน แล้วก็พบว่า มีเมือก ลื่น ๆ เกาะอยู่เต็มรางน้ำ และเราก็พบสาเหตุว่า เมือกที่เกาะอยู่เป็นชั้นหนา ๆ นั้น ได้อุดรูทำให้น้ำแอร์ไม่ไหลวน เป็นสาเหตุให้มีน้ำหยดตลอดเวลา สาเหตุที่แอร์ไม่เย็นนั้น ก็เกิดจากฝุ่นที่ทำให้ใบพัดลม ไม่พัดความเย็นออกมา จึงได้ฤกษ์ทำความสะอาดทุกส่วน โดยมีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดดังนี้

Cr.NT Napatt : อุปกรณ์                                                                                          Cr.NT Napatt : อุปกรณ์

  1. ถุงพลาสติก หรือแผ่นพลาสติก ผืนใหญ่ ๆ เพื่อให้พื้นบ้านไม่เปียกน้ำ

                           (นำพลาสติกคลุมฝั่งแผงควบคุมด้วย เพื่อกันน้ำเข้าแล้วเครื่องจะเสีย)

Advertisement

Advertisement

2. ถังพลาสติก ไว้สำหรับรองรับน้ำ

                           (หากไม่มีถังรอง คงต้องเจอกับน้ำท่วมบ้าน และต้องทำความสะอาดยกใหญ่เลยทีเดียว)

3. โฟมล้างแอร์ เพื่อล้างสิ่งสปรกออกจากแอร์

                           (เมื่อฉีดแล้ว โฟมจะช่วยดันคราบฝุ่นออกมา และยังทำให้ซี่เหล็กเงางามกว่าเดิมด้วย)

4. คลิปหนีบ หรือตัวหนีบ เพื่อยึดแผ่นพลาสติกไว้กับตัวแอร์ หรืออาจใช้เทปกาวก็ได้
                           (เพียงแต่เทปกาว อาจมีคราบกาวติดบนผนัง ทำให้ต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดเพิ่มเติม)

5. แปรง ชนิดใดก็ได้ ไว้สำหรับขัดล้าง

                           (คำเตือน : โปรดระวังซี่เหล็ก เนื่องจากมีความคมมากอาจทำให้บาดมือได้ระหว่างขัดล้าง)

6. กระบอกน้ำ ไว้สำหรับใส่น้ำ เพื่อฉีด พ่น ล้างทำความสะอาด

                           (ขอเสริมว่า งานนี้ยิ่งมีแรงฉีดดี ยิ่งขจัดฝุ่นได้ไว และง่ายยิ่งขึ้น)

Advertisement

Advertisement

                        เมื่อทำการล้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาลุ้นกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่า จะยังมีน้ำหยดหรือไม่ ล้างแล้วจะเย็น หรือไม่เย็น


Cr.NT Napatt

                                                                                             Cr.NT Napatt


Cr.NT Napatt                                                                                               Cr.NT Napatt

                         ผลปรากฏว่า "แอร์เย็นมาก" เย็นถึงขั้นหนาวที่สุด นี่ถ้าไม่บอกว่า เครื่องนี้ใช้มาสิบกว่าปีแล้ว คงไม่มีใครเชื่อ เพราะความเย็นนี้ไม่แพ้กับเครื่องปรับอากาศที่เพิ่งซื้อมาใหม่เลย 

                         ดังนั้นทุกท่านสามารถซ่อมเครื่องปรับอากาศเองได้ โดยไม่ต้องเสียเงินจ้างใครมาที่บ้าน ให้เสี่ยงอันตรายอีก นอกจากนี้ยังเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตในด้านการใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้แต่ที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือยเกินตัว ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน อีกทั้งยังเป็นการรู้จักพึ่งพาตัวเอง ไม่ทำตนให้เป็นที่เดือดร้อนของผู้อื่น โดยใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา สร้างความภูมิใจให้กับตนเองได้อีกด้วยเช่นกัน สุดท้ายนี้ NT หวังว่า บทความนี้คงจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่อ่านได้ ไม่มากก็น้อยนะคะ

                                                    ************************************ ^_^ ************************************

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์