ไลฟ์แฮ็ก

ทำการตลาดให้ปังได้ ด้วยเสียงเพลง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำการตลาดให้ปังได้ ด้วยเสียงเพลง

ทำการตลาดให้ปังได้ ด้วยเสียงเพลง

การตลาดและเสียงเพลง สองศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่สามารถนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นไอเดียสร้างสรรค์ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ และมีหลาย Case ที่ธุรกิจได้ทำการตลาดด้วยเพลง จนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการขยายฐานลูกค้า(รายได้เพิ่ม) การรักษาฐานลูกค้าเดิม และการสร้างแบรนด์ วันนี้เราจะมาดูกันว่าเราสามารถทำการตลาดโดยใช้เสียงเพลงเป็นเครื่องมือได้ด้วยวิธีการใดบ้าง ไปดูกันเลย

1.แต่งเพลงใหม่ขึ้นมา

หนึ่งในการใช้เสียงเพลงมาช่วยในการตลาดคือการแต่งเพลงใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเพลงยาวแบบ 3 นาทีขึ้น หรือเพลงสั้น ๆ ในลักษณะ Jingle แค่ไม่กี่วินาที หากลองสังเกตเพลงโฆษณาต่าง ๆ จะพอนึกออกมากขึ้น เช่น “ข้าวแสนดี ดีดี๊ดี” หรือเก่ากว่านั้นก็ “คุ้มจริง ๆ ….” ของแฟลตปลาทอง ในปัจจุบันก็มีผู้รับบริการในการแต่งเพลงโฆษณา การจะใช้วิธีการนี้ เจ้าของแบรนด์ควรพิจารณาเลือกเพลงให้สอดคล้องกับแบรนด์ เพื่อให้เพลงนั้นช่วยเสริมแบรนด์ให้ชัดขึ้น ไม่ใช่ทำให้ดูขัดกันเอง

Advertisement

Advertisement

https://www.pexels.com/photo/turned-on-black-samsung-smartphone-between-headphones-1337753/ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/turned-on-black-samsung-smartphone-between-headphones-1337753/

การแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ก็มีทั้งการแต่งแบบเน้นขาย บอกเล่าเรื่องราวสรรพคุณของสินค้า หรือมีชื่อแบรนด์ของสินค้า มากหรือน้อยก็ว่ากันไป หรือจะเป็นการแต่งเพลงทีไม่ได้มีชื่อสินค้าหรือแบรนด์ แต่มีเนื้อหาที่สื่อความหมายของแบรนด์นั้น อย่างเช่นเพลง “ยิ่งรู้จัก ยิ่งรักเธอ” ของรถยนต์โตโยต้า ที่ฉลองครบรอบ 50 ปี ข้อดีของการไม่เน้นขายมากเกินไป คือจะทำให้เพลงมีแนวโน้มที่จะดัง แมสและถูกนำไปใช้มากกว่า

2.การใช้เพลงที่มีอยู่แล้ว

อีกกลยุทธ์ที่นักการตลาดทำกันมากก็คือการใช้เพลงที่มีอยู่มาประกอบโฆษณาหรือมาทำการตลาด บางครั้งก็นำต้นฉบับเดิมมาเลย หรือบางครั้งก็นำเพลงมาเรียบเรียงใหม่ ตัวอย่างเช่น โฆษณาบัตรเครดิตของ KTC เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้วอย่างเพลง รักไม่รู้ดับ, รักข้ามขอบฟ้า, รอวันฉันรักเธอ ซึ่งโฆษณาแต่ละชุดก็จะใช้กับบัตรเครดิตแต่ละชนิด อย่างเช่นบัตรเครดิตที่เป็น JCB ก็จะใช้เพลงรักข้ามขอบฟ้า และตัวโฆษณาก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่น  

Advertisement

Advertisement

https://www.pexels.com/photo/woman-lying-her-head-on-piano-1885213/

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/woman-lying-her-head-on-piano-1885213/

3.การใช้ “ดนตรี” ประกอบ

ข้อดีของการใช้เฉพาะดนตรีประกอบ คือการปล่อยช่องว่างในความคิดของคนฟัง ให้เกิดการต่อยอดจินตนาการเอง โดยไม่ไปตีกรอบความคิดของลูกค้า แต่ก็มีข้อควรระวังในการเลือกใช้เครื่องดนตรีและชนิดของเพลงด้วยเช่นกัน ควรเลือกให้เหมาะสมกับแบรนด์ อย่างเช่นการใช้เพลงคลาสสิกกับแบรนด์หรู หรือเพลงป๊อปร็อค กับแบรนด์ที่มีคาแร็คเตอร์สนุกสนานเป็นต้น

การใช้ดนตรีมีหลายแบบตั้งแต่วงออร์เคสตร้า หลาย ๆ ชิ้น หรือจะเป็นเพียง Jingle สั้น ๆ ที่ประกอบด้วยโน้ตไม่กี่ตัว อย่างเช่น โคคาโคล่า ซึ่งก็ช่วยให้ลูกค้าจดจำและติดหูได้ดี

https://www.pexels.com/photo/black-dj-controller-1481312/

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/black-dj-controller-1481312/

จริง ๆ แล้วการใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่าเสียงเพลงนั้นมีอีกมากมายที่เป็นตัวอย่างยิบย่อย ไว้โอกาสหน้าเราจะมาคุยเจาะลึกกันอีกรอบหนึ่ง ยิ่งถ้านำเสียงเพลงไปผูกกับความรู้ด้านจิตวิทยาได้ก็จะยิ่งช่วยให้ส่งเสริมการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และยิ่ง Emotion มาก ก็ยิ่งซื้อมาก

Advertisement

Advertisement

บทความโดย โอ้

Facebook : fb.me/justlearntogether

YouTube : https://bit.ly/2PpkbZu

IG : kanziri

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์