ไลฟ์แฮ็ก
ว่าด้วยเรื่องของ “ความเชื่อ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ความเชื่อ”
เมื่อ “ความเชื่อ” เป็นมากกว่าคำว่า “งมงาย” พวกเราอาจจะไม่รู้ตัวกันว่าในทุก ๆ วัน เราต่างก็ใช้ “ความเชื่อ” กันแบบออโตเมติคในวิถีชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าเอ๊ะ แล้วฉันไปใช้ความเชื่อตอนไหนกันนะ?
ทำความเข้าใจกันก่อนว่าในบทความนี้เราจะไม่ได้มาพูดถึงความเชื่อในทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เราจะพูดถึงความเชื่อในความหมายที่กว้างกว่านั้น
ก่อนอื่นขอให้นิยามของคำว่า “ความเชื่อ” ก่อน
ความเชื่อ คือ ความแน่ใจในสิ่งสิ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ยังมองไม่เห็น ขอขีดเส้นใต้คำว่า “ยังมองไม่เห็น” เพราะถ้าเห็นแล้ว เราไม่จำเป็นต้องใช้ความเชื่อ และในที่นี้ใช้คำว่า “ยัง” มองไม่เห็น ซึ่งไม่ได้แปลว่ามองไม่เห็นแบบถาวร แค่รอคอยเวลาที่วันหนึ่งจะได้มองเห็น
ความเชื่อ คือ ความแน่ใจในสิ่งสิ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ยังมองไม่เห็น
Advertisement
Advertisement
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/photo-of-person-standing-on-rock-near-lake-2531455/
ทุกครั้งที่เราตัดสินใจซ้อนท้ายวินมอเตอร์ไซค์ เราจำเป็นจะต้องใช้ความเชื่อว่าคนขับจะไม่พาเราไปประสบอุบัติเหตุ เราจึงตัดสินใจไปกับพี่วิน ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงก็ไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทุกครั้งที่ตัดสินใจจะทานอาหารสักร้านที่ไม่เคยทาน เราจำเป็นจะต้องใช้ความเชื่อว่าเชฟที่ทำอาหารในร้านจะทำออกมาถูกปากเรา จะเทคคอร์ส จะเรียนอะไร ที่ไม่เคยเรียนมาก่อน จะต้องใช้ความเชื่อว่าที่แห่งนั้นจะทำให้เราเก่งขึ้นได้ ก่อนจะยอมควักเงินจ่ายค่าเรียนไป
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/woman-wearing-yellow-crew-neck-t-shirt-3112051/
ทุกอย่างที่เราคาดหวัง แต่ยังมองไม่เห็น เราจำเป็นจะต้องใช้ควาเชื่อก่อนการตัดสินใจ จนกว่าเราจะประสบพบเจอกับตัว จนเป็นที่ประจักษ์แล้ว ค่อยเลิกใช้ความเชื่อกันไป
Advertisement
Advertisement
ด้วยความที่เราเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง เราคงไม่สามารถยืนยันได้ด้วยหลักการอะไรว่า “ความเชื่อ” จะนำพาให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ แต่บ่อยครั้งที่เราสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วย “ความเชื่อ” ในบทความนี้เราขออนุญาตแนะนำเคล็ดลับที่เป็นรูปธรรมว่าคนเราจะสามารถใช้ความเชื่อได้อย่างไร ซึ่งขอแนะนำสองอย่างละกัน
อย่างแรก… “Visualization”
Visualization แปลว่าการทำให้เห็นภาพ เราใช้ความเชื่อกับสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ดังนั้นเราจึงจะต้องทำให้สิ่งนั้นมองเห็นได้ด้วย “ตาใจ” ของเรา เราะจใช้วิธีการใดก็ได้เพื่อให้เห็นออกมาเป็นภาพ เช่น การจินตนาการ, การเขียน, การวาดภาพ หากเราเห็นภาพในหัวได้แล้ว นั่นคือความเชื่อ และความเชื่อนำมาซึ่งการลงมือทำ เพื่อมุ่งไปยังภาพ ๆ นั้น
อย่างที่สอง… “Simulation”
Simulation แปลว่าการจำลอง คือนอกจากจะเห็นเป็นภาพแล้ว ถ้าเราสามารถทำการซักซ้อมแบบเสมือนจริงได้ การใช้ความเชื่อยิ่งเกิดประสิทธิภาพ อย่างเช่นดาราบางคนซ้อมรับรางวัลและกล่าวคำขอบคุณโดยการซ้อมถือขวดแชมพูในห้องน้ำ วันหนึ่งเขาก็สามารถขึ้นไปรับรางวัลได้จริง ด้วยความที่เรียนสายสังคมมา เราคงไม่อาจจะกล่าวอ้างหลักการวิทยาศาสตร์ใด ๆ มาอธิบายได้ว่าทำไมมันถึงเกิดขึ้นได้จริง แต่จากประสบการณ์เรา เราก็เคยหัดเล่นกีตาร์กับไม้กวาดเหมือนกัน จนวันหนึ่งเรามีกีตาร์เป็นของตัวเองแล้ว เราก็สามารถเล่นกีตาร์เป็นได้ในเวลาอันรวดเร็ว
Advertisement
Advertisement
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/man-dunking-the-ball-163452/
สุดท้ายนี้ขอแก้ความเข้าใจผิดของใครหลาย ๆ คนที่คิดว่าการมีความเชื่อ หมายถึงไม่ต้องลงมือทำ นี่เป็นความคิดที่ผิด เพราะลำดับที่ถูกต้องคือการมีความเชื่อก่อน แล้วจึงนำไปสู่การลงมือทำอย่างเต็มที่ ถ้าหากขาดการลงมือทำนั่นแปลว่าเขาไม่ได้ใช้ความเชื่อจริง ๆ
ถ้าหากขาดการลงมือทำนั่นแปลว่าเขาไม่ได้ใช้ความเชื่อจริง ๆ
ท้ายที่สุดแล้วจริง ๆ อยากจะบอกว่าอะไรที่ดี เชื่อไปเถอะค่ะ ไม่เสียหายหรอก
บทความโดย โอ้
Facebook : fb.me/justlearntogether
YouTube : https://bit.ly/2PpkbZu
IG : kanziri
In-trend Influencer ชอบเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ IG : ohkansiri / เพจ : เรียนรู้ไปด้วยกันนะ
ความคิดเห็น