ไลฟ์แฮ็ก

สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับ! คิดอย่างไรให้ 'สร้างสรรค์'

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับ! คิดอย่างไรให้ 'สร้างสรรค์'

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบันงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ใช้หัวเป็นอาวุธประจำกายในอาชีพ แม้กระทั่งนักเรียนและนักศึกษา เรียกได้ว่าแทบทุกวิชาก็ยังต้องการสิ่ง ๆ นี้ (น้อง ๆ ม.ปลายน่าจะเข้าใจดีว่าการทำ Mind Map สรุปเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความเป็นศิลป์เลยเนี่ย มันยากแค่ไหน..) แต่ปัญหามักติดตรงที่ว่า แล้วจะทำอย่างไรล่ะเราถึงจะสามารถคิดงานออกมาได้ด้วยความสร้างสรรค์ วันนี้ เม้งเม้งเม้ง จะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจนี้กัน

ต้องคิดอย่างไรกันนะ ถึงจะเกิดความ 'สร้างสรรค์'

หากพูดกันตามความเป็นจริง ในยุคนี้สิ่งที่เรียกว่า ‘ใหม่’ อาจไม่มีอยู่จริงแล้วก็เป็นได้ แต่ทว่า ความใหม่นั้นมีที่มาที่ไปและยังสามารถสร้างมันขึ้นมาได้อยู่

คำศัพท์แรกสำหรับบทความนี้ขอเสนอคำว่า Subject Matter คือ ขนบ, สิ่งที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างหรือคิดค้นขึ้น พูดกันภาษาชาวบ้านก็คือ ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีคนทำมาก่อนหน้านี้แล้ว ตัวอย่างง่าย ๆ ภาพประกอบที่ผมสร้างขึ้นมาจากโปรแกรม AI (Adobe Illustrator) นั่นคือหลอดไฟที่เรียกว่า Light Bulb เป็นหนึ่งในชนิดหลอดไฟที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เป็น Subject Matter ของมันก็คือ ลักษณะของหลอดไฟและสีของหลอดไฟ กล่าวอย่างง่ายหมายความว่า รูปร่างและรูปทรงของมันถูกคิดขึ้นมาโดยที่ยังไม่มีใครสร้างขึ้นมาก่อน จึงทำให้มันเป็นสิ่งที่ใหม่

Advertisement

Advertisement

Subject Matter ของหลอดไฟ ยังไงก็หาไม่ยาก

กลับกัน ถ้าหากมีคนสร้างรูปทรงของมันให้เป็นเช่นนี้แล้วล่ะ ทำอย่างไรถึงจะใหม่ คำตอบคือ สีไงล่ะ! เพราะตอนสร้างมันออกมา อาจเป็นไฟแบบ Daylight ที่ให้ความสว่างอย่างเจิดจ้า แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น Warm Light ความใหม่ก็เกิดขึ้น ทำให้กลายเป็นแสงที่นุ่มนวลอบอุ่นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างหลอดไฟอาจยังไม่เห็นภาพ ถ้าหากเป็นประตูล่ะ เราก็ต้องคิดไปว่าประตูในโลกนี้มันมีกี่แบบกัน ลักษณะมันเป็นอย่างไร ใช้งานอย่างไร ผลิตจากวัสดุใด ความหนาบางสูงต่ำของมันแตกต่างกันมากเพียงใด

ประตูร้อยแบบ ร้อย Subject Matter

ประเด็นสำคัญที่สุดของการคิดสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ มาจากการ ‘สังเกต’ และ ‘เก็บข้อมูล’ เราต้องรู้ดีก่อนว่า สิ่งที่เรากำลังจะคิดหรือทำ มันเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในโลกนี้หรือเปล่า เพราะยิ่งเรารู้มากเท่าไร เราก็จะมีข้อมูลให้เราแหวกทางไปจากของเก่าที่เคยมีอยู่แล้วได้ง่ายขึ้น ซึ่งนั่นก็จะนำไปสู่การระบุ Subject Matter ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

Advertisement

Advertisement

คิดสิ่งใหม่ คิดได้ ต้องรู้สิ่งเก่าก่อน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเตรียมความพร้อมสำหรับการคิดและทำงานที่ 'สร้างสรรค์' ออกมาได้ง่ายขึ้นนะครับ 

อยากให้ทุกคนพึงคิดไว้เสมอว่า การคิดสิ่งใดให้ ‘สร้างสรรค์’ ไม่ยากเท่าการรู้สิ่งที่ ‘เก่า’ มากพอให้เราคิดสิ่งที่ ‘ใหม่’ ออกมาได้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์