ไลฟ์แฮ็ก
เล่าเรื่องให้เป็นเรื่องเล่า

“นี่ๆ เมื่อวานมันสนุกมากเลยอะ” “สนุกยังไงแก” “มันสนุกอะ บอกไม่ถูก รู้แต่มันสนุก” “....”
เหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นได้กับหลายๆคน ที่ไม่รู้จะอธิบายยังไง กับสิ่งที่เจอมา
เอาเป็นว่า บอกได้แค่ว่า “สนุกอะ” .... ความจริงก็ไม่ผิดหรอกนะ ที่จะไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งที่รู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้ เพราะว่า บางทีมันก็เป็นแค่ “ความรู้สึก” เนอะ
แต่ว่า - - เวลาที่เราต้องพูดเล่าเรื่อง โดยเล่าให้เป็นเรื่อง เป็นราว ในการทำงานนั้น
หลายคนก็ยังคงเจอปัญหาเหมือนข้างบน คือ “จะเล่ายังไงดี”
บางคนบอกว่า ก็เล่าไปดิ อยากเล่าไรก็เล่า อยากพูดไรก็พูด ..... เอายังงั้นก็ได้นะ แต่ - - มันทำให้เห็นเลยว่า “เราเล่าไม่เป็นเรื่อง” พอๆกับไม่ได้เรื่องเลย
Advertisement
Advertisement
เล่าเรื่องเป็น vs เล่าเรื่องได้
Advertisement
Advertisement
แล้วจะทำยังไงดี ที่จะทำให้เรา “เล่าเรื่องเป็น” ไม่ใช่แค่ “เล่าเรื่องได้” เพราะสองแบบนี้ต่างกัน ตรงนี้เล่าเรื่องได้ คือ
- ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของตัวเองออกไปได้
- ผู้ฟังเข้าใจเรื่องเล่าเพียงบางส่วน แต่ขาดความสนใจทั้งหมด
เล่าเรื่องเป็น คือ
- ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของตัวเองออกไปได้อย่างน่าสนใจ กระชับ ชัดเจน
- ผู้ฟังเข้าใจเรื่องเล่าชัดเจน และ สนใจเรื่องเล่า
ถ้าจะดูให้ละเอียดขึ้น จะเห็นว่า “เล่าเรื่องได้” เหมือนกับ อยากเล่าก็เล่าไปสิ น่าสนใจ หรือคนจะฟังหรือเปล่า ไม่รู้นะ
ในขณะที่ “เล่าเรื่องเป็น” คือ คนที่สามารถเล่าได้อย่างน่าสนใจ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ ที่สำคัญเลย คนฟังสนใจและอยากฟังต่อ
Advertisement
Advertisement
ทำอย่างไรให้สามารถเล่าเรื่องเป็นเรื่องเล่าได้
ความจริง ยากนะ กับการที่จะฝึกทักษะการพูดให้เล่าเรื่องเป็น เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการพูดที่แตกต่างกัน คนที่ฝึกการพูดมาตั้งแต่เด็ก ย่อมมีพื้นฐานที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้ฝึก ... แต่ก็ใช่ว่า คนที่เพิ่งเริ่มฝึก จะไม่สามารถเทียบเท่าคนที่มีพื้นฐานดีมาได้เลย เพราะเรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และการฝึกฝนอย่างเนื่อง
จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ทำงานอยู่ใน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และยังทำงานในด้านของการเล่าเรื่องมาโดยตลอด
มีวิธีการที่จะทำให้ทุกคนสามารถเล่าเรื่องต่างๆ ให้เป็นเรื่องเล่าที่สนใจได้ ดังนี้
- ฟัง & อ่าน ให้มาก : การฟังและการอ่านจะช่วยเพิ่ม “คลังข้อมูล” ให้กับเรา แต่เมื่อฟังและอ่านแล้ว จะต้องจดจำในสิ่งที่ฟังและอ่านไปด้วยนะ ไม่ใช่สักแต่ว่าอ่าน หรือสักแต่ว่าฟัง ... ถ้าใครขยันหน่อยก็ลองจดบันทึกสั้นๆไว้ก็ดีนะ อีกอย่างที่สำคัญเลยคือ ชอบมีคนถามว่า ควรฟังหรือควรอ่านอะไร... ตอบได้เลยว่า “ทุกอย่างจ้า” เพราะยิ่งฟังมาก ยิ่งอ่านมาก ก็ยิ่งมีคลังข้อมูลมากเท่านั้น
- ฝึกจับประเด็นจากสิ่งที่ฟัง & อ่าน : จับประเด็น คือ การบอกได้ว่า สิ่งที่เราฟัง&อ่าน นั้น ตรงไหนคือเรื่องสำคัญ แล้วเรื่องที่สำคัญนั้นมีอะไรบ้าง ถ้าหากมันยากนัก ก็ลองใช้คำถาม ถามตัวเองเลยว่า “เรื่องนี้ต้องการบอกอะไรเรา”คำตอบที่ได้นั้น ต้องเป็นคำตอบสั้นๆ ไม่ต้องขยายความให้เยิ่นเย้อ ... บอกเลยว่า ยากนะสำหรับบางคน ที่ติดกับการอธิบายยาวๆ หากแต่ก็ต้องฝึกนะจ๊ะ ไม่งั้นจะกลายเป็นยิ่งขยาย ซึ่งจะนำไปสู่ความเยอะในที่สุด
- ลองอธิบายสั้นๆขยายประเด็น : ข้อเมื่อกี๊ แนะนำไปว่าให้จับประเด็นสั้นๆให้ได้ จากนั้นก็นำมาต่อข้อนี้เลยจ้า ลองอธิบายสั้นๆ จากประเด็นเมื่อกี๊ อธิบายโดยใช้ภาษาของตัวเอง แล้วลองถามคนข้างๆ หรือถามเพื่อนว่า เข้าใจไหม... บอกเลยว่า ข้อนี้ต้องอาศัยคนข้างๆ หรือเพื่อนๆ เป็นคนที่จะคอยสะท้อนให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราพูดไปนั้น สั้นกระชับและเข้าใจหรือไม่ ... เมื่อใดก็ตามที่คนฟังยังสงสัย และมีคำถาม นั่นแสดงว่า เราอาจยังไม่สามารถอธิบายประเด็นได้เข้าใจ
- กำหนดเรื่องสักเรื่อง ลองเล่าและอัดวิดิโอ : ขั้นนี้เป็นขั้นที่ เราจะได้ฝึกว่า ถ้าจะเล่าเรื่องสัก 1 เรื่อง ควรมีประเด็นอะไรบ้าง จดประเด็นไว้ แล้วลองพูดอธิบายประเด็นนั้นๆ ... สิ่งสำคัญที่สุด คือ “เล่าเรื่องให้เป็นธรรมชาติ...เล่าเรื่องให้เป็นตัวเรา” แต่ก็ไม่ใช่ว่า เป็นตัวเราจนเกินไป เพราะอย่าลืมว่า เราต้องการให้ทุกคนฟังเรื่องของเรา ดังนั้น “การใช้ภาษาในการเล่า หรือ เนื้อหาที่จะเล่า” จะต้องเรียบเรียงให้ต่อเนื่อง และไม่สะดุด ... การอัดวิดิโอ จะช่วยทำให้เราได้เห็นตัวเราเอง ว่าเล่ารู้เรื่องไหม เล่าเรื่องได้เข้าใจไหม เล่าเรื่องแล้วเป็นอย่างไร...
- เล่าเรื่องด้วยภาพ : การเล่าเรื่องด้วยภาพ ดีกว่า การเล่าเรื่องด้วยตัวอักษร เนื่องจากจะช่วยทำให้เราไม่ต้องกังวลกับตัวอักษร เพราะหลายคนกังวลกับตัวอักษรจนเผลออ่านตาม แทนที่จะเล่า ก็มีเยอะไป... ภาพ จะช่วยทำให้คนฟังสนใจฟังสิ่งที่เราจะพูด แต่ การจะหาภาพให้เหมาะสมกับเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อีกอย่าง ผู้เล่าจะต้องพยายามกำหนดประเด็นที่จะเล่าเรื่องจากภาพให้ได้ ไม่เช่นนั้นท้ายสุดแล้ว จะกลายเป็นว่า ออกมาบ่นให้ทุกคนฟัง
การเล่าเรื่องให้เป็นเรื่องเล่า ไม่ได้เกิดจากพรสวรรค์เท่านั้น หากแต่ “พรแสวง” หรือการฝึกฝนต่างหากเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าคุณไม่ฝึกฝน ไม่เรียนรู้ ไม่ปรับปรุงทักษะการเล่าให้น่าสนใจ ทุกอย่างก็ไม่เกิดขึ้น....ลองเล่าดูนะคะ เริ่มเล่าจากเรื่องง่ายๆ เล่าจากสิ่งที่สนใจ เล่าจากเหตุการณ์ที่ประทับใจ ค่อยๆเล่าไป แล้วจะกลายเป็นเรื่องเล่าเอง
ความคิดเห็น
