ไลฟ์แฮ็ก

5 เทคนิคเสริมสร้าง self esteem ให้กับลูก

585
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เทคนิคเสริมสร้าง self esteem ให้กับลูก

5 เทคนิคเสริมสร้าง Self esteem ให้กับลูก

Self esteem คือ "ความภาคภูมิใจในตัวเอง" เด็ก ๆ จะรู้สึกดีกับตัวเอง เมื่อเด็ก ๆ ทำอะไรสำเร็จได้ด้วยตัวเอง เมื่อรู้ว่าตัวเองทำได้ จึงมีแนวโน้มที่จะพยายามทำเรื่องใหม่ ๆ การเห็นคุณค่าในตัวเองทำให้เด็กยอมรับความผิดพลาด ทำให้อยากลองทำอีกครั้งแม้ว่าจะล้มเหลวในตอนแรก ความภาคภูมิใจในตัวเองทำให้เด็กริเริ่มที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่กลัวความล้มเหลว และอยากทำให้ดีขึ้น หากมีความภาคภูมิใจในตัวเองในระดับที่ต่ำ เด็กจะไม่มั่นใจในตัวเอง ปิดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะเชื่อว่าตนเองทำไม่ได้ พวกเขาจะยอมแพ้อะไรง่าย ๆ และไม่สามารถรับมือกับความล้มเหลวได้

เด็กภาพจาก pixabay.com

ลักษณะของเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตัวเองสูง

  • มั่นใจในตัวเอง
  • มองตัวเองในแง่ดี
  • รู้สึกเป็นที่ยอมรับ
  • ภูมิใจในสิ่งที่พวกเขาทำได้
  • เชื่อมั่นว่าตนเองทำได้

Advertisement

Advertisement

เด็กภาพโดย pixabay.com

ลักษณะของเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ

  • ขาดความมั่นใจในตนเอง
  • รู้สึกเปรียบเทียบตนเอง ว่าไม่ดีเท่าคนอื่น
  • รู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ
  • ไม่แน่ใจในความสามารถของตัวเอง
  • นึกถึงแต่ความล้มเหลว

เทคนิดต่อไปนี้ คุณพ่อคุณสามารถช่วยเสริมสร้าง Self esteem ให้กับลูกได้ ดังนี้

1. สื่อสารเชิงบวกกับลูก

การสื่อสารเพื่อให้ลูกเข้าใจ เลิกตำหนิ เลิกออกคำสั่ง เลิกบ่น เพราะการสื่อสารเชิงลบ นอกจากไม่ใช่ลูกแล้วยังทำลายตัวตน และความภาคภูมิใจของลูกอีกด้วย ข้อความที่พูดเชิงลบเกี่ยวกับตัวตนของเด็ก

เตี้ย ยัยตัวดำ เด็กอ้วน โง่ บ้า เด็กผี คำเหล่านี้ไม่ควรพูด

แม้ว่าคุณจะบอกว่าแค่หยอกหลอก หรือเอ็นดูเด็ก ก็ตาม แต่เด็กกลับไม่คิดแบบนั้น เด็กเข้าใจความหมายต่างออกไป และเป็นการทำลายตัวตนของเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่า และไม่มั่นใจในตัวเอง เลิกตั้งฉายา หรือล้อเลียนพฤติกรรมเด็ก หรือแกล้งเด็กเพื่อความสนุกสนาน นั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำ เพราะผลที่ตามมา เสียหายและซ่อมแซมกลับคืนมาได้ยากกว่า ควรสื่อสารทางบวก ชื่นชม กล่าวชมกับพฤติกรรม หรือการกระทำแม้เพียงเล็กน้อยที่เขาทำได้ ชมอย่างเฉพาะเจาะจง และจริงใจ ชมทันทีที่ลูกทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เขาจะรู้สึกมั่นใจในตัวเองมาขึ้น

Advertisement

Advertisement

2 .ช่วยลูกจัดการความรู้สึกเมื่อเผชิญความล้มเหลว

เมื่อตั้งเป้าหมายไว้ และไปไม่ถึงตามความคาดหวัง คุณพ่อคุณแม่ ควรชื่นชมสิ่งที่ลูกทำ ความพยายามของลูก วิธีการที่ลูกตั้งใจทำ มากกว่ามุ่งไปที่ผลลัพธ์สุดท้าย ยกตัวอย่าง หากถ้าผลการเรียนของลูกออกมาไม่ดี อย่างที่ตั้งใจไว้ ไม่ควรตำหนิผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นได้ สิ่งสำคัญที่ควรสอนลูก คือ การยอมรับผลที่เกิดขึ้น และช่วยหาวิธีการใหม่ที่จะไปให้บรรลุเป้าหมาย สิ่งเดียวที่เราจะเปลี่ยนแปลงได้คือ กระบวนการหรือวิธีการที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่เราต้องการ

แม่เห็นลูกตั้งใจอ่านหนังสือทุกวันดีมากเลยนะ แม้ว่าผลสอบจะออกมาเกรดไม่ดี แต่ก็ไม่เป็นไร เรามาช่วยกันหาวิธีพยายามกันมากขึ้นกว่านี้นะ

สอนลูกให้รู้จักการตั้งเป้าหมาย ให้มีความเป็นไปได้ และปรับความคาดหวัง ยืดหยุ่นกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

Advertisement

Advertisement

เริ่มต้นใหม่ภาพโดย pixabay.com

3. สอนว่าความผิดพลาดคือประสบการณ์

ความผิดหลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ แม้ว่าเราจะเตรียมตัวดีมากแค่ไหน ก็สามารถทำพลาดกันได้ สิ่งสำคัญเมื่อทำพลาดแล้ว ควรแก้ไข และทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม บอกให้รู้ว่าเราเชื่อมั่นว่าลูกทำได้ ท่าที และความเชื่อมั่นของพ่อแม่ มีผลต่อจิตใจของลูก ลูกมีแนวโน้มทำตามความคาดหวังและความเชื่อของพ่อแม่ เพราะลูกต้องการให้พ่อแม่ยอมรับในความสามารถของเขา แม้ว่าจะเกิดข้อผิดพลาด หรือล้มเหลว พ่อแม่ก็ยังจะเชื่อมันในตัวลูกอยู่ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับ

4. เสริมสร้างจุดแข็ง มองข้ามจุดอ่อน

ต้องยอมรับว่า มนุษย์ทุกคนมีจุดแข็งและจุดอ่อน ข้อเด่นและข้อด้อยเสมอ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ เด็กก็เช่นกัน พ่อแม่ควรส่งเสริมให้จุดแข็งของลูก ให้ลูกรู้สึกว่าทำได้ดี การนำปลาไปปีนต้นไม้ หรือให้ลิงว่ายน้ำ มีโอกาสมากที่จะล้มเหลว นั่นคือการทำลายความมั่นใจของเด็ก เด็กบางคนเรียนวิชาการไม่เก่ง แต่เก่งด้านศิลปะ ส่งเสริมในสิ่งที่เป็นจุดแข็งของลูก ให้ลูกได้เรียนศิลปะตามแนวทางที่ลูกรัก เมื่อได้ทำสิ่งที่รัก เด็กจะทำได้ดี และรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตนเอง

5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ

ให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ไม่เคย และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่น การทำงานอาสาสมัคร การช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน แม้ว่ายังทำได้ไม่ดี นั่นไม่ใช่ประเด็น ที่สำคัญคือ เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง แม้ว่าจะทำได้ไม่ดีในสายตาผู้ใหญ่ ควรให้โอกาสเขาได้ทำต่อไป อย่ากังวลถึงผลลัพท์ เด็กช่วยล้างจาน แม้ว่าจะไม่สะอาด แต่เด็กจะภูมิใจที่ตัวเองทำได้ ชื่นชมสิ่งที่เด็กทำ ชื่นชมการล้างจานของเขา ไม่ใช่ตำหนิผลลัทธ์ที่เขาทำออกมาไม่ดี ล้างจานไม่สะอาด การที่พ่อแม่ให้โอกาสลูกได้ทำ กิจกรรมแปลกใหม่หลายสิ่ง หลายอย่าง จะเพิ่มเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี

เด็กๆภาพโดย pixabay.com

การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป พ่อแม่อาจรู้สึกเหนื่อยล้า และเผลอพูดคำทำร้ายจิตใจเด็ก บางครั้งเบื่อหน่ายและเพิกเฉย ไม่สนใจเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่าได้ อย่างไรก็ตาม หากทำโดยไม่ตั้งใจ ลองให้อภัยตัวเอง แล้วเริ่มกันใหม่ คนเราผิดพลาดกันได้ สิ่งสำคัญที่สุด คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นคนที่มี Self esteem รู้สึกภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง เพราะแบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนค่ะ


ภาพปก : pixabay.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
goodeewa
goodeewa
อ่านบทความอื่นจาก goodeewa

จบปริญญาโท คณะแพทยศาสตร์ สาขาสุขภาพจิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต แม่และเด็ก และจิ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์