ไลฟ์แฮ็ก
Diy ดูแลรักษาปั๊มลม

Diy ดูแลรักษาปั๊มลม
ปั๊มลมมีหน้าที่ปั๊มอัดอากาศเข้าไปในถังเก็บโดยมีแรงดันอยู่ภายในถังเก็บ แรงดันของลมมีหน่วยเป็น บาร์ (Bar) หรือ PSI ซึ่งจะนำไปใช้ในระบบงานต่าง ๆ เช่น งานอุตสหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ , ร้านซ่อมจักรยาน , ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ , ร้านซ่อมรถยนต์ , มีการนำไปใช้เครื่องเล่นสวนสนุกเพื่อไปใช้งานร่วมกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย หรือ สามารถนำไปต่อเป็นกับปืนยิงตะปูลมเพื่อไปประกอบงานต่าง ๆ เช่น งานประกอบฉากรายการ , ฉากงานแต่งงาน เป็นต้น ซึ่งสามารถนำปั้มลมอัดอากาศไปใช้งานอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนเครื่องปั๊มลมจะมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ปั๊มลมแบบลูกสูบสายพาน , ปั๊มลมโรตารี่ , ปั๊มลมออยฟรี, ปั๊มลมแบบสกรู เป็นต้น ซึ่งปั๊มลมแต่ละแบบก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่จะนิยมกันอยู่ 2 แบบ คือ แบบลูกสูบ และ แบบโรตารี่ แต่ในบทความนี้จะพูดถึงวิธีการรักษาเครื่องปั้มลมแบบโรตารี่ แสดงดังรูป
Advertisement
Advertisement
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
ขั้นตอนในการดูแลรักษาเครื่องปั๊มลมแบบโรตารี่
- ดูแลใส่กรองอากาศ ถ้ามีผลก็เอาไปเป่า หรือ เปลี่ยนใหม่ ดูสภาพหน้างาน
1.1 รูปตำแหน่งกรองอากาศ
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
1.2 นำประแจเบอร์ 10 ขันออก
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
1.3 อุปกรณ์ทั้งหมดหลังจากถอดออกมา (เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วก็ประกอบเข้าที่เดิมถอดออกมายังไงก็ประกอบเข้าไปอย่างงั้นถ้าจำไม่ได้แนะนำให้ถ่ายรูปไว้ก่อนดีที่สุดนะครับ)
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
2. ดูแลระดับน้ำมันเครื่อง ถ้าลดลงก็ต้องเติมให้อยู่ในระดับที่กำหนด (เมื่อถึงระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามคู่ในที่นี้กำหนดที่ 500 ชั่วโมง เปลี่ยนนะครับ)
หมายเหตุ ควรใช้นำมันเครื่องตามยี่ห้อด้วยนะครับ (ในที่นี้ใช้เครื่อง PUMA ก็ต้องใช้น้ำมันเครื่อง PUMA เท่านั้น)
2.1 แสดงระดับน้ำมันเครื่อง
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
Advertisement
Advertisement
2.2 แสดงตำแหน่งรูเติมน้ำมันเครื่อง
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
3. ถ่ายน้ำในถังออก เนื่องจากมีการอัดอากาศจะมีค่าตัวแปลต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดน้ำได้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ทำให้เกิดน้ำใต้ถังได้ (ถ้าไม่ถ่ายเวลาใช้งานในระบบต่าง ๆ เมื่อจ่ายลมไปแล้วอาจส่งผลให้ระบบการทำงานมีปัญหาได้)
หมายเหตุ ก่อนถ่ายน้ำทิ้งอย่าลืมปล่อยลมออกจากถังลมให้หมดก่อนนะครับถึงจะระบายน้ำในถังได้ ไม่งั้นลมจะออกทางรูระบายน้ำโดยมีแรงดันสูงทำให้ตัวเราเกิดอันตรายได้
3.1 แสดงการระบายลมออกจากถังก่อนปล่อยน้ำ
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
3.2 แสดงรูถ่ายน้ำออก
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
3.3 เมื่อระบายลมออกจากถังหมดต่อไปปล่อยน้ำได้ดังรูป (ถ้าใช้มือขันไม่ออกให้ใช้คีมช่วย ขันออกโดยทวนเข็มนาฬิกา ขันเข้าโดยตามเข็มนาฬิกา)
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
3.4 รูประบายน้ำออกจากถัง ( มีระบายน้ำออกน้อยเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่จะทำบทความได้ระบายไปแล้ว)
Advertisement
Advertisement
ภาพถ่ายจากผู้เขียน
สุดท้ายนี้ ปั๊มลม หรือ ระบบอัดอากาศ หรือ ทางภาษาอังกฤษ ก็เรียกว่า Air Compressor ก็จะมีความสำคัญในระบบงานต่าง ๆ
ถ้ามีอะไรผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ ขอบคุณสำหรับการรับชมนะครับ
ความคิดเห็น
