ไลฟ์แฮ็ก
DIY เตือนอุณหภูมิสูง

ภาพถ่ายจากนักเขียน
DIY เตือนอุณหภูมิสูง
ในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ Home Use หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับServer เมื่อใช้งานไปนาน ๆ มักจะเกิดความร้อนสะสมภายในเครื่องซึ่งความร้อนนี้มาจากหลาย ๆ ที่ เช่น ความร้อนจาก CPU , ความร้อนจาก Power supply , ความร้อนพัดลมจากการ์ดจอ เป็นต้น ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เริ่มมีความร้อนในระดับหนึ่งพอมีคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องความร้อนนั้นก็จะทวีคูณขึ้นด้วยความร้อนนี้จะตามจำนวนคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะต้องอยู่ในพื้นที่เย็น ๆ และต้องเย็นทุกจุดเลยต้องสร้างห้องให้คอมพิวเตอร์แล้วเปิดแอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องแบบเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าปล่อยให้ความร้อนขึ้นสูงอาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ เช่น คอมพิวเตอร์ค้าง , รีสตาร์ทเอง , เครื่องดับเอง เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญระบบแอร์ต้องมีอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไปจะได้ผลัดกันทำงานเพื่อให้ห้องเย็นอย่างสม่ำเสมอหรือรักษาอุณหภูมิคงที่นั้นเอง แต่ถ้าเกิดแอร์ทั้ง 2 เครื่องเกิดพังขึ้นมาเราจะทำอย่างไร โดยในบทความนี้มีวิธีแก้ไขซึ่งจะกล่าวต่อไป
Advertisement
Advertisement
ภาพถ่ายจากนักเขียน
ในบทความนี้จะขอนำเสนอ วงจรตรวจจับอุณหภูมิ โดยการทำงานของวงจรนี้ คือ ถ้าเราตั้งอุณหภูมิค่าที่กำหนดวงจรนี้จะทำงานทันทีขึ้นอยู่กับว่าตัวที่จะให้อุปกรณ์ทำงานจะให้อะไรทำงาน เช่น เมื่อถึงอุณหภูมิค่าที่กำหนดให้พัดลมฉุกเฉินดูดอากาศออกเพื่อให้ระบายความร้อนภายในห้อง server หรือ ติดตั้งลำโพงคือเมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่กำหนดแล้วให้ส่งเสียงเตือน เป็นต้น
1. ยกตัวอย่างการใช้พัดลมระบายความร้อน
1.1 วงจรตรวจจับอุณหภูมิ
ภาพถ่ายจากนักเขียน
1.2 วงจรตรวจจับอุณหภูมิ+การต่อทดลองในบทความนี้
ภาพถ่ายจากนักเขียน
1.3 อุปกรณ์เสริมคือตัววัดอุณหภูมิ
ภาพถ่ายจากนักเขียน
1.4 ตำแหน่งตั้งอุณหภูมิ LO= อุณหภูมิต่ำ , Hi=อุณหภูมิสูง
ภาพถ่ายจากนักเขียน
2. จำลองการทดลองโดยใช้พัดลมระบายความร้อนสมมุติว่าถูกติดตั้งในห้อง Server
Advertisement
Advertisement
2.1 เมื่ออุณหภูมิยังไม่ถึงค่าที่กำหนด (สังเกตุพัดลมจะไม่หมุน)
ภาพถ่ายจากนักเขียน
2.2 เมื่ออุณหภูมิถึงค่าที่กำหนด (สังเกตุพัดลมจะหมุน)ภาพถ่ายจากนักเขียน
สุดท้ายนี้
การที่มีอุปกรณ์เตือนอุณหภูมิในจุดที่สำคัญ ๆ นั้นก็เพื่อไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ อีกทั้งเหมือนเป็นตาแทนเราได้ในขณะที่เราไม่อยู่จุด ๆ นั้น โดยในบทความนี้จะใช้ไฟป้อน 12Vdc และ ตัวที่ให้ Relay เชื่อมต่อวงจรเมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่กำหนดโดยจะใช้ไฟ 9Vdc โดยในบทความนี้จะจำลองใช้พัดลมระบายความร้อนในห้อง Server
ขอบคุณสำหรับการรับชม นะครับ
ความคิดเห็น
