ความรู้
งานศิลป์ ในสวนสวย Day & Night Art Park ที่สวนสาธารณะ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานศิลป์ ในสวนสวย Day & Night Art Park
สวนสาธารณะ "อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
ถ้าพูดถึง “สามย่าน” ทุกคนจะนึกถึงอะไรกันค่ะ? สายกิน อย่างเราตอบเลย สเต็ก (Steak) 555 , สายทำบุญอาจจะตอบว่าวัดหัวลำโพง สาย shopping ก็อาจจะสับสนหน่อยเพราะมีห้างสรรพสินค้าบริเวณไม่ไกลมากมีให้เลือกเยอะเหลือเกิน และ สายเด็กเรียน ก็คงจะตอบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าใครจะสายไหน ตอบเลย ว่ามาถูกทางละ วันนี้แม่พันวา ขอแนะนำ พื้นที่สีเขียวกลางกรุงฯ อีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ...อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Centenary Park) มาที่เดียวครบ ไม่ว่าสายกิน สายออกกำลังกาย มาพักผ่อนหย่อนใจ เจอเพื่อนๆ ในสถานที่สบายๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติกลางกรุง ที่แท้ทรู (แนะนำให้มาช่วงเย็นนะคะ จะได้เห็นพระอาทิตย์ตกด้วย แม่พันวา เสร็จงานช้าไปหน่อยค่ะ)
Advertisement
Advertisement
สวน 100 ปี จุฬาฯ เกิดจากการเล็งเห็นความสำคัญ การมองการณ์ไกล เพื่ออนาคต ไปอีก 100 ปีข้างหน้าของชุมชนแถวสามย่าน การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษในเมืองหลวง และ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้กับชุมชนและคนเมือง ที่สำคัญไม่แพ้กันคือเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ
เพราะสวนสวยแห่งนี้ เกิดขึ้นได้เป็นการมอบที่ดินของทรัพย์สินมหาวิทยาลัยให้กับชุมชน ถึง 30 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ทั้งพรรณไม้ต่างๆ และการวางผังในการป้องกันน้ำท่วม มีการจัด Zone ไว้อย่างชัดเจน ถ้าเราแยกด้วย สายตา ก็จะเห็นว่า มีโซนเด็กเล่น มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีพื้นที่ให้พาสัตว์เลี้ยงมาเดินเล่น มีสนามหญ้า ลานการแสดงอเนกประสงค์ ห้องสำหรับการจัดงาน งานกิจกรรมในชุมชน ฯลฯ (อ่านข้อมูลประวัติเพิ่มเติมได้ตาม Website ที่แปะ link ไว้นะคะ)
แต่วันนี้ ที่แม่พันวา จะมาพูดถึงคือ งานศิลปะ ในสวน บังเอิญอีกตามเคย แม่พันวาไปถึงก็เย็นมากแล้ว วันนี้เป็นวันเปิดตัวงาน Chula Art Park พอดี ได้มีโอกาสได้เจอเจ้าของงานศิลปะบางชิ้นที่ตั้งแสดงอยู่ในสวน ซึ่งจะกระจายไปตามจุดต่างๆ
Advertisement
Advertisement
เพื่อนๆ สามารถไปเดินเล่นเหมือนตามหางานศิลป์ให้ครบทุกจุดที่ตั้งแสดงกันนะคะ อาจจะแข่งกันเล่นเกมส์ตามหา กับเพื่อนๆ ก็ได้ค่ะ และอย่าลืม อ่าน concept งานที่ทางเจ้าของงานตั้งใจที่จะสื่อสารกับคนที่มาชมด้วยนะคะ จะมีป้าย QR-Code และความหมายคร่าวๆ และชื่อเจ้าของผลงานตั้งอยู่ใกล้ๆ ค่ะ
งานศิลป์ที่จัดแสดง ตั้งใจให้สามารถชมได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ตาม concept ของงานที่เกิดขึ้นคือ Day & Night Digital Arts Park ณ ชุมชน สามย่าน-สวนหลวง (บริหารจัดการโครงการโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ไปเสพศิลป์ กินให้อร่อยกันนะคะ ทุกค้นนนนน
แม่พันวา
เจ้าของผลงาน "ปอดกลางเมือง City's Lungs" อาจารย์อุกฤษ วรรณประภา (มีความตะมุตะมิไม่แพ้ผลงาน) ทำไมต้องเป็นกระต่าย ลองไปตามหาความหมายกันดูนะคะ
ขอบพระคุณอาจารย์มาก และ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
Advertisement
Advertisement
แผนที่ไว้ให้ตามหาผลงานทั้ง 15 ชิ้น นะคะ
1 ไมตรี-ผูกพัน Friendship and Connection ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์ตระการ พนมวัน ณ อยุธยา
2 ชาวไทยเชื้อสายจีน : วิถีและศรัทธา Thai people of Chinese descent: Way of life and faith ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริชัย พุ่มมาก
3 วัฒนธรรมความดีงามของชุมชนสามย่าน The Samyan Community’s Culture of Goodness ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรสร ประเสริฐ
4 ปอดกลางเมือง City’s Lungs ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์อุกฤษ วรรณประภา
5 ภาพสะท้อนของกระรอกน้อย Reflection of a Little Squirrel ผู้สร้างสรรค์ผลงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ทักษิณา พิพิธกุล
6 สถานีสามย่าน – สวนหลวง Station ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ศาสตราจารย์กมล เผ่าสวัสดิ์
7 สะพานอ่อน Saphan On ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์ ดร.พิชัย ตุรงคินานนท์
8 ดอกไม้กลางเมือง City Center’s Flowerผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์กฤช งามสม
9 สร้างการรับรู้วิพีชุมชนสามย่าน Create the Acknowledgement of Samyan Communal Ways ผู้สร้างสรรค์ผลงาน : อาจารย์อนุพงศ์ สุทธะลักษณ์, อาจารย์เอกชัย สมบูรณ์
10 ประตูสวรรค์สามย่าน Samyan Heaven Gate ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์อคราส พรขจรกิจกุล
11 กลิ่นอายหมอกมังกรจีน Aura of the Chinese Dragon ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถนอมจิตร์ ชุ่มวงค์
12 สังสรรค์ Party ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์ศุภเดช หิมะมาน
13ประติมากรรมประแจจีน Chinese Fret ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์ธัญญารัตน์ ทองใจ
14 Hide and Seek ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์ภัทร นิมมล
15 เรือ (น) Junk ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจารย์ ดร.สมพงษ์ ลีระศิริ
*หากพิมพ์ชื่อ-สกุล หรือตำแหน่งท่านอาจารย์ไม่ถูกต้อง ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ เป็นการดูจากโบรชัวร์ และพิมพ์ตามค่ะ
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น
