อื่นๆ
เป็นเหมือนกันไหม...ในวัยเด็กของเรา

เชื่อว่าทุกคนในบางความคิดก็ไม่อยากโต หรืออารมณ์ที่อยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในวัยเด็กเป็นวัยแห่งการเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ผู้ใหญ่จึงให้ความสำคัญจึงมี "วันเด็ก" เริ่มปี พ.ศ. 2498 ในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม โดยมีนายวี.เอ็ม.กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้เห็นความสำคัญของเด็กๆ ทุกคน และให้เด็กได้ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญของชาติเช่นเดียวกัน แล้วต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมแทนจนถึงปัจจุบัน
แต่ในวัยเด็กของแต่ละคนก็มีความเหมือนและแตกต่างกันไปในแต่ละบริบทของตนเอง
ผมเกิดมาบริบทชุมชนต่างจังหวัด ติดชายแดนประเทศเมียนมา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็น "ชาวเขา" เพราะพื้นที่ภูมิลำเนาที่เกิดก็เป็นป่าเขาจริงๆ ถึงแม้ว่าไม่ได้สร้างบนอยู่บนภูเขาเหมือทางภาคเหนือก็ตาม และย้อนไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว การเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้านเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องใช้เดินเท้าเป็นหลัก การไปมาหาสู่ระหว่างเครือญาติต่างหมู่บ้านหรือไปร่วมงานบุญต่างๆ ก็ต้องเดินเท้าเพียงอย่างเดียว การได้ออกนอกหมู่บ้านทีไรเกิดคำถามขึ้นมาว่า "ทำไมโลกใบนี้ถึงกว้างใหญ่เหลือเกิน" เพราะโลกไม่ได้มีเพียงแค่หมู่บ้านเราเท่านั้น
Advertisement
Advertisement
ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนที่อื่นๆ ปัจจุบันก็อาศัยเครื่องปั่นไฟกับพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวนำแสงสว่างและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้กับพวกเรา
ตอนเด็กๆ ในหนังสือเรียนจะเป็นเรื่องราวในครอบครัวมีความเป็นชนบทอยู่ แต่เวลาถึงตอนพูดถึงชุดนอน โทรทัศน์ ตู้เย็น เตารีดหรือห้องรับแขกทีไรก็มักไม่เข้าใจสักที
สงสัยว่าทำไมต้องใส่ชุดนอนด้วย เพราะชุดไหนๆ เราก็ใส่นอนได้ทั้งนั้น เผลอๆ ไม่อาบน้ำก็ยังนอนได้สบาย
ไม่ได้ดูละครหรือข่าวเพราะไม่มี อย่างมากก็ฟังจากวิทยุ จะดีหน่อยก็หนังจอใหญ่หรือหนังกลางแปลงที่นานๆ จะเข้ามาฉายในหมู่บ้าน
ตู้เย็น ก็ไม่รู้จัก เคยคิดว่ากระติกน้ำแข็งคือตู้เย็นเพราะเคยเห็นทีการนำหวานเย็นมาขาย สามารถเก็บความเย็นไว้ได้
เตารีดก็ไม่เคยเห็น และดูเหมือนว่าไม่จำเป็นชีวิตด้วยซ้ำไป ส่วนห้องรับแขก ก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เกิดความสงสัยว่าทำไมต้องมีห้องรับแขก เพราะบ้านของเราเป็นบ้านโล่งๆ ไม่มีหลายห้อง อย่างมากก็ห้องเดียวนอนด้วยกันทั้งหมด
Advertisement
Advertisement
รวมทั้งการได้เห็นรถเป็นสิ่งที่ตื่นเต้น เพราะนานๆ จะได้เห็นสักครั้ง ยิ่งถ้าได้นั่งก็จินตนาการไปว่าคงมีความสุขน่าดู เพราะได้มองเห็นข้างทางตลอดระยะที่รถเคลื่อนที่ออกไป
มันก็เป็นมุมมองของเด็กชนบทที่ห่างไกลความเจริญเหมือนที่ทั่วๆ ไป แต่เรามีภูเขา 🗻 ผักริมน้ำ แม่น้ำ ลำธาร ผลไม้ตามฤดูกาล ให้อุปโภคบริโภคโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย อาหารการกินก็อาศัยตามฤดูกาล โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน สามารถหยิบจับมากินได้เลย แม่น้ำก็สามารถดื่มได้โดยไม่ต้องกลัวอะไร
ยังเคยสงสัยเพื่อนๆ ที่อยู่ต่างจังหวัดถามว่า "ว่ายน้ำเป็นไหม?" เพราะด้วยบริบทที่ชอบเล่นน้ำประจำทำให้ไม่มีคำถามนี้เกิดขึ้นเลยสักครั้ง (แต่เราก็ลืมนึกไปว่าบ้านเพื่อนอาจจะไม่มีแม่น้ำใหญ่ๆ ให้ว่ายเล่นก็ได้ เพื่อนเลยมาถาม)
ปัจจุบันก็ยังเกิดคำถามขึ้นเช่นกันว่า เด็กๆ ในยุคที่มีสัญญาณโทรศัพท์ มีการเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้านที่สะดวก มีโทรทัศน์ให้ดู มีของเย็นๆ ให้ซื้อกิน มีเครื่องมือสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งขึ้น มีขยะมากขึ้น มีการใช้สารเคมีมากขึ้น พวกเขายังมีคำถามอะไรที่เกิดขึ้นกันบ้าง..? จะเป็นไปในแนวทางไหนกันบ้าง..? อยากรู้อยู่เหมือนกัน..!! เพราะอิทธิพลในวัยเด็กส่งผลต่ออนาคตของเด็กๆ แต่ละคนได้ด้วยเช่น
Advertisement
Advertisement
เครดิต
ภาพปก และภาพประกอบที่ 1-6 โดยผู้เขียน
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น
