อื่นๆ

ไปเรียนเล่านิทานกันเหอะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ไปเรียนเล่านิทานกันเหอะ

     การสอนเด็กสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ความที่เรามัน gen x (ไดโนเสาร์ลายคราม) ส่วนเจ้าตัวเล็ก alpha (เกิดหลัง 2010) เป็นเด็กยุคไฮเทค แต่ก็ไม่ยากเกินไป เรามีตัวช่วยอันแยบยล และใช้ได้ผลมานับร้อยปี "นิทานไงล่ะ" ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยเพลิดเพลินไปกับจินตนาการ เสริมคุณธรรม สร้างความรักผูกพันในครอบครัว โอ๊ย... ถ้าจะสาธยายสรรพคุณคงไม่จบ แต่ก็อย่างที่บอกมันไม่ง่าย จะเล่ายังไงให้สนุก คนฟังไม่เบื่อซะก่อน โดยเฉพาะยุคนี้ที่เด็กเกิดมาก็สไลด์หน้าจอเป็นแล้ว สื่อต่างๆ วูบวาบ เร้าตาเร้าใจ เราเลยต้องไปเรียนไงล่ะ ตั้งใจจะให้เจ้าตัวเล็กห่างมือถือให้ได้เลยคอยดูซิ

      เมื่อเห็นการเปิดอบรม "การสร้างสรรค์นิทาน"เราตัดสินใจอยู่ 3 วิ เอาละ !! เป็นจอมยุทธไร้ชื่อ แถมกระบี่ทื่อ ไร้แรงกดดันทั้งปวง กระนั้นเลยจำต้องจรไปม.เกษตรโดยพลัน (กลองรัว...เชิด!)รูปวาด ม.เกษตรศสตร์

Advertisement

Advertisement

                                                                                                                      หน้าม.เกษตรบางเขน ภาพวาดโดย ชาตรี แก้วบุญเพิ่ม

ถึง ม.เกษตรอันกว้างใหญ่ไพศาล คือถ้าจะตั้งตนเป็นรัฐอิสระจะไม่แปลกใจเลย เพราะมีทุกอย่างที่ต้องการ ทั้งธนาคาร สตาร์บัค เซเว่น “การไปที่ไหนสักแห่งโดยไม่รู้ทิศรู้ทาง มีข้อดีอยู่อย่างคือ มันทำให้ตื่นเต้น ลุ้นไปหมดว่าจะเจออะไร เหมือนเกมส์ที่ไม่รู้ด่านต่อไป” ระหว่างทางเจอพี่สาวคนหนึ่ง จอดรถถามทางไปศูนย์วิทยบริการ (โอ..หน้าตูเหมือนเด็กเกษตรหรอ... แอบภูมิใจ) บอกไม่รู้คงเสียฟอร์มโชคดีที่พึ่งเดินผ่านมาหยกๆ

       มาถึงตึกโรงแรม ku home ก่อนเวลาอันควร ผู้คนยังบางตา เลยต้องนั่งเอ๋ออยู่หน้าห้อง ในที่สุดก็ถึงเวลาลงทะเบียนการเข้า work shop อารมณ์คล้ายนางงามร้อยเวที ที่ประกวดจนหน้าช้ำ รึไม่ก็นักร้องที่เดินสายทุกเวทีทั้งเดอะวอยซ์ เดอะสตาร์ คือชอบมีส่วนร่วมแต่แอบมุมๆหลังห้อง เป็นจอมยุทธไร้นาม แอบแฝงในงานชุมนุม ไม่ได้เก่งอะไรหรอกแค่สนุกที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เจอคนเก่งๆ ที่ใหม่ๆเท่านั้นแหละ

Advertisement

Advertisement

     เวลาแนะนำตัวมาถึง  อาห์….เป็นอย่างที่คิด เหล่ายอดฝีมือทั่วหล้ามาพบกัน ชนิดที่ได้ยินประโยคต่อท้ายชื่อแล้วร้อง ว้าว…

“เราได้พบพี่ต่ายที่หน้าเหมือนพี่ต่าย แต่ไม่ใช่พี่ต่าย แต่ก็เป็นพี่ต่าย”(งงเปล่า) เอ่อ...เป็นพี่ต่ายนักเขียนนิทานครับ แต่หน้าเหมือนพี่ต่ายขายหัวเราะ ฮ่า ฮ่า” 

ภาพวาด อ.มู                                                                                                                     ใบหน้าอ.มู ขณะเล่านิทาน ภาพวาดโดย ชาตรี แก้วบุญเพิ่ม

ได้เวลาซะที เริ่ม workshop อ.ผู้ถ่ายทอดพลัง คือ อ.มู ชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ เจ้าของผลงานนิทาน 

“สงครามขนมหวาน” อันลือลั่น บรยากาศช่วงเช้าเริ่มต้นอย่างสนุกสนาน อารารย์มูเก่งมากครับ แกหยิบกระดาษมาแผ่นนึงก็เอามาเล่าเป็นนิทานได้ พวกเรานั่งฟังกันตาแป๋วเหมือนเด็กอนุบาล (นี่ขนาดเด็กโข่งยังสยบ) จนพักเที่ยงบุฟเฟต์แสนอร่อยผ่านไป

Advertisement

Advertisement

     เริ่มช่วงบ่าย อ.มูแกเป็นคนตลก ใช้เสียงเล็ก เสียงน้อย การฟังบรรยายจึงเหมือนฟังนิทาน ก็แน่ละนี่มันอบรมการสร้างนิทาน ไม่ใช่ อบรมการจัดสรรงบดุลแห่งชาติ ให้เครียดคงไม่ใช่ มันเลยทำให้เราต้องเอาหัวใจเด็กกลับมาฟัง

      ช่วงที่อินที่สุดคงเป็นตอนที่ อ.ให้เขียนชื่อสิ่งไม่มีชีวิตมาหนึ่งอย่าง เราเขียนแปรงสีฟัน แล้วให้หลับฟุบลงกับโต๊ะ ย้อนนึกถึงช่วงเวลาความสุขในวัยเยาว์ เอามาแต่งเป็นนิทาน เราฟุบไป น้ำตารื้นๆ คิดถึงยาย ตักของยาย กลิ่นหมาก ตื่นขึ้นมาจึงกลายเป็นนิทาน 

“แปรงสีฟันของคุณยาย” เรื่องนี้ช่วยกันแต่งอย่างเมามันในกลุ่มแถมยังได้รับคำชมด้วยนะเออ

     จนมาถึงช่วงสุดท้ายของวันเป็นการแต่งนิทานแบบเดี่ยว เราแต่งเรื่องสั้นๆชื่อว่า “แพนด้าหน้าบึ้ง”

เป็นนิทานส่งเสริมสุขภาวะ แต่ยังไม่ทราบผล จนเสร็จสรรพ ปิดงานลงด้วยดี คุณค่าของงานนี้ทำให้คิดได้ว่า ”หลายครั้งเราลืมมองโลกผ่านสายตาเด็ก เด็กในตัวเรา เด็กที่ไม่ต้องการอะไรมาก เด็กน้อยร่าเริง เด็กน้อยที่ไม่ได้ใช้เงินทำทุกอย่าง เด็กที่อีโก้ไม่เยอะ”  

                      …..แล้วสุดท้ายนิทานที่สอนเด็ก ก็กลับมาสอนตัวเราเอง”...ภาพวาด พ่อลูกอ่านหนังสือ

                                                                                                  การเล่านิทานให้ลูกฟัง สร้างความผูกพัน ภาพวาดโดย ชาตรี แก้วบุญเพิ่ม

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์