อื่นๆ

14 ความคิด...ให้ชีวิตเบาลง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
14 ความคิด...ให้ชีวิตเบาลง

ในเมื่อชีวิตเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก อะไรที่พอจะทำได้ให้ชีวิตเราดีขึ้นเราก็ควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะพัฒนาตนเองได้จนสูงสุด มีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เรามีชีวิตที่เบาได้ ไม่ต้องแบกทุกอย่างไว้ให้รู้สึกว่าชีวิตของเราหนักเกินไป

1. สำรวจความเสื่อมของร่างกาย เราทุกคนรู้ว่าทุกวันที่ผ่านไปคือความเสื่อมของเราร่างกาย เหมือนที่มีคนเคยบอกว่า "ฟันมาทีหลัง แต่หลุดร่วงไปก่อนส่วนอื่น" สิ่งที่เราทำให้ชะลอหรือเสื่อมช้ากว่าเดิมก็การดูแลร่างกายให้แข็งแรง และมีจิตใจที่ผ่องใสอยู่เสมอ ข้อนี้จะทำให้การเห็นแก่ประโยชน์ตนเองลดลงได้ 

ช่วยเหลือกัน2. ทำดีกับทุกคนรอบตัวเข้าไว้ แม้ว่าในชีวิตจริงของเราทุกคนจะมีทั้งคนที่เราชอบและไม่ชอบ แต่เมื่อต้องอยู่ด้วยกัน การทำดีต่อกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเราต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

3. ชีวิตมีขึ้นมีลง เป็นสิ่งแน่นอนของความไม่แน่นอน ธรรมดาของวิถีชีวิตที่สมใจบ้าง ขัดใจบ้างในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา แต่ถ้ามีด่านคัดกรองด้วยธรรมะ การขึ้นลงของชีวิตก็มีผลน้อยลงจนไม่มีเลยก็ได้ 

Advertisement

Advertisement

ด่านตรวจ4. เข้าถึงคำว่าปลง คำนี้พูดง่าย แต่การเข้าถึงอาจจะยาก แต่ถ้าเรียนรู้ทุกอย่างอย่างเข้าใจ การปลงหรือการไม่แบกสิ่งที่ไม่ชอบไว้ได้ อะไรๆ ก็ดูง่ายขึ้นได้ ปลงเพราะเข้าถึง เข้าใจ และเกิดจากใจจริง

5. ให้เวลากับลมหายใจ ทุกวันนี้เราแทบไม่ได้สนใจลมหายใจกันเท่าไหร่ เมื่อไรที่เหนื่อย หอบ ก็อาจจะสังเกตลมหายใจได้ แต่การสังเกตที่ดีต้องอยู่ในอารมณ์ปกติ และมองเห็นจากการใส่ใจจริงๆ ถึงจะได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของลมหายใจ 2 จังหวะ เข้า-ออกของเรา 

การดูแลคนรัก6. ดูแลคนใกล้ชิด เรื่องของครอบครัว คนใกล้ชิดเป็นเรื่องที่สำคัญ ทำในบ้านให้มีความสุข คนรอบตัวมีความสุข ถือว่าเป็นเกราะป้องกันปัญหาในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เป็นพลังเสริมให้ตัวเราที่ดีเยี่ยม ดูแลกันและกันให้ดี ทำอะไรนอกบ้านก็จะสำเร็จได้ง่ายขึ้น

7. ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ่อยๆ อันนี้ก็มีความสำคัญมากๆ เพราะเราอยู่กันเป็นสังคม อยู่กันเป็นหมู่มาก การมีเวลาให้ส่วนรวมจึงควรทำ ไม่ใช่เพราะเกรงใจคนอื่น แต่หากเพราะสร้างต้นแบบหรือมีแบบอย่างที่ดีให้รุ่นต่อๆ ไป 

Advertisement

Advertisement

กิจกรรมชุมชน8. มีสิ่งดีต้องแบ่งปัน เมื่อไรที่เรามีอะไรดีๆ ก็ควรแบ่งปัน ไม่ว่าสิ่งของหรือความรู้ เพราะการแบ่งปัน ไม่มีวันสิ้นสุด ที่สำคัญยังสามารถสืบสาน สืบทอด ส่งต่อได้อีกรุ่นต่อรุ่น โดยเฉพาะภูมิปัญญาต่างๆ 

9. เปิดใจรับฟังปัญหา บางครั้งการได้เรียนรู้ปัญหาของผู้อื่นก็ทำให้เข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น ทำให้สามารถมาปรับใช้กับชีวิตของเราให้ดีขึ้นได้ด้วย อย่างน้อยเราก็จะไม่ทำอะไรให้ผู้อื่นรู้สึกทุกข์ใจเพราะเรารู้ปัญหาต่างๆ นั้นแล้ว 

อุบัติเหตุ10. ไม่ประมาทการใช้ชีวิต อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน บางครั้งความประมาทก็มาจากความไม่ได้ระมัดระวังหรือใส่ใจในสิ่งที่ทำให้ดีพอ จงมีสติให้มากที่สุดกับทุกๆ กิจกรรมในชีวิตให้มากที่สุด

11. ทำความดีในทุกๆ วัน เพราะเราไม่รู้ว่าชีวิตจะสิ้นสุดลงวันไหน การสะสมความดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น การทำดีไม่จำเป็นต้องทำกับผู้อื่นเพียงอย่างเดียว ทำดีกับตนเองก็ได้ แค่พูดดี คิดดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นก็เพียงพอแล้ว 

Advertisement

Advertisement

ใส่บาตร12. หมั่นเข้าหาบุคคลสำคัญ การไปหาญาติผู้ใหญ่ ปราชญ์ พระสงฆ์ ผู้เฒ่าฯ เป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์ สามารถแบ่งปันความรู้ ความดี ความผิดพลาดให้กับเรา นำมาเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตได้

13. ฝึกจิตให้เข้มแข็ง เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ในยุคแห่งความรวดเร็ว ว่องไว การอารมณ์เสีย ไม่ถูกใจ ขัดแย้งกันเกิดขึ้นได้ง่ายมาก การควบคุมอารมณ์ ฝึกฝนให้สงบนิ่งได้เมื่อเจอกับสิ่งที่มาทำให้ขัดใจได้เป็นสิ่งสำคัญ มองทุกอย่างอย่างมีเหตุมีผลเสมอ ไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง 

ความสงบทางใจ14. ปล่อยวางอย่างเข้าใจ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คู่กับความไม่ประมาทก็คือ "การปล่อยวาง" อย่างเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น บางอย่างควบคุมได้ บางอย่างควบคุมไม่ได้ หากเราเข้าใจ ฝึกมองให้เป็นเรื่องปกติ เราจะวางใจของเราอย่างปล่อยวางได้ 

ดอกบัวความคิดข้อไหนที่ทำได้ก็มาปรับกับจริตของเรา เพื่อให้มีความรู้สึกว่าโลกนี้มีอะไรที่หนักก็เบาลงได้ ถ้ามาปรับใช้กับชีวิตบ่อยๆ จนเป็นวิถีชีวิตประจำวันของเรา "วางได้...ก็เบาได้" ตามคำพระท่านคอยสอนเสมอมา


ทุกภาพประกอบ โดยผู้เขียน

*STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*

ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`

trueCover

คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkq

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQ

ร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์