ท่องเที่ยว
เที่ยวไปทั่ว ณ วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เมื่อศิลปะตะวันตกบรรจบกับศาสนาพุทธ

วันนี้ชื่นตั้งใจว่าจะไปทำบุญไหว้พระ แต่ต้องไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก เราเลยตัดสินใจเดินทางไปเมืองกรุงเก่าอยุธยากันตั้งแต่เช้า สถานที่ที่เราจะไปในวันนี้ ได้แก่ วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ตำบลบางเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดอยุธยา
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
ได้เวลาออกเดินทางด้วยเส้นทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ขับรถประมาณ 1 ชั่วโมง ถึงอำเภอบางปะอิน โดยสามารถจอดรถได้ที่ลานจอดรถของพระราชวังบางปะอินได้เลย เนื่องจากวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของพระราชวังบางปะอิน (คล้ายๆเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา) ซึ่งเราจะนั่งกระเช้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระราชวังบางปะอินไปวัดกัน
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
นั่งกระเช้าชมวิวไป โดยทางซ้ายมือเมื่อมองไปทางวัดจะเห็นประภาคาร และทางขวามือเป็นกุฎิพระสีชมพูตัดขาว พร้อมด้วยต้นไม้ใหญ่สีเขียวมองไปเพลินๆนวลตาไปอีกแบบ
Advertisement
Advertisement
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ก่อสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) เพื่อสำหรับเป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศล วัดถูกออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) คล้ายวิหารในสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยสถาปัตยกรรมกอทิก เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของยุโรปโบราณ เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส นิยมใช้ในการก่อสร้างมหาวิหาร ปราสาท โบสถ์ วัง เป็นต้น โดดเด่นด้วยโครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม งานกระจกสี เป็นต้น
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เมื่อข้ามฟากมาแล้วก็จะเจอทางเดินอิฐมอญปูเป็นทางยาวข้างตัววัด สามารถเดินชมบรรยากาศไปเรื่อยๆ สวยเหมือนเดินอยู่ในประเทศในยุโรปเลยทีเดียว
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เมื่อเดินถึงพระอุโบสถสไตล์กอทิก พระอุโบสถทรงสูง โดมยอดแหลม คล้ายเจดีย์ในวัด ภายใต้โดมมีหอนาฬิกาและระฆังชุด เหนือขึ้นไปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านหน้าอาคารประดับปูนปั้นตราแผ่นดินและประดับกระจกสีสเตนกลาสพระบรมสาทิสลักษณ์
Advertisement
Advertisement
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
หลังจากเดินถึงพระอุโบสถสีเหลืองขาว สว่างอร่ามตาแล้ว ก็ต้องเข้าเพื่อไหว้พระขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลกับ "พระพุทธนฤมลธรรโมภาส" พระประธานในพระอุโบสถกัน พระอุโบสถนี้นอกจากสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิกแล้วภายในมี ภายในพระอุโบสถยังมีการกรุหน้าต่างด้วยกระจกสี ซึ่งการกรุหน้าต่างด้วยกระจกสีในทางสถาปัตยกรรมไทย มีการทำครั้งแรกที่อุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ โดยใช้กรุที่ช่องหน้าต่างพระอุโบสถเช่นกัน(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เมื่อไหว้พระขอพรกันเรียบร้อยแล้ว ด้านขวามือของพระอุโบสถ จะพบกับ พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ทรงม้า และพระพุทธรูปคันธารราษฎร์
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เดินชมรอบๆวัด ที่สำคัญวัดแห่งนี้มีต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นใหญ่แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา ซึ่งเป็นต้นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกไว้หน้าพระอุโบสถ เมื่อ ๖ กันยายน ๒๔๒๐ และสุสานสวนหินดิศกุลอนุสรณ์ สำหรับประดิษฐานอัฐิของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, เจ้าจอมมารดาชุ่มในรัชกาลที่ 4 และราชสกุลดิศกุล โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น พระบิดาแห่งการศึกษาและการปกครอง เป็นนักประวัติศาสตร์ และราชบัณฑิตแห่งสมัย
Advertisement
Advertisement
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เมื่อเดินออกมา เจอสะพานไม้ มีโอกาสได้เห็นสามเณร เดินเรียงแถวกันมาเป็นจำนวนมาก เป็นภาพที่สวยงาม เมื่อพบเจออาจารย์ท่านหนึ่ง โดยท่านอาจารย์ให้เกรียติอธิบายให้ฟังว่าทางด้านนี้เป็นโรงเรียนวัดนิเวศธรรมประวัติ(โรงเรียนพระปริยัติธรรม)และวิทยาลัยเสริมทักษะพระภิกษุ สามเณรอีกด้วย ว่าเป็นโรงเรียนและวิทยาลัยที่เรียนทั้งสามัญ(มัธยม, ปวช, ปวส)และทางธรรม เรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของวิทยาลัย http://www.spscollege.ac.th/
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เมื่อมองข้ามฝั่งแม่น้ำจะเจอกับ เรือนแพพระที่นั่ง เขตพระราชชั้นนอกของพระราชวังบางปะอินอีกด้วย ถ้าสายถ่ายรูปได้มาวัดนิเวศธรรมประวัติ เชื่อว่าจะอิ่มเอมในทุกมุมแน่นอน เพราะสวยทุกรูปทุกมุมจริงๆ ได้บรรยากาศในสไตล์ยุโรป ในอากาศเย็นๆอีกด้วย
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
เมื่อเดินชมครบรอบวัด อิ่มใจและประทับใจมาก ภายในวัดทุกอย่างเป้นระเบียบเรียบร้อย ทางเดินสะอาด ทุกอย่างดูสะอาดตา และภายในวัด สองข้างทางจะมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาตลอด ทำให้ลมเย็น อากาศเย็ยสบาย เช่น ต้นพะยอม ต้นแสลงใจ ต้นมะเฟือง ต้นสาละ ต้นชมพูพวง ต้นสมอพิเภก เป็นต้น
(ภาพประกอบโดยผู้เขียน)
ขากลับเดินผ่านเลยได้อุดหนุนาอหารปลาในศาลา เมื่อลงไปให้อาหารปลา มีปลากระแหหรือปลาตะเพียนหางแดง ขึ้นมากินอาหารเป็นส่วนมาก และมองข้างๆจะพบปลาเสือว่ายน้ำเล่นอยู่ เป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสุขอิ่มอกอิ่มใจ
ความคิดเห็น
