ความรู้
เครื่องบูชาคาถาพัน เครื่องบูชากัณฑ์สะท้อนชีวิต

ท่านเคยได้ยินคำว่าฮีตสิบสองคองสิบสี่ ของคนอีสานหรือไม่ คำนี้หากใครเป็นคนอีสานขนานแท้คงจะเคยได้ยินมาบ้าง
ฮีตสิบสองคองสิบสี่ หมายถึง แนวปฏิบัติของคนอีสาน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองหลักใหญ่ ๆ คือการปฏิบัติตามฮีต และการปฏิบัติตามคอง
การปฏิบัติตามคอง
คำว่า "คอง" มาจากคำว่า "ครรลอง" ซึ่งหมายถึงแนวทางหรือแบบฉบับ ดังนั้นการปฏิบัติตามคองจึงหมายถึง การปฏิบัติตามแนวทางที่บรรพบุรุษได้บัญญัติไว้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบฉบับที่จะนำไปสู้ความเจริญรุ่งเรืองในสังคม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๔ ข้อ หนึ่งใน ๑๔ ข้อนี้ คือ ฮีตปีคองเดือน ซึ่งก็หมายถึง ฮีตสิบสองนั้นเอง
การปฏิบัติตามฮีต
คำว่า "ฮีต" มีความหมายตรงกับคำว่า "จารีต" ดังนั้นการปฏิบัติตามฮีตจึงหมายถึง การปฏิบัติตามจารีตประเพณี ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ นั้นคือประเพณีสิบสองเดือน จากที่กล่าวมาข้างต้นคำว่าฮีตสิบสอง แท้จริงเป็นส่วนหนึ่งของคองสิบสี่ ซึ่งเป็นคองข้อที่ ๑๒ ว่าด้วย ฮีตปีคองเดือน นั้นเอง
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องเอาชื่อคองเพียงข้อเดียวมาตั้งเป็นชื่อแนวปฏิบัติ ว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" แล้วคองข้ออื่น ๆ หละ ทำไมไม่เอามาตั้งชื่อด้วย สาเหตุก็เพราะคนอีสานหากเห็นว่าสิ่งใดสำคัญก็จะให้ความสนใจและใส่ใจเป็นพิเศษ การนำฮีตปีคองเดือน ซึ่งแท้จริงเป็นเพียงหนึ่งในคองสิบสี่ มายกฐานะให้เท่ากับคองสิบสี่ก็เพราะ ฮีตปีคองเดือนถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากของคนอีสาน เนื้อหาว่าด้วยการปฏิบัติตามประเพณีทั้งสิบสองเดือน ซึ่งมีทั้งประเพณีหลัก (ประเพณีที่ต้องทำทุกปี) และประเพณีรอง (ประเพณีที่ต้องทำในบางปี ซึ่งจะทำก็ต่อเมื่อวันเวลาเวียนมาคบรอบ) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคนอีสานให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีเป็นอย่างมาก ซึ่งมีการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และนี้ก็คือเหตุผลว่าทำไมจึงต้องยกฐานะของฮีตปีคองเดือน ให้มีฐานะเป็นแนวปฏิบัติที่จำเป็นต้องทำ
Advertisement
Advertisement
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าฮีตสิบสอง ถือว่ามีความสำคัญกับคนอีสานมาก คนอีสานจะต้องทำงานบุญประเพณีทุกเดือนตามเนื้อหาที่ว่าไว้ในฮีตปีคองเดือน และนั้นจึงเป็นที่มาของบุญเดือนสี่ หรือประเพณีบุญผะเหวด
ที่มา : ภาพงานบุญผะเหวด จากเพจ Mahasarakham University
บุญผะเหวด เป็นหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือนที่ถูกกำหนดให้จัดขึ้นในเดือนสี่โดยนับตามจันทรคติ หรือประมาณช่วงเดือนมีนาคมของระบบสุริยคติ คำว่าผะเหวดก็คือพระเวสสันดรนั้นเอง โดยสาระสำคัญของการจัดงานบุญผะเหวดคือ การให้ท่าน และการฟังเทศน์มหาชาติ
การฟังเทศน์มหาชาติ คือการเทศน์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายของพระสมณโคดม ก่อนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการให้ทานของพระเวสสันดร ซึ่งถือว่าเป็นการสอนให้ชาวพุทธรู้จักการให้ผ่านการจัดบุญประเพณี เนื้อหามีทั้งสิ้น ๑๓ กัณฑ์ ๑,๐๐๐ พระคาถา ซึ่งบางพื้นที่จึงเรียกการเทศน์นี้ว่า เทศน์พันคาถาหรือเทศน์คาถาพัน แต่ถึงจะเรียกอย่างไรก็หมายถึงการเทศน์มหาชาตินี้เอง
หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการฟังเทศน์มหาชาติคือ เครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ หรือชาวอีสานเรียกกันว่า "เครื่องบูชาคาถาพัน" ซึ่งมีหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ ได้แก่
Advertisement
Advertisement
ข้าว ๑,๐๐๐ ก้อน
เทียน ๑,๐๐๐ เล่ม
ธูป ๑,๐๐๐ ดอก
ดอกไม้ ๑,๐๐๐ คู่
หมากพลู ๑,๐๐๐ คำ
บุหรี่ ๑,๐๐๐ มวน ธุง ๑,๐๐๐
ธุง (อาจเป็นธุงกระดาษหรือถุงผ้าเล็ก ๆ )
ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น กล้วย มะพร้าว อ้อย เป็นต้น
ซึ่งเครื่องบูชาเหล่านี้ถูกจัดขึ้นเพื่อบูชากัณฑ์เทศน์มหาชาติ ซึ่งจำนวนของเครื่องบูชา ก็มาจากจำนวนพระคาถานั้นเอง
การเทศน์มหาชาติ นอกจากจะมีจัดในภาคอีสานแล้ว ยังพบได้ในทุกภาคของประเทศน์ไทยซึ่งเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ในแต่ละภาคก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามรูปแบบวิถีชีวิตของคนในภูมิภาคนั้น ๆ ยกตัวอย่างคนในภาคอีสาน ก็จะมีเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนอีสาน เช่น ข้าวพันก้อน ดอกโน และธุง เป็นต้น
ที่มา : ภาพข้าวพันก้อน จากเพจ Mahasarakham University
Advertisement
Advertisement
ข้าวพันก้อน คือ ข้าวเหนียวนึ่งสุก แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ เพื่อเป็นเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ นอกจากนี้เครื่องบูชาชนิดนี้ยังส่งผลให้เกิดประเพณีอีกหนึ่งอย่าง คือ "การแห่งข้่าวพันก้อน" ซึ่งการแห่งข้าวพันก้อนนั้น จะกะทำในเวลาประมาญ ตี ๑ ถึงตี ๕ (แล้วแต่พื้นที่) นับเป็นการแห่ประเภทเดียวของภาคอีสานที่จัดให้แห่ในเวลากลางคืน โดยชาวบ้านจะออกมารวมตัวกันแล้วทำการแห่ไปรอบหมู่บ้านหรือบริเวณที่จะมีการเทศน์มหาชาติ จากนั้นจะนำข้าวพันก้อนไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ของบริเวณการเทศน์เพื่อเป็นการบูชากัณฑ์เทศน์
ที่มา : ภาพการนำข้าวพันก้อนไปบูชากัณฑ์เทศน์ จากเพจ Mahasarakham University
ดอกโน เป็นดอกไม้สำหรับบูชากัณฑ์เทศน์ ซึ่งดอกโนนี้ไม่ใช่ดอกไม้จริง ๆ แต่เป็นดอกไม้ที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้นเองจากไม้ของต้นหม่อน วิธีการคือนำเอาก้านของต้นหม่อนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก มาปอกเปลือก แล้วนำมีดมาตัดเป็นกลีบให้มีขนาดพอดีกัน จากนั้นก็จะได้ดอกโนที่สวยงาม ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงไม่เอาดอกไม้จริง ๆ มาบูชา ทำไมต้องมีการประดิษฐ์ดอกไม้ขึ้นด้วย สาเหตุก็เพราะในช่วงที่จัดงานบุญเดือนสี่ฟังเทศน์มหาชาติ อยู่ในช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านจึงไม่มีดอกไม้ที่สวยพอที่จะนำมาบูชากัณฑ์เทศน์ อีกทั้งการเตรียมงานจำเป็นต้องทำหลายวันก่อนหน้าที่จะมีการเทศน์ ถึงจะหาดอกไม้จริงได้ ดอกไม้นั้นก็คงเหี่ยวแห้งไปก่อน ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์ดอกไม้ขึ้นมาเองทั้งเพื่อความสวยงาม และเพื่อความทนทานด้วย
ที่มา : ภาพดอกโน จากเพจ Mahasarakham University
ธุง โดยคำว่าธุงแท้จริงก็คือธงนั้นเอง โดยคนอีสานจะมีความเชื่อว่าธุง คือสิ่งของที่เป็นมงคล หากนำไปวางไว้ ณ ที่แห่งใดก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ชาวบ้านจึงมีการประดิษฐ์ธุงขึ้นเพื่อเป็นการบูชากัณฑ์เทศน์ โดยธุงที่ประดิษฐ์ขึ้นมามีทั้งธุงผ้าและธุงใยแมงมุม ซึ่งทั้งสองอย่างเกิดจากการคิดค้นของคนในชุมชนเองซึ่งสืบทอดกันมาอย่างช้านาน และมีการประดิษฐ์ขึ้นมาได้อย่างสวยงามแทบทุกพื้นที่ในภาคอีสาน
ที่มา : ภาพธุงใยแมงมุม จากเพจ Mahasarakham University
จะเห็นว่าเครื่องบูชากัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นสังคมของแต่ละสังคมได้ชัดเจนมาก เช่นชาวอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียวก็นำมาเป็นเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ หรือการตัดดอกโน ก็กระทำขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศในสังคม ดังนั้นเครื่องบูชาคาถาพัน จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ที่สะท้อนสังคมและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างแท้จริง
ขอบคุณภาพจาก เพจ Mahasarakham University
ความคิดเห็น
