ดงขวาง ที่แปลว่า ป่าไม้ขนาดใหญ่ (ผืนป่ากว้างขวางตามลักษณะภูมิศาสตร์พื้นที่ในอดีต) เดินทางขึ้นมาภาคอีสานใต้หมู่บ้านของคุณย่าผู้เขียนเองค่า เข้าหน้าหนาวแล้วลมเย็น ๆ ปะบนบนหน้าชวนมุ่งตรงมาด้วยความคิดถึงภาพจำครั้งสุดท้ายของสถานที่แห่งนี้คงเป็น 14 ปีที่แล้วซึ่งเด็กน้อยวัย 7 ขวบจำได้แต่ภาพเลือนรางขาดการติดต่อจากคุณย่าไปหลายปีแต่ว่าต่อจากนี้ว่างงานเมื่อไหร่คงแวะไปหาเยี่ยมเยียนปู่ย่าด้วยตัวเองตามใจสักทีเดิมก่อนตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลยางสว่างในปี พ.ศ. 2542 มีชื่อว่า โคกอีเมิม (อ้างอิงจาก เว็บไซต์อบต.ยางสว่าง) ซึ่งผู้เขียนไปศึกษาภาษาอีสานพบว่าเมิมออกเสียงเดียวกับคำว่าเมมที่แปลว่าสถานที่เผาศพปรากฎอยู่ในกลอนโบราณอีสานพญาคำกอง หลายท่านคงรู้จักว่าจังหวัดสุรินทร์ติดกับประเทศกัมพูชาทำให้ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ในจังหวัดนี้มีเชื้อสายเขมรแต่อำเภอรัตนบุรีแห่งนี้ในอดีตมีเจ้าเมืองชื่อว่าเชียงสี เชื้อสายกูยหัวหน้าเผ่าลาวจากอาณาจักรล้านช้างต่อมาได้เป็นพระศรีนครเตาท้าวเธอ ขุนนางในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์พระศรีนครเตาท้าวเธอ ณ สวนสาธารณะศรีนครเตา ที่ห่างจากบ้านดงขวางประมาณ 10 กิโลเมตรและซากวังเก่าในบริเวณวัดโพธิ์ศรีธาตุพบหลักฐานบันทึกว่าบริเวณนี้ถูกทิ้งเป็นป่าร้างชาวลาวจากบ้านน้ำคำเขตยโสธรอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่พื้นที่นี้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นตำบลยางสว่างและตำบลธาตุที่อยู่ติดกันจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเชื้อสายเขมรและพูดภาษาอีสานสื่อสารในชีวิตประจำวันเพียงเท่านั้นค่ะข้าวหอมสุรินทร์ หรือสายพันธุ์ กข 15 ชาวบ้านในพื้นที่นิยมทำนาปลูกข้าวนาปีอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูกแบบอินทรีย์เป็นหลักเก็บเกี่ยวและสีข้าวด้วยตนเองและนิยมเก็บไว้รับประทานในฤดูแล้งเพื่อหุงใช้ในครัวเรือนซึ่งครอบครัวคุณย่าของผู้เขียนก็ทำนามากกว่า 100 ไร่ หากใครขึ้นไปเยี่ยมก็จะเป็นธรรมเนียมทั่วไปของคนอีสานบ้านที่ปลูกข้าวจะให้ข้าวสารใส่กระสอบกลับมาด้วยทุกครั้ง (ผู้เขียนมีคุณย่าบุญธรรมอยู่อุดรธานีก็จะได้ข้าวเหนียวใส่กระสอบกลับมาด้วยตลอด) หรือใช้เป็นของฝากสื่อให้เลยว่าน้ำใจผู้คนที่นี่งามจริง ๆ เลยค่ะ ยิ่งข้าวสารเก่านะคะจะหุงขึ้นหม้อกลิ่นหอมอร่อยแถมมีรสสัมผัสที่หนึบหนับนุ่มกว่าข้าวสารทั่วไปเลยค่ะนอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงโคกระบือกันด้วยแหละค่า วัวไทยบราห์มัน โคขนาดใหญ่ตัวสีน้ำตาลแดงรูปร่างสายสง่างามสำหรับขายเพื่อการประกวด โคพื้นเมือง สีขาวตัวเล็กกะทัดรัดที่คุณปู่ของผู้เขียนเลี้ยงไว้สำหรับขายเนื้อและทำอาหาร ทุกเช้า - เย็นจะออกไปตัดหญ้ามาเลี้ยงวัวมีการมาเล่าว่าเป็นการออกกำลังกายให้สุขภาพดีและเลี้ยงไก่ชนอีกหลายตัวไว้ดูเล่นตามประสาวัยเกษียณ เยี่ยมชม โคก หนอง นา พช.สุริทร์ ที่สนับสนุนโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ครัวเรือนต้นแบบ นางลา สุจริต พี่สาวแท้ ๆ ของคุณย่าผู้เขียนเองค่ะบนเนื้อที่ 3 ไร่ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 5/1 ม.9 ต.ยางสว่าง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ปัจจุบันกำลังเพาะปลูกแปลงพืชพื้นบ้านผสมผสาน บ่อน้ำเลี้ยงปลาสำหรับกักเก็บน้ำในฤดูแล้งกับเลี้ยงเป็ดเทศรอบ ๆ ด้วย ประกอบกับเลี้ยงไก่เนื้อและวัวบราห์มัน หากต้นไม้ที่กำลังดำเนินการเพาะปลูกอยู่โตก็จะร่มรื่นสวยงามน่าดูค่ะหากมาในฤดูฝนก็จะมีทุ่งนาข้าวหอมสุรินทร์รายล้อมกว้างขวางสุดลูกหูลูกตาเลยค่ะ คุยกันในวันที่ยังคุยกันได้ไม่ต้องไปรอเวลาที่เหมาะสมโชคดีที่ยังมีโอกาศพบย่าทวดบ้านสุขเหลือง (แม่ของย่า) อายุ 80 กว่าปียังแข็งแรงพูดเก่งตำหมากเก่งมากค่ะ ด้านปู่ของผู้เขียนเป็นเขยอีสานที่ขยันมากตื่นนอนช่วง 04.00 น. หุงข้าวด้วยเตาฟืนทำกับข้าวออกกำลังกายขับรถไปส่งเหลนที่โรงเรียนเป็นคนอารมณ์ดีชอบร้องเพลงของสายัณห์ สัญญา ส่วนย่าก็ปลูกต้นหอม ผักกวางตุ้งรอบ ๆ บ้านและไปช่วยเพื่อนเกี่ยวข้าวจับปลาพร้อมสอนสกิลปอกหน่อไม้ป่าสด ๆ ให้ผู้เขียนมาอีกด้วย เราควรเจอกันเมื่อยามยังมีลมหายใจก่อนที่จะสายเกินภาพจำสุดท้ายที่อยู่ด้วยกันคงตอนปิดเทอมวัย 7 ขวบที่คุณปู่ทำงานอยู่บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ด้านคุณย่าเป็นแม่บ้านมีงานอดิเรกเย็บลูกปัดใส่ผ้าส่งให้โรงงานของคุณลีน่าจังย่านลำลูกกาหลังจากนั้นก็ไม่ได้พบกันมานานมากต้องขอบคุณความพยามและจังหวะชีวิตของตัวเองที่ทำทุกวิถีทางให้มีโอกาสกลับไปหารากเหง้า (เป็นคนที่คลั่งไคล้ในการศึกษาสังคมในประวัติศาสตร์หนักมาก) รู้สึกดีใจมากค่ะที่ปู่ย่าตายายยังอยู่ครบยังสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากพวกท่านเป็นเรื่องที่มีความหมายในชีวิตสำหรับผู้เขียนมากเลยค่ะ 😄ภาพ/ปก ผู้เขียน(Moona K) ติดต่อพูดคุยกับผู้เขียนได้ที่ Facebook Fanpage: Moona Kอัปเดตบทความท่องเที่ยวตามสถานที่อันหลากหลาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !