อื่นๆ

แคคตัสต้นไหนโดนใจไปดูกัน

140
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แคคตัสต้นไหนโดนใจไปดูกัน

ปัจจุบันการปลูกเลี้ยงแคคตัสเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย มีผู้เลี้ยงหน้าใหม่ทุกเพศทุกวัยเกิดขึ้นมากมายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ รวมถึงทุกภูมิภาคทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ดังที่เรามักจะได้เห็นภาพสวย ๆ ของแคคตัสสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติและที่ปลูกเลี้ยงอย่างมากมายในต่างประเทศ ยกตัวอย่างภาพจาก Pinterest.com ที่เราสามารถเสิร์ชหาภาพแคคตัสได้ทุกสายพันธุ์ ที่สำคัญคือแคคตัสที่ปลูกเลี้ยงในบ้านเราล้วนมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก

แคคตัสที่ปลูกในบ้านเราการเลี้ยงแคคตัสของผู้ที่ชื่นชอบก็มีหลากหลายวงการทั้งศิลปิน ดารา นักร้อง นักธุรกิจ ตลอดจนบุคคลธรรมดาอย่างผู้เขียนก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ต่างหันมาสนใจปลูกเลี้ยงแคคตัสอย่างเพลิดเพลิน บางคนใช้คำว่าหลงรักน้องหนามอย่างหัวปักหัวปำก็มีไม่น้อย ทำไมถึงเป็นกันได้ถึงเพียงนั้น หลายคนคงไม่เข้าใจและอาจอยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร ข้อสงสัยนี้ผู้เขียนมีคำตอบที่ได้จากประสบการณ์ของตนเองมาบอกเล่าให้ผู้อ่านได้คำตอบที่พอจะช่วยให้คลายความสงสัยและเข้าใจผู้คนที่ชอบเลี้ยงแคคตัสกันมากขึ้น ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าผู้เขียนเองก็เพิ่งมาเป็นผู้เลี้ยงแบบในภาพที่เห็นข้างต้นนี้ก็เป็นตอนช่วงหลังจากเกษียณงานแล้ว มีเวลาอยู่บ้านมากมายมีความเป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ทำให้ค้นพบตัวเองว่าเป็นอีกผู้หนึ่งที่หลงรักเจ้าไม้หนามแคคตัสนี้เช่นเดียวกัน

Advertisement

Advertisement

เริ่มจากมีเพียงต้นสองต้นแรกเริ่มก็มีเพียงต้นสองต้น ซื้อหามาเองบ้างเพื่อน ๆ น้อง ๆ ที่ทำงานให้มาบ้าง ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ดูจากร้านค้าออนไลน์บ้าง การเลี้ยงก็เริ่มจากลองผิดลองถูกทำน้องหนามเน่าตายไปก็มี ที่ไม่ตายแต่ไม่โตเลยก็มี บางต้นก็เติบโตสวยงามมีดอกให้ชื่นชมคนเลี้ยงก็รู้สึกดีใจมาก ๆ เป็นความรู้สึกที่บอกให้คนที่ไม่ได้เลี้ยงอาจไม่เข้าใจ หลังจากนั้นการหาไม้ต้นสวยๆ ราคาแพงบ้าง ถูกบ้าง เริ่มทยอยหามาเลี้ยง บางต้นต้องบอกว่าอยากมีสะสมกับเค้าบ้างแต่ก็ต้องใช้ความพิถีพิถันในการพินิจพิเคราะห์อยู่นาน ก่อนตัดสินใจรับต้นที่มีราคาค่อนข้างแพง และเป็นไม้หายากมาประดับโรงเรือนของเรา ยกตัวอย่างในภาพ เป็นไม้สวยโตช้าและค่อนข้างมีราคาแพง ชื่อ แอสโตรไฟตัม ที่มีลักษณะลวดลายคล้ายตัวอักษร V หรือเรียกว่า AstrophytumV-type ต้นนี้ผู้เขียนได้มาจากตลาดต้นไม้ที่เชียงใหม่เลี้ยงมานานกว่าหนึ่งปีแล้วต้นก็ยังโตนิดเดียวลวดลายก็ยังไม่ถึงขั้นสวยงาม แต่มีผลทางใจอย่างมากเพราะเป็นไม้โปรดต้นแรก ๆ ของผู้เขียนเมื่อครั้งเริ่มเลี้ยงก็ว่าได้

Advertisement

Advertisement

แอสโตรไฟตัมหมวกสังฆราชต้นต่อมาเป็น แอสโตรไฟตัม อีกเช่นกัน ต้นนี้เรียกแบบไทย ๆ ว่า หมวกสังฆราช เป็นไม้โตค่อนข้างช้าแต่มีดอกโตสวยงามมากทีเดียว ในกระถางนี้ต้นเล็กเป็นไม้ที่สะสมมานานกว่าหนึ่งปีอยู่ด้วย ส่วนต้นใหญ่ต้องบอกว่ารับมาตอนค่อนข้างโตมากแล้วเนื่องจากระยะหลังราคาของแคคตัสเริ่มถูกลงจึงได้ต้นใหญ่มากขึ้นในราคาสบายกระเป๋า คงเป็นเพราะมีผู้เพาะเลี้ยงมากขึ้น พ่อค้าบางรายก็นำเข้าจากต่างประเทศทำให้ผู้ซื้อสามารถเลือกได้มากขึ้นในราคาที่จับต้องได้ง่ายขึ้นด้วย กระถางที่ผู้อ่านเห็นในภาพเป็นไอเดียจัดไม้รวมกระถางเดียวกันด้วยไม้ลักษณะใกล้เคียงกันดูแล้วสบายตาสบายใจมากเลยทีเดียว ผู้อ่านสนใจนำไปจัดให้น้อง ๆ แคคตัสที่บ้านบ้างก็ยินดีอยากให้มีความสุขกับการปลูกเลี้ยงไปด้วยกัน

ไม้สะสมอีกต้นคือแผงคอม้าไม้สะสมอีกต้นที่มีเสน่ห์มากมายอยากแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักคือ แผงคอม้า ต้นนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Uebelmannia pectinifera เป็นแคคตัสที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศบราซิล แถบพื้นที่เป็นหินแห้งแล้งว่ากันว่าเป็นพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ แผงคอม้าจึงเป็นไม้ที่มีราคาค่อนข้างสูง และยังมีจำนวนไม่มาก ด้วยการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ก็ทำได้น้อยที่สำคัญค่อนข้างโตช้ามาก ต้นนี้ผู้เขียนเพิ่งรับมาใหม่ในราคาที่ตัดสินใจเลือกอยู่นานกว่าจะได้มาครอบครองเป็นแผงคอม้าต้นที่สองที่มีขนาดโตกว่าต้นแรกที่เลี้ยงมาประมาณสิบเดือน ถ้าผู้อ่านสังเกตสีของหนามสองต้นนี้จะมีความแตกต่างกันคือ ต้นเล็กหนามเป็นสีน้ำตาลแดง และต้นโตกว่าหนามเป็นสีขาวปนดำ ลักษณะหนามไม่กางออกแต่เรียงชิดเป็นแผงตลอดสันพูคล้ายขนที่คอม้า จึงเป็นที่มาของชื่อ แผงคอม้า นั่นเอง เป็นไม้เท่ห์และดูสง่างามมากจัดเป็นไม้ต้นโปรดมากอีกต้นของผู้เขียนที่รักและภูมิใจมาก

Advertisement

Advertisement

แมมมิลาเรียดอกสีหวานสำหรับคนที่ชอบความสวยละมุนของดอกน่ารัก ๆ ก็มีให้เลือกมากมายหลายสายพันธุ์ถ้าให้ผู้เขียนบรรยายคงไม่รู้จบ เอาเป็นว่าถ้าผู้อ่านสนใจลองศึกษาข้อมูลดูจากเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย พิจารณาอย่างเต็มที่เลือกจนพอใจ แนะนำให้ศึกษาทำความรู้จักต้นที่เราสนใจให้เข้าใจถ่องแท้สักนิดจะช่วยให้การตัดสินใจและการเลี้ยงแคคตัสของเราสนุกและมีความสุขมากขึ้น การเสียใจจากการจากไปของไม้ที่เราเลือกก็จะน้อยลง ตัวอย่างภาพดอกสวย ๆ หวาน ๆ ที่นำมาให้ชมกันเป็นสายพันธุ์แมมมิลลาเรีย ซึ่งมีมากมายหลายชนิดมีลักษณะดอกและสีที่แตกต่างกัน ต้องลองศึกษาดู ผู้เขียนได้นำประสบการณ์ที่มีมาแบ่งปัน สำหรับคำถามที่ว่า "ทำไมใคร ๆ ก็หันมาเลี้ยงแคคตัส" "ทำไมเลี้ยงแล้วจึงหลงรัก" คำตอบก็น่าจะอยู่ที่ ความชอบความชื่นใจที่ได้เลี้ยง ความภูมิใจที่เลี้ยงแล้วเห็นเค้าเติบโตแม้บางต้นจะยังไม่เคยมีดอกให้เห็น แต่คนเลี้ยงก็เต็มใจที่จะดูแลและเฝ้ารอ แบบที่บางคนใช้คำว่า "ส่องกันได้ทุกวัน" ทั้งหมดนี้คงพอเป็นคำตอบให้เข้าใจได้บ้างไม่มากก็น้อย ผู้อ่านอ่านแล้วมีต้นไหนโดนใจอย่าลืมส่งข่าวให้ทราบบ้าง ขอให้สุขใจทั่วกันทั้งคนเลี้ยงและคนยังไม่ได้ตัดสินใจเลี้ยงแคคตัสในวันนี้

ขอขอบคุณ : ภาพปกจาก canva ภาพทุกภาพในบทความเป็นของผู้เขียนเอง T.Pannee

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
TPannee
TPannee
อ่านบทความอื่นจาก TPannee

ครูเกษียณโรงเรียนเอกชนของจังหวัดเชียงใหม่ เกษียณงานปีการศึกษา2562 ประสบการณ์สอนและดูแลเด็กประถมศึกษา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์