ไลฟ์แฮ็ก
ก้าวข้าม 6 เหตุสร้างความขัดแย้ง
การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นสังคม อาจมีสาเหตุแห่งความขัดแย้ง ที่ก่อให้เกิดความกระทบกระทั่งกัน หากเรามีวิธีคิดที่เป็นบวก ต่อสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่ในความเป็นปกติของคน ย่อมมีการปะทะกันทางความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องรู้จักสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิดขึ้น
เครดิตภาพของ qimono จาก pixabay
6 สาเหตุสำคัญ ที่สร้างความขัดแย้งให้กับผู้คน มีดังนี้
สาเหตุที่ 1 ความคิดเห็นต่างกัน เพราะบุคคล มีความแตกต่างกันทางประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ตามสถานการณ์ในขณะนั้น จึงทำให้เกิดความขัดแย้งจากความคิดเห็นที่ต่างกัน
สาเหตุที่ 2 ผลประโยชน์ โดยความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่มีต่อกัน เมื่อผลประโยชน์ไม่ลงตัว ตามความรู้สึกที่เหมาะสมกับความต้องการ ก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง
Advertisement
Advertisement
สาเหตุที่ 3 ความเชื่อ ซึ่งธรรมชาติของบุคคล ย่อมมีความเชื่อแตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องศาสนา การเมือง หรือ ชาติพันธุ์ ที่มีความคิดเห็นต่อเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เป็นพิเศษ ซึ่งทั้ง 3 เรื่องที่ระบุมา เป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งที่มีอิทธิพลมาจากความเชื่อที่ยากจะเปลี่ยนแปลง
เครดิตภาพของ geralt จาก pixabay
สาเหตุที่ 4 ค่านิยม โดยสิ่งนี้ ก็มีผลทางความรู้สึกนึกคิดของบุคคล เป็นส่วนมาก เพราะค่านิยม เป็นสิ่งชี้นำทางสังคม เช่น ค่านิยมทางวัตถุ สำคัญกว่าค่านิยมทางจิตใจ เมื่อมีค่านิยมต่างกัน ก็นำไปสู่ความขัดแย้งได้
สาเหตุที่ 5 อคติ หรือความลำเอียง โดยมีความลำเอียงเพราะรัก เพราะโกรธเกลียด และเพราะความโง่เขลา ซึ่งความลำเอียง เป็นความไม่ยุติธรรมทางความรู้สึกที่ถูกแสดงออก จนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียผลประโยชน์ จนนำไปสู่ความขัดแย้งได้ในที่สุด
Advertisement
Advertisement
สาเหตุที่ 6 ความต่างระหว่างวัย ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างอายุของบุคคล ที่มีประสบการณ์ พื้นเพ และความคิดอ่านต่างกัน เมื่อมีช่องว่างระหว่างวัย ก็มีความเหลื่อมล้ำในการยอมรับระหว่างกัน จนทำให้เกิดความขัดแย้ง
เครดิตภาพของ geralt จาก pixabay
สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราพบเจอได้เสมอในชีวิตประจำวัน ซึ่งวิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้ง 6 สาเหตุ จะต้องเริ่มต้นจากการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อรับฟังซึ่งกัน และใช้สติปัญญาพิจารณา ว่าสิ่งที่ขัดแย้งนั้น เมื่อกลายเป็นปัญหาขึ้น จะก่อโทษหรือให้ผลประโยชน์มากกว่ากัน เมื่อได้คำตอบที่แจ่มชัดแล้ว ก็ปฏิบัติต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ และไม่ใช่ความขัดแย้งเป็นเครื่องมือในการรุกรานผู้อื่น พร้อมทั้งรู้จักก้าวข้ามสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเหล่านี้ เพื่อความสุขในชีวิต
Advertisement
Advertisement
เครดิตภาพของ antranaias จาก pixabay
ความคิดเห็น