รีเซต

ไลฟ์แฮ็ก

ข้างห้องเสียงดังไม่เกรงใจเลย! เราจะทำไงดี

12.4k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ข้างห้องเสียงดังไม่เกรงใจเลย! เราจะทำไงดี

สวัสดีจ้าทุกคน...ผู้เขียนจะมาเขียนบทความเกี่ยวกับเพื่อนที่ไม่พึงปรารถนา เช่น "คนข้างห้อง" อยากจะถามทุกคนว่า ใครมีประสบการณ์คนข้างห้องชอบส่งเสียงดังบ้างคะ? ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับข้างห้องรบกวน ไม่ว่าจะเวลานอน หรือเวลาอยากอ่านหนังสือเงียบ ๆ ก็ต้องมาหงุดหงิดกับคนกลุ่มนี้ทุกที คำว่า "ถ้อยทีถ้อยอาศัย" อาจจะไม่ได้ผลในบางคนก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะเป็นตอนกลางคืนที่โดนรบกวนที่สุด รบกวนจนไม่ชอบขี้หน้าเลยก็มีจ้า เอาล่ะจะมาแนะนำวิธีจัดการข้างห้องชอบเอะอะโวยวาย ส่งเสียงดังได้ดังนี้นะคะ

.Credit pic : pixabay

มันจะดูเหมือนเรื่องหยุมหยิม จิ๊บจ๊อยมาก แต่ก็สร้างความไม่ชอบ ความไม่พอใจได้ทุกเมื่อ หลายคนเกลียดขี้หน้ากันเพราะเสียงดังรบกวนผู้อื่น จึงไม่พ้นเรื่องการเอาเพื่อนหออื่นมานอนส่งเสียงดัง คุยโทรศัพท์เสียงดังแทบทุกวันบ้าง บางคนเจอคำด่าอะไรไม่รู้ ไม่รู้ว่าด่าใครกัน จนทำให้เริ่มไม่ชอบในสิ่งที่เขาทำ บางทีแม้แต่มีเสียงนี้ได้ยิน แล้วทำให้ตัวเรากลายเป็นเกลียด ณ ตอนนั้นเลยก็ว่าได้ เอาล่ะ...มาดูวิธีการจัดการคนเหล่านั้นเลยค่ะ

Advertisement

Advertisement

.Credit pic : pixabay

How to จัดการคนข้างห้องเสียงดัง

1. เคาะประตูห้องปรามก่อน

ในกรณีที่ส่งเสียงดังในห้องก็เคาะประตู บอกอย่างสุภาพว่า "ลดเสียงด้วยนะ...คนจะนอนแล้ว" ดูซิว่าจะเงียบไหม ถ้าเงียบแสดงว่าเขายังมีความเกรงใจในโซนของเราอยู่ และเกรงใจในส่วนรวมแค่ไหน ถ้ายังเสียงดังต่อนั่นแปลว่า เขาไม่เกรงใจเลย งานนี้เห็นทีคงต้องคุยกันยาวแล้วล่ะ

.Credit pic : pixabay

2. ดูวันพรุ่งนี้ก่อน

ตอนนี้สังเกตท่าทีของคนรบกวนว่าจะสงบลงบ้างไหม ถ้าพรุ่งนี้หรือวันอื่น ๆ เงียบเสียงลงบ้าง แสดงว่าเขายังมีความเกรงใจอยู่ แต่ถ้าเงียบแป๊บเดียวแล้วเสียงดังมากกว่าเดิม อันนี้คงต้องคุยกันหน่อยล่ะ เพราะมันไม่ไหวแล้วนะ แต่ทั้งนี้เราต้องอดทนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเรื่องหยุมหยิม อ่อนได้อ่อนข้อให้กันบ้าง อย่าเพิ่งงัดข้อในขณะที่เขาทำผิดครั้งเดียว ต้องดูท่าทีเขาก่อน ว่าเขาจะรู้สึกเกรงใจบ้างไหม

Advertisement

Advertisement

3. บอกกับเพื่อนร่วมห้องอีกคน

ไม่ว่าจะส่งเสียงดังคนเดียว หรือชอบปาร์ตี้ในห้องเอะอะโวยวาย จนเรารู้สึกว่า ไม่ไหวกับห้องนี้แล้ว...จะทำยังไงดี? ลองปรึกษาเพื่อนอีกห้องหนึ่งดูในเรื่องพฤติกรรมห้องที่เป็นคู่กรณี อย่างน้อยมีคนปรับทุกข์ให้เราบ้างก็ยังดี หรือให้เพื่อนสอดส่องพฤติกรรมคนนี้ช่วยห้ามอีกแรง ช่วยสอดส่องดูพฤติกรรมชอบรบกวนยังได้เลย

.Credit pic : pixabay

4. เตือนแล้วยังทำอีก

อย่าให้ถึงขั้นด่ากันเลย ถ้ามีเบอร์โทรเจ้าของหอ โทรไปบอกได้เลยว่า รับไม่ไหวกับห้องนี้แล้ว เสียงดังไม่หยุด ไม่รู้จะเอะอะโวยวายอะไรนักหนา น่ารำคาญมาก ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของหอ หรือผู้ดูแลหอจัดการ อันนี้ขอให้เป็นไม้ตายสุดท้ายถ้าเหลืออดจริง ๆ ก็แจ้งไปเลยมันเป็นสิทธิ์ของเรา เพราะเราเป็นผู้อาศัยก็ควรได้รับความสงบเหมือนกัน

5. อย่าวู่วาม! โดยพลการ

Advertisement

Advertisement

อันนี้ถือว่าอันตรายมาก เพราะคนที่มาอาศัยล้วนร้อยพ่อพันแม่กันทั้งนั้น เราไม่รู้ว่านิสัยคนที่ไม่ชอบเขาจะทำยังไง บางทีอาจจะคนเดียวหรือหมาหมู่ เขาพร้อมเอาคืนได้เสมอ ฉะนั้นอย่าเพิ่งโวยวายใครด้วยตนเองเด็ดขาด ดีไม่ดีจะเขม่นกันเอง พลอยจุดชนวนให้ทะเลาะวิวาทกันได้ง่าย ๆ คุยกับเจ้าของหอ หรือคนดูแลหอที่เป็นผู้ใหญ่ช่วยจัดการขั้นเด็ดขาดสักที จะได้ไม่ต้องรบกวนคนอื่นเขาอีก

.Credit pic : pixabay

ความเกรงใจไม่ใช่แค่สมบัติของผู้ดี ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ควรจะมีติดตัวบ้าง จะทำอะไรนึกถึงใจเขาใจเราก็ยังดี แม้ว่าการที่มาอยู่ในห้องที่มีความส่วนตัว มันก็เหมือนมีโลกอีกใบของตนก็จริง แต่เวลาจะทำอะไรควรจะเกรงใจบ้าง ว่าเขาเองก็รำคาญ หงุดหงิดเหมือนกัน ไม่โอเคด้วยถ้ามาเอะอะโวยวาย รบกวนคนอื่น แม้ว่าจะมีความสุขในโลกของตน ไม่ว่าจะโลกส่วนตัว หรือโลกที่มีเพื่อน อย่าลืมว่าที่นี่ไม่ใช่บ้านคุณที่จะทำตามอำเภอใจได้ จะเสียงดังอะไรคิดให้มันยาว ๆ อย่าคิดแค่สั้น ๆ ว่าก็ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ก็ทำให้คนอื่นเดือดร้อนได้ ฉะนั้น...อยากให้มองย้อนกลับว่าถ้ามีคนส่งเสียงดังใส่กลับมาแบบที่ไม่ชอบเลย คุณจะรู้สึกยังไง เราไม่ชอบแบบไหน เราก็ไม่ควรทำในสิ่งที่เขาไม่ชอบ...จริงไหม :)


Credit pic ภาพปก : pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์