อื่นๆ
คุณจะเป็นไหม? Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร เห็นทีจะเสื่อความขลังลงเรื่อย ๆ หลังจากที่ข่าวคนทำงานหนักจนตายถูกนำเสนอออกมาอยู่เสมอ ที่สะเทือนใจในวงกว้างเห็นจะเป็นหมอ! ข่าวแพทย์ประจำโรงพยาบาลลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดูแลคนไข้ไม่ได้พักจนล้มป่วย ปอดติดเชื้อ เสียชีวิต ทำเอาชาวบ้านใจหายไม่น้อย จากนั้นในโรงพยาบาลชนบทแห่งหนึ่งแพทย์หญิงวัย 25 ก็ทำงานติดต่อกัน 72 ชั่วโมง ไม่มีพัก กระทั่งภูมิต้านทานอ่อนแอ ติดเชื้อจากคนไข้ และเสียชีวิตในที่สุด ทราบไหมว่า การทำงานหนักจนเสียชีวิตก็เป็นอีกโรคหนึ่งเช่นกัน นั่นคือ Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย
Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย
Karoshi อ่านว่า “คาโรชิ” เป็นคำญี่ปุ่น แน่นอน ต้นเหตุมาจากญี่ปุ่น แต่ไม่ใช่โรคติดต่ออย่างโควิด-19 เพราะโรคนี้ไม่ได้ติดต่อทางไวรัส แต่ติดต่อทางภาวะตึงเครียด และบ้างาน บางคนจึงเรียก Karoshi Syndrome ว่า “โรคบ้างาน”
Advertisement
Advertisement
Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย เริ่มรู้จักกันมากขึ้นหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ญี่ปุ่นแพ้สงคราม และเสียเงินจำนวนมาก ฉะนั้นต้องฟื้นฟูประเทศอย่างหนักหน่วง คนญี่ปุ่นจึงมีค่านิยมทำงานหนักเพื่อชาติ ทำงานหนักจนตายหลายคน กรณีที่ฮือฮา คือ มิวะ ซาโดะ ผู้สื่อข่าวสาววัย 31 หัวใจล้มเหลวตาย เพราะทำงานหนักราว 159 ชั่วโมง
Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย ไม่ได้มีเพียงเสียชีวิตเพราะอดหลับอดนอนเท่านั้น แต่ยังมาจากการฆ่าตัวตาย เพราะเครียดและจริงจังกับงานจนเกินไปด้วย ฉะนั้นจึงมีถูกแบ่งเป็น 2 แบบ
- ทำงานจนหัวใจวายตาย
- ฆ่าตัวตายเพราะเครียด เพราะกดดัน เพราะจริงจังกับงานเกินไป
ภาพโดย StartupStockPhotos จาก Pixabay
Karoshi Syndrome กับทางสายกลาง
Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย นับวันจะขยายไปทั่วทุกส่วนของโลก และทุกอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่อาชีพที่หลายคนคิดว่าน่าจะทำอย่างมีความสุขอย่างดนตรี มีตัวอย่างการเสียชีวิตของนักดนตรีเช่นกัน เป็นชายไทยวัย 62 เป่าปี่พาทย์ ในงานศพ 5 วันติดกันจนล้มลงหมดสติ และเสียชีวิต
Advertisement
Advertisement
จากทั้งข่าวของแพทย์ ของนักข่าว กระทั่งคุณลุงนักดนตรี เราจะเห็นว่า Karoshi Syndrome เป็นผลมาจากสุขภาพร่างกายเป็นหลัก ลุงนักเป่าปี่อาจมีเรื่องชราเข้ามาผสม คนหนุ่ม ๆ อย่างหมอและผู้สื่อข่าว แน่นอนว่าโหมงานหนักเกินไป จนร่างกายอ่อนแอ เมื่อร่างกายอ่อนแอย่อมเปรียบเหมือนกำแพงต้านเชื้อโรคพังทลาย โรคต่าง ๆ จึงเข้าจู่โจมได้โดยง่าย
นอกจากส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และจิตใจตึงเครียดจนลามไปสู่การฆ่าตัวตายแล้ว Karoshi Syndrome ยังทำให้เกิดโรคนอนน้อยตามมาด้วย ก็คุณเล่นบ้างานไม่หลับไม่นอนนี่ ฉะนั้นไม่ว่าอาชีพใดหากทำงานไม่พักละก็ มีสิทธิ์ตายเพราะงานหนักเท่าเทียมกัน ไม่เว้นแม้แต่ฟรีแลนซ์ไส้แห้ง
ฟรีแลนซ์ไส้แห้ง หมายถึง คนทำงานอิสระที่งานไม่เข้าวิ่งชน แต่คนเราไม่มีงานเลยย่อมไม่ถูก ฉะนั้นกลุ่มเหล่านี้จะมีงานมานาน ๆ ครั้ง มาแล้วก็ตะบี้ตะบันสะสาง เพื่อแสดงศักยภาพ ไม่หลับไม่นอน ช่วงเวลานี้แหละที่จะเป็น Karoshi Syndrome ได้
Advertisement
Advertisement
ผลกระทบของการนอนน้อย ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า มี โรคมะเร็งลำไส้, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคเบาหวาน, ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ, นอนไม่หลับเรื้อรัง, สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง และ อารมณ์แปรปรวนง่าย
ด้วยภาวะการแข่งขันสูงของยุค 4.0 อาจจะเลี่ยงความเข้มงวดทุ่มเทหนัก ๆ ไม่ได้ มามัวทำงานแบบเรื่อย ๆ เอื่อย ๆ คงตกขบวน แต่ Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตายนั้นไม่สนหรอกว่า เราจะทำงานหนักเพราะเหตุใด ฉะนั้น ต่อให้ทำงานหนักเพียงไร ต้องยึดหลักทางสายกลางเข้าไว้ ทางสายกลางในที่นี้ ไม่ใช่นั่งสมาธิ แต่ต้องเป็นกลาง ทำงานมาก ต้องพักให้พอ, งานยังต้องเครียร์ เดี๋ยวไม่ทันส่ง จะพักอย่างไร ทำได้โดยกำหนดตารางในแต่ละวันขึ้นมา งาน A ส่งเวลานี้ / เวลานี้พัก / แล้วมาทำงาน B ต่อ รักษาวินัยให้ตัวเอง เราจะมีเวลาพักผ่อนระหว่างงาน และที่สำคัญอย่าเครียดกับงานมาก หากสมองตัน ให้พักทันที ขอให้ยึดคติว่า เครียด นั่งหน้ากองงานไปก็ไม่ช่วยให้คิดออก นั่ง 3 ชั่วโมงไม่เกิดผล สู้เดินเล่น 1 ชั่วโมง แล้วคิดวิธีแก้ไขออกไม่ได้
ภาพโดย kaboompics จาก Pixabay
Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย ไม่ใช่โรคเล่น ๆ ขำ ๆ ทุกท่านมีสิทธิ์เป็นได้ แม้จะนั่งเล่นเกมก็มีโอกาสปะทะกับโรคนี้ ฉะนั้นงานหนักแค่ไหน ก็อย่าลืมพักผ่อนกันให้พอนะ
อ้างอิง
ความคิดเห็น
