ไลฟ์แฮ็ก
จดอะไรใน PLANNER : แนะนำ PLANNER สำหรับนักจดมือใหม่

ในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็เน้นความ productive ทำให้ planner กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ตลาด planner คึกคักมาก จาก planner ที่เป็นเล่มหนาๆ ดูเคร่งขรึมเป็นทางการ เห็นแล้วไม่น่าดึงดูดใจ ถูกพัฒนาให้มีรูปแบบสีสันลวดลายน่ารักน่าใช้ยิ่งขึ้น ถึงขั้นกลายเป็น digital planner ที่ตอบโจทย์ของผู้ใช้ตามยุคสมัย นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน เจ้าของธุรกิจ บุคคลที่ประสบความสำเร็จหันมาใช้ planner กัน เพราะมันเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราใช้ชีวิตและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอย่างเห็นผล
ทุกคนคงรู้จักสมุด planner แต่มีไม่กี่คนที่จะใช้สมุด planner ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจังจนเกิดประโยชน์สูงสุด บางคนได้มาเป็นของขวัญแล้วก็วางทิ้งไว้อย่างนั้น บางคนไม่รู้วัตถุประสงค์ในการใช้ ไม่รู้จะจดอะไร ใช้ไปไม่กี่วันก็เลิกจด เราเลยอยากจะชวนนักจดมือใหม่ที่ยังลังเลสงสัย มาทำความรู้จัก planner กันอีกครั้ง มาดูว่า planner มีดียังไง คนที่ชอบจด planner เขาจดอะไรกัน บางทีอาจจะได้แนวคิดใหม่ๆ ไปลองปรับใช้และเลือก planner ได้เหมาะกับตัวเองยิ่งขึ้น
Advertisement
Advertisement
planner เป็นเครื่องมือที่ใช้วางแผน จัดระเบียบเวลาเเละความคิด ทำให้เราก้าวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการง่ายขึ้น
สิ่งที่มักจะจดลงใน Planner
- เป้าหมาย
- ตารางเวลา/การนัดหมาย/วันสำคัญ
- รายการสิ่งที่ต้องทำ
- บันทึกเรื่องราวต่างๆ เพื่อกันลืม
- ไอเดียใหม่ๆ
planner มีหลากหลายรูปแบบมาก ทั้งประเภทสำเร็จรูปเเละเขียนขึ้นเอง อีกทั้งมีแบบรายปี รายเดือน รายวัน เล่มเล็ก เล่มใหญ่ น้ำหนักมาก น้ำหนักเบา วัสดุราคาต่างกันไป เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบและตรงกับความต้องการใช้งาน บางคนชอบเป็นรายเดือน เล่มเล็ก พกติดตัวในกระเป๋าถือได้ บางคนจดเยอะ จดละเอียดอาจจะชอบเป็นรายวัน บางคนอาจจะมีหลายเล่ม หลายแบบไว้จดแยกงานกับส่วนตัว บางคนนำสมุดเปล่ามาออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง แม้จะมีความแตกต่าง แต่โดยทัั่วไปแล้วรูปแบบหลักของ planner มีดังนี้
Advertisement
Advertisement
Yearly แผนรายปี
- เป็นการเขียนเป้าหมายของปีโดยสรุป เพื่อให้เราเห็นภาพรวมทั้งปีว่าในแต่ละเดือนมีเป้าหมายหลักอะไร หรือการจะไปให้ถึงเป้าหมายหลักของปี ในแต่ละเดือนต้องทำอะไร เช่น เป้าหมายหลักของปี คือ ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 3 เดือน 1) เป้าหมายเดือน ก.พ. ลดนำหนักให้ได้ 1 กิโลกรัม 2) เป้าหมายเดือน มี.ค. ลดน้ำหนักให้ได้ 2 กิโลกรัม 3) เป้าหมายเดือน เม.ย. ลดน้ำหนักให้ได้ 1 กิโลกรัม
- บางเล่มอาจจะมีให้เขียนเป็นวัน ซึ่งเราสามารถลาก timeline หากเป็นโครงการที่ใช้ระยะเวลานาน หรือจดวันสำคัญต่างๆ ลงไปได้
- ช่วยให้เรามองเห็นภาพในระยะยาว เพื่อเตรียมวางแผนในระยะสั้นต่อไป
การตั้งเป้าหมาย
- เป้าหมายของปีไม่จำเป็นต้องมีเยอะ มีน้อยข้อไม่เป็นไร แต่ขอให้ตั้งใจทำให้สำเร็จ
- สิ่งสำคัญในการตั้งเป้าหมาย คือ เป้าหมายจะต้องวัดผลได้ มีความเป็นไปได้ มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ขอให้เลิกกำหนดเป้าหมายที่เป็นประโยคลอยๆ ติดตามผลไม่ได้และเห็นผลไม่ชัด เช่น 1) จะเก็บเงินให้เยอะขึ้น เปลี่ยนเป็น เก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท ภายในสิ้นปี 2) จะออกกำลังกายมากขึ้น เปลี่ยนเป็น ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที 3) จะช็อปปิ้งน้อยลง เปลี่ยนเป็น ช็อปปิ้งออนไลน์ได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท
- เมื่อเขียนเป้าหมายเเล้ว ต้องมีการติดตามทบทวนอย่างต่อเนื่องว่ามีการทำตามเเผนที่วางไว้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร
- คนที่เขียนเป้าหมายให้เห็นชัดเจน มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่ได้เขียนเป้าหมายออกมา
Advertisement
Advertisement
Monthly แผนรายเดือน
- เห็นภาพรวมของทั้งเดือนว่าวันไหนต้องทำอะไรบ้าง มีกิจกรรม มีการนัดหมายอะไร
- กิจกรรมที่ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะต้องทำให้ชัดเจน ทำวันไหนก็ได้ภายในเดือน อาจจะเขียนไว้เป็น to do list ตรงที่ว่าง
- มือใหม่มักจะเริ่มต้นด้วยการใช้ Monthly Planner เพราะทำได้ง่าย ทุกคนคุ้นเคย คล้ายกับการเขียนบันทึกลงในปฏิทิน
Weekly แผนรายสัปดาห์
- เห็นภาพรวมของ 7 วันใน 1 สัปดาห์ ในระดับที่ลงรายละเอียดว่าแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง
- เน้นการวางแผนระยะสั้น บริหารจัดการงานและเวลาภายใน 7 วัน
- อาจจะทำเป็น checklist เมื่อทำงานไหนสำเร็จก็ tick หรือขีดฆ่าไปทีละข้อ วิธีนี้ช่วยให้มีกำลังใจมากขึ้น
- เมื่อไต่ระดับจากมือใหม่ขึ้นมา แบบนี้เป็นที่นิยมมาก
Daily แผนรายวัน
- ระดับละเอียดที่สุด เหมาะกับคนกิจกรรมแน่น หรือชอบจดเยอะ ระบุรายชั่วโมงในแต่ละวันเลยว่าต้องทำอะไร
- สามารถใช้เป็น diary ไปด้วยได้เลยในตัว พื้นที่ในแต่ละวันค่อนข้างเยอะ จดทุกอย่างที่อยากจดใน 1 วัน
- รูปเล่มจะค่อนข้างหนากว่า planner แบบอื่น เนื่องจากมีจำนวนหน้าเยอะ
- ตกแต่งเพิ่มเติม แปะรูปประกอบได้สะดวก
Note หน้ากระดาษเปล่าสำหรับจดจิปาถะ
- สามารถใช้จดอะไรก็ได้ตามความต้องการ
- ทำ Habit Tracker เพื่อติดตามพฤติกรรมของเราว่าได้ทำอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ เช่น ตั้งใจว่าจะดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรทุกวัน จากนั้นก็คอยจดบันทึกในแต่ละวันว่าเราได้ดื่มน้ำครบ 2 ลิตรหรือไม่ เมื่อครบระยะเวลาหนึ่งก็มาดูผลว่า เราทำได้ดีกว่า/ต่ำกว่าที่ตั้งใจไว้ และต้องทำอย่างไรจึงจะได้ตามเป้าหมายหรือรักษาระดับนั้นต่อไป
- ทำ Mood Tracker จดบันทึกความรู้สึกโดยรวมในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร ดีใจ เสียใจ เศร้า สนุก เครียด โกรธ เพื่อดูภาพภายในจิตใจของเรา เช่น ช่วงไหนที่บันทึกแต่ความรู้สึกเครียดเยอะ อาจจะต้องหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลาย
- บันทึกหนัง ซีรีส์ที่ดู / หนังสือที่อ่าน / คลาสที่เรียน
- ทบทวนตัวเองในแต่ละเดือนว่าเป็นอย่างไร มีสิ่งไหนที่น่าชื่นชมหรือสิ่งไหนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
- จดไอเดียใหม่ๆที่เกิดขึ้น เพื่อต่อยอด
- จดคำพูดที่เสริมสร้างแรงใจ
เป็นยังไงกันบ้างกับการทำความรู้จัก planner เบื้องต้น ดูไปแล้วก็ไม่ได้จำเจอย่างที่คิด หลายคนคงอยากหันมาลองเขียน planner กันบ้างแล้ว ครั้งต่อไปไว้จะมาแนะนำ planner ซึ่งเป็นที่นิยมให้รู้จักกัน รวมทั้งแชร์เทคนิคในการจด planner ให้ดูไม่น่าเบื่อ จะได้ติดใจจดกันไปยาวๆ
เครดิตภาพ :
ภาพปกและภาพประกอบทุกภาพโดยมามะหนูหนู (ผู้เขียน)
อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์
ติดกระแส
บันเทิง
รีวิว โหมโรง เดอะมิวสิคัล ๒๕๖๘ ละครเวทีสุดขนลุกที่ปลุกจิตวิญญาณไทยให้ตื่นอีกครั้ง! #WSMay

WCKIWI
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
ข้อตกลงและเงื่อนไข|Copyright © True Digital & Media Platform Company Limited. All rights reserved
ติดกระแส
บันเทิง
รีวิว โหมโรง เดอะมิวสิคัล ๒๕๖๘ ละครเวทีสุดขนลุกที่ปลุกจิตวิญญาณไทยให้ตื่นอีกครั้ง! #WSMay

WCKIWI