ไลฟ์แฮ็ก

ทำซอด้วยงบหลักร้อย

3.8k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำซอด้วยงบหลักร้อย

เด็กไทยกับดนตรีไทยนั้นนับวันยิ่งมีช่องว่างห่างกันไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่เพราะดนตรีไทยเล่นยาก ไม่ใช่เพราะเด็กไทยไม่รักความเป็นไทย แต่เพราะดนตรีไทยในปัจจุบันนั้นมีราคาสูงเกินกว่าเด็กจะเอื้อมถึง ครั้นจะให้ผู้ปกครองซื้อให้ก็ไม่มั่นใจว่าจะกระตือรือร้นกับการเล่นได้นานสักแค่ไหน

จะดีกว่าไหมหากเครื่องดนตรีไทย สามารถทำได้ด้วยงบประมาณไม่กี่ร้อยบาท แต่คุณภาพเสียงนั้นทัดเทียมกับเครื่องดนตรีไทยหลักพันได้อย่างสบาย ๆ บทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอการทำซอด้วยงบหลักร้อย ทำง่าย ใช้ได้จริงมาฝากเด็กไทยที่หัวใจรักในเสียงดนตรีกัน

อุปกรณ์

ทำซอกระป๋อง

กาวร้อน-เพื่อติดเอ็นคันชัก

เส้นเอ็น-ใช้ 1 ม้วนเพื่อทำคันชัก และควรเป็นเอ็นตกปลา(แบบไม่ยืด) ขนาด 0.25

ไม้ไผ่-ใช้สำหรับทำคันชัก และสำหรับทำทวนซอ

สายกีต้าร์-ใช้เป็นสายซอ โดยใช้สาย 1 กับ สาย 2 ของกีตาร์โปร่ง

Advertisement

Advertisement

ยางสน-ใช้ถูกับเอ็นคันชัก เพื่อให้มีความฝืด และทำให้เกิดเสียงเมื่อนำไปสีกับสายซอ

ลูกบิดซอ-หรือจะใช้ไม้ไผ่เหลาแทนก็ได้

หวี-ใช้จัดระเบียบเส้นเอ็น

กระป๋อง-ใช้เป็นกระโหลกซอแทนกะลา

ขั้นตอนการทำ

ทำซอกระป๋องก่อนอื่นควรทำทวนซอก่อน โดยใช้ไม้ไผ่ประมาณ 70 ซม.(กะตามความพอดีของมือผู้เล่น) หากไม้ไผ่สดให้ผึ่งแดดจนแห้งสนิทแล้วนำไปอังไฟเพื่อไล่ความชื้น จากนั้นค่อยเจาะส่วนบนของทวนเพื่อทำเป็นที่เสียบลูกบิด 2 จุด โดยห่างกับประมาณ 4-5 นิ้ว

ทำซอกระป๋องกระป๋องที่จะใช้ทำกะโหลกซอนั้น ให้เจาะรูกระป๋องให้ละทุหากัน ใช้สิ่วหรืออุปกรณ์เจาะอื่นใดก็ได้โดยวัดจากหน้าซอ หรือก้นกระป๋องประมาณ 1 นิ้วแล้วประกอบเข้ากับทวนซอ โดยเสียบทวนซอให้ละทุกระป๋อง

ทำซอกระป๋องคันชักทำจากไม้ไผ่ดัดโค้ง แล้วนำเส้นเอ็นมาทบกันให้ได้ 300-400 เส้น หวีจัดระเบียบไม่ให้เอ็นพันกัน จากนั้นขมวดปมด้านใดด้านหนึ่งแล้วหยอดกาวร้อนเพื่อไม่ให้เอ็นยุ่งเหยิง แล้วหวีจัดระเบียบอีกทีก่อนจะใช้เชือกมัดหัวท้ายประกอบเข้ากับคันชัก และห้ามลืมหยอดกาวร้อนเพื่อป้องกันการคลายตัวของเส้นเอ็น

Advertisement

Advertisement

ทำซอกระป๋อง

ร้อยสายกีต้าร์เข้ากับซอ โดยให้สาย 2 อยู่ด้านใน สาย 1 สอดเข้าไปอยู่ในคันชักของซอ ส่วนการผูกเอวซอนั้นทำได้ด้วยการใช้ด้ายนุ่มแบบใดก็ได้ ผูกบริเวณใต้ลูกบิดหนึ่งฝ่ามือ โดยมัดให้สายชิดเข้าไปข้างในทำขนาด 30-40 องศากับทวนซอ หมอนซอนั้นสามารถใช้ไม้ขนาดใดเหลาใส่ก็ได้ ปรับระดับเสียงให้ตรงกับโน้ต สายในเป็นเสียง “ลา” สายนอกเป็นเสียง “มี” นับว่าเป็นอันเสร็จ

นอกจากจะได้เครื่องดนตรีที่คงทน เสียงไพเราะในงบประมาณหลักร้อยแล้ว ผู้ทำจะรู้สึกภาคภูมิใจและรู้จักนำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นผลงาน

#ทุกภาพถ่ายโดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์