ข่าวสาร
ทำไมต้องหมักปุ๋ยก่อนนำไปใช้กับพืช ถ้าไม่หมักมีผลอย่างไร? อันตรายต่อพืชหรือไม่?
ทำไมต้องหมักปุ๋ยก่อนนำไปใช้กับพืช ถ้าไม่หมักมีผลอย่างไร? อันตรายต่อพืชหรือไม่?
ก่อนอื่นต้องบอกว่า การหมักปุ๋ย เป็นการทำเพื่อให้เกิดการย่อยสลายของวัสดุ ไปเป็นอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แล้วทำไมต้องหมักปุ๋ยก่อนนำไปใช้กับพืช ถ้าไม่หมักมีผลอย่างไร? อันตรายต่อพืชหรือไม่? บทความนี้มีคำตอบครับ
ทำไมต้องหมักปุ๋ย?
ประโยชน์ของการหมักปุ๋ย ในกระบวนการหมักจะเกิดความร้อนขึ้น ทำให้กำจัดเชื้อโรคและเมล็ดวัชพืชได้ โดยส่วนประกอบหลักในการหมักคือ คาร์บอน (ได้จากเศษวัสดุเหลือทิ้ง) ไนโตรเจน (ได้จากมูลสัตว์) ความร้อน (เกิดขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ทำงานในกระบวนการหมัก) ความชื้น (ได้จากตัววัสดุในเบื้องต้น ฝน และการเติมน้ำให้) อีกทั้งการหมักปุ๋ยจะเป็นการย่อยสลายคาร์บอนต่าง ๆ ให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
ถ้าไม่หมักมีผลอย่างไร? อันตรายต่อพืชหรือไม่?
Advertisement
Advertisement
- หากไม่มีการหมักก่อน แล้วเอาวัสดุหรือมูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักใส่ให้กับพืชโดย วัสดุเหล่านี้จะดึงธาตุไนโตรเจนจากพืชมาใช้ในกระบวนการหมัก ทำให้พืชมีสีเหลืองซีด ขาดธาตุไนโตรเจน จนกว่ากระบวนการหมักจะเสร็จสิ้น พืชจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ใส่ไว้ แต่ก็ใช้เวลานาน 2-3 เดือน และในเวลานั้นพืชอาจขาดสารอาหารหรือตายไปก่อนแล้ว
- เชื้อโรคและจุลินทรีย์ที่ไม่ดี เชื้อรา โรคพืช หรือเพลี้ยต่าง ๆ จะติดมากับมูลสัตว์หรือเศษพืช หญ้า ที่เรานำมาหมัก หากไม่ผ่านกระบวนการหมักซึ่งจะมีความร้อนที่สามารถทำลายเชื้อโรคเรานี้ได้ นอกจากพืชขาดไนโตรเจนแล้ว ยิ่งจะทำให้พืชได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ เข้ามา ทำให้พืชไม่โตได้นั่นเอง
- เกิดความร้อนแก่รากพืช ในกระบวนการหมักปุ๋ยสามารถเกิดความร้อนได้ถึง 60-70 องศาเซลเซียส ดังนั้นหากเราไม่หมักปุ๋ยให้เกิดการย่อยสลายให้หมดก่อน เอาใบไม้ใบหญ้าไปถมใส่พืชเลย จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความร้อน พืชอาจจะตายได้
Advertisement
Advertisement
หากจะดูว่ากองปุ๋ยหมักของเราเสร็จแล้วหรือยัง ดูยังไง?
หากจะดูว่ากองปุ๋ยหมักของเราเสร็จแล้วหรือยัง ใช้กับพืชได้หรือยัง ให้ดูที่สัดส่วน C:N หรือคาร์บอนต่อไนโตรเจน ซึ่งมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรกำหนดไว้ที่ 20:1 ต้องส่งวิเคราะห์ หรือจะดูที่อุณหภูมิกองปุ๋ยก็ได้ครับ หากอุณหภูมิยังสูงอยู่ ล่วงมือเข้าไปแล้วร้อน แสดงว่ายังไม่เสร็จ หากรู้สึกอุ่น ๆ แสดงว่าใกล้เสร็จแล้ว ถ้าหากไม่มีความร้อนเลย ถือว่าเสร็จสมบูรณ์ หรือจะดูอีกวิธีประกอบกัน คือกองปุ๋ยจะไม่มีกลิ่นเลย เวลาในการหมักส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 2 เดือน หรือ 60 วัน ก็เป็นปุ๋ยแล้วครับ
เห็นไหมครับ ว่าประโยชน์ของการหมักปุ๋ยนั้นมีความสำคัญมาก เกิดอันตรายต่อพืชได้หลายแบบ หากเราไม่หมักเสียก่อน ซึ่งผมเคยทำวิจัยและทดลองทำปุ๋ยหมักมาเยอะพอสมควร ซ่งผลที่ได้คือพืชไม่โทรม ไม่เหลือง พืชใช้ประโยชน์ได้ทันที ดังนั้นเราควรหมักปุ๋ยเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเศษพืชต่าง ๆ มูลวัว ปุ๋ยคอก ต้องผ่านการหมักก่อน ซึ่งผมทดลองใช้ระหว่างหมักกับไม่หมัก แน่นนอนครับว่าการหมักได้ผลดีกว่า เหมือนเราเอาอาหารปรุงสุกไปให้คนกิน คนก็กินได้เลย จึงขอฝากบทความนี้เผื่อเป็นประโยชน์แก่หลาย ๆ คนครับ
Advertisement
Advertisement
เครดิตภาพ
- ภาพปก: ภาพโดย Daina Krumins จาก Pixabay
- ภาพที่ 1: ภาพโดย NoName_13 จาก Pixabay
- ภาพที่ 2: ภาพโดย Manfred Antranias Zimmer จาก Pixabay
- ภาพที่ 3: ภาพโดย Daina Krumins จาก Pixabay
- ภาพที่ 4: ภาพโดย Joke vander Leij จาก Pixabay
เรื่องของปุ๋ย
- ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษอย่างที่ใคร ๆ กล่าวหา
- "ปุ๋ยอินทรีย์" กับ "ปุ๋ยชีวภาพ" แตกต่างกันอย่างไร หลายคนมักเข้าใจผิด
- ประเภทของปุ๋ยทางการเกษตร หน้าที่ต่างกันแต่ช่วยให้พืชงอกงามทันใจ
- วิธีทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ใช้เองง่าย ๆ ไม่ต้องกลับกอง ได้ผลดี ทำตามได้เลย
วิธีการขยายพันธ์และการดูแลพืช
- วิธีขยายพันธุ์เงินไหลมาด่างชมพูข้อเดียว
- วิธีขยายพันธุ์ต้นช้อนเงินช้อนทองโดยการควบแน่น
- บำรุงโขดชวนชมให้ใหญ่ โดยใช้สูตรนี้
#สูตรปุ๋ยหมัก#ปุ๋ยหมัก#ปุ๋ยอินทรีย์#ทำปุ๋ยใช้เอง#ปุ๋ยอินทรีย์มูลสัตว์#ปุ๋ยหมัก#เกษตรพอเพียง#เกษตรอินทรีย์#เกษตร#ปุ๋ยหมัก#ปุ๋ยหมัก#ปุ๋ยเร่งโต#ปุ๋ยหมัก#หมักใบไม้#ปุ๋ยอินทรีย์
อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
เล่าเรื่องราวประสบการณ์ ท่องเที่ยว ทำอาหาร และการเกษตร
ความคิดเห็น