ไลฟ์แฮ็ก

มาดูเทคนิคและเคล็ดลับการเป็น "ติวเตอร์" ฟรีแลนซ์ และวิธีการหาลูกค้า

1.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
มาดูเทคนิคและเคล็ดลับการเป็น "ติวเตอร์" ฟรีแลนซ์ และวิธีการหาลูกค้า

ปัจจุบันอาชีพ "ติวเตอร์" ก็เป็นอาชีพนึงที่มีรายได้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ก่อนอื่นอยากให้ทราบก่อนว่าติวเตอร์มีแขนงการสอนในด้านต่าง ๆ ดังตัวอย่างเช่น ติวเตอร์สอนวิชาการต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมและจนถึงระดับมัธยม (ซึ่งมีเยอะมาก) ติวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (ติวเตอร์ด้านนี้ก็อาจจะสอนวิชาระดับพื้นฐานเช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี บัญชีพื้นฐาน สถิติพื้นฐาน ไปจนวิชาเฉพาะของแต่ละคณะ แต่ละสาขาวิชา) ติวเตอร์ด้านการลงทุนเช่น ติวเตอร์ forex ติวเตอร์สอนการเทรดหุ้น ติวเตอร์ด้านการโปรแกรม ติวเตอร์ด้านการสอนถ่ายรูป ติวเตอร์ด้านดนตรี และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสำหรับคนที่คิดอยากจะเป็น "ติวเตอร์" นั้น บทความนี้จะนำเสนอ ตั้งแต่การเคล็ดลับ เทคนิค การเตรียมตัวต่าง ๆ การวางแผน การตั้งราคาสอน  ไปจนถึงช่องทางในการหาลูกค้า มาดูเทคนิคและเคล็ดลับกันดังต่อไปนี้

Advertisement

Advertisement

1. ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า ตัวเองนั้นมีความชอบ ความถนัดเชี่ยวชาญอะไรก่อน : การที่จะเข้ามาเป็นติวเตอร์นั้น สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ความถนัดของตัวเราเอง สิ่งนี้ถือเป็นพื้นฐานเลยก็ว่าได้ สิ่งสำคัญอีกประการนึงคือ แม้ว่าตัวเราเองจะคิดว่าตนเป็นผู้ถนัดและเชี่ยวชาญในเรื่องใด ๆ ก็ตาม แต่อย่าลืมว่า ไม่ใช่มีเราเพียงคนเดียว ดังนั้นแล้วหากจะอยากจะเป็นติวเตอร์สอนวิชาอะไรก็ตามก็ต้องหมั่นทบทวนความรู้ของตนให้มีความแม่นยำให้มากที่สุด

2. เตรียมการวางแผนบทเรียนในการสอนในคอร์สที่จะเปิดสอน : ตรงนี้ถือว่าสำคัญมาก ๆ สำหรับคนที่เริ่มจะมาทำติวเตอร์ เพราะหากไม่มีการวางแผนการสอนแล้ว ก็จะมีปัญหาต่าง ๆ เช่น การจัดสรรจำนวนครั้งของการเรียนแต่ละคอร์ส การไม่สามารถชี้แจงผู้เรียนได้ว่าในคอร์สที่เปิดสอนนี้จะสอนอะไรบ้าง ที่สำคัญคือ เมื่อวางแผนการสอนไว้แล้วจะสามารถประหยัดเวลาในการทำเอกสารการสอน โดยแผนการสอนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าอยากจะออกแบบแผนการสอนแบบไหน หากใครยังมือใหม่หรือไม่เข้าใจ อยากให้ลองดูตัวอย่างของการเตรียมการสอนสำหรับคอร์สวิชา "วิชาการเรียนโปรแกรมภาษาซี (ขั้นพื้นฐาน)" ดังรูปตัวอย่าง

Advertisement

Advertisement

แผนการสอนวิชาการเรียนโปรแกรมภาษาซี (ขั้นพื้นฐาน)รูปภาพแสดงตัวอย่างแผนการสอนสำหรับคอร์ส "วิชาการเรียนโปรแกรมภาษาซี (ขั้นพื้นฐาน)" จัดทำโดย Supaluck Singjan

จากรูปตัวอย่างก็เรียงลำดับบทเรียนแต่ละบทของคอร์สที่จะทำการสอนว่ามีหัวข้อแต่ละบทมีอะไรบ้าง และสามารถสรุปได้ว่าคอร์สที่เราจะเปิดสอนนั้นมีทั้งหมดกี่ครั้งได้อีกด้วย เอาล่ะเมื่อทุกอย่างถูกวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน วางหัวข้อการสอนแต่ละบทของคอร์สได้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปก็มาสู่ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลเนื้อหาในการสอน

3.เลือกหนังสือ ตำราหรือ textbook เล่มหลักสำหรับคอร์สนั้น ๆ : โดยปกติการสอนก็ควรจะเลือกหนังสือหลักเล่มใดเล่มนึงเป็นตัววางเนื้อหาของคอร์ส (แล้วอาจจะหาหนังสือเล่มอื่น ๆ มาเสริม) เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการวางเนื้อหาของคอร์ส มีความชัดเจน เนื้อหาจะได้ไม่มั่ว แต่ว่าผู้สอนควรทำการสรุปเนื้อหาจากหนังสือหลักแล้วเอามาปรับใช้เป็นคำพูดของผู้สอนด้วยตัวเอง ไม่แนะนำให้เอาหนังสือหลักมาอ่านสอนต่อหน้าผู้เรียน เมื่อมีเนื้อหาก็ต้องมีแบบฝึกหัด ซึ่งส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดก็ควรใช้แบบฝึกหัดจากหลาย ๆ แหล่ง

Advertisement

Advertisement

tutor-1ภาพถ่ายจาก : https://www.pexels.com/th-th/photo/256472/

4. ทำเอกสารการสอน : โดยทั่วไปการสอนก็ควรมีเอกสารประกอบการสอน (แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็นเช่น หากติววิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย โดยตกลงกับผู้เรียนว่า ถ้าไม่เอาเอกสารการสอน ราคาของคอร์สก็จะถูกลงอะไรแบบนี้) แต่การมีเอกสารการสอนก็มีข้อดีคือ สร้างความน่าเชื่อถือสำหรับผู้เป็นติวเตอร์วิชานั้น เอกสารการสอนสำหรับบางวิชาเช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ เป็นต้น ก็อาจจะสามารถทำแบบที่เป็นสรุปเนื้อหาและมีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนใส่ใจในการมาเรียนกับเราก็ควรแจกเอกสารการต่อแต่ละครั้งที่มีการเรียนกับเรา

5. การตั้งราคาสำหรับคอร์ส : ความจริงแล้วการสอนจะมีแบบคิดเป็น "ชั่วโมง" และ "ราคาจ่ายแบบเป็นคอร์ส" ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าสอนวิชาอะไร มีเอกสารการสอนหรือไม่ สอนที่ไหน สอนแบบตัวต่อตัวหรือสอนเป็นกลุ่ม ค่าเดินทางของผู้เป็นติวเตอร์ ซึ่งต้องคิดคำนวณออกมาก่อนว่าคอร์สนี้มีแผนจะสอนกี่ครั้ง แล้วเอาทั้งหมดมาคำนวณเป็นต้นทุนทั้งหมดก่อน

6. การหาลูกค้า ทำโฆษณาและประกาศคอร์สอน : ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ มาดูช่องทางต่าง ๆ ในการหาลูกค้ากัน

  • อยากแรกคือ แนะนำตัวให้กับคนรู้จักว่ารับติวเตอร์วิชาอะไรก่อนหรือเข้าใจง่าย ๆ คือ แนะนำตัวเองผ่านปากต่อปากนั่นเอง
  • ทำป้ายประกาศติด ก็อาจจะติดตามบอร์ดต่าง ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ติดประกาศเช่น ภายในมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน
  • ทำใบปลิวแจก ก็ต้องเข้าใจในเป้าหมายลูกค้าด้วยว่าเป็นคนกลุ่มไหนบ้าง จะได้ตัดสินใจได้ว่าควรเอาใบปลิวไปแจกที่ไหน
  • ทำเป็นสื่ออนไลน์แล้วโพสตามบอร์ดต่าง ๆ ที่มีหมวดสำหรับโพสสอนพิเศษ
  • เปิด Social media สำหรับคอร์ที่จะเปิดสอน

สิ่งสำคัญ ในการทำโฆษณาประกาศคอร์สมีดังนี้คือ

  • ข้อมูลหัวข้อวิชาคอร์สที่จะเปิดสอน ในคอร์สสอนอะไรบ้าง
  • ราคาคอร์สเท่าไหร่
  • ประวัติของผู้สอน (เช่นเรียนจบด้านอะไร จบจากที่ไหนและมีประสบการณ์ทำงานด้านอะไร หรือผู้ที่อยากเป็นติวเตอร์คนใดกำลังเรียนอยู่ก็ใส่ข้อมูลว่ากำลังเรียนอยู่ที่ไหน)
  • สิ่งที่จะคอร์สนี้มีอะไรบ้าง
  • ใส่ข้อมูลติดต่อผู้สอน เช่น เบอร์โทร line e-mail และอื่น ๆ
  • สถานที่เรียนหรือตามแต่ตกลง

tutor-2ภาพถ่ายจาก : https://www.pexels.com/th-th/photo/6168/

เมื่อเราได้ลูกค้า ก็ต้องรักษาลูกค้าไว้ให้ดีเพราะลูกค้าสามารถบอกต่อในคุณภาพในการสอนของเราได้ หากเราสามารถทำให้ลูกค้าประทับใจในการสอนหรือได้รับผลสำเร็จจากการสอนของเราแล้ว เส้นทางของการเป็น "ติวเตอร์" ของเราก็ย่อมสวยงามตามนะคะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์