อื่นๆ

มาทำความรู้จักขลุ่ยน้ำเต้า หรือ หูหลูซือ(葫芦丝) กันเถอะ

1.7k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
มาทำความรู้จักขลุ่ยน้ำเต้า หรือ หูหลูซือ(葫芦丝) กันเถอะ

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีจีนที่มีชื่อว่า ขลุ่ยน้ำเต้า หรือชื่อทางการว่า หูหลูซือ(葫芦丝)เป็นขลุ่ยประจำชาติของมณฑลยูนนาน ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เล่นเพลงพื้นบ้าน

ขลุ่ยน้ำเต้า


งั้นเราไปดูกันดีกว่าค่ะว่า ทั้งรูปร่าง โครงสร้างอุปกรณ์ นั้นมีอะไรกันบ้าง

เครดิต : http://www.cnmii.net/zt10636/product_4432.html

เครดิต : http://www.cnmii.net/zt10636/product_4432.html

จะเห็นได้ว่าขลุ่ยน้ำเต้ามีส่วนประกอบหลักๆ ทั้งหมด 5 อย่าง ด้วยกัน

  1. ที่เป่าปาก
  2. น้ำเต้า 1 ใบ
  3. หลอดไม้ไผ่ 3 หลอด
  4. แผ่นลิ้นไม้
  5. ปมเชือกจีน

จะเห็นได้ว่าเครื่องดนตรีทุกๆ ชิ้นจะมีความละเอียดอ่อนในแบบของตัวเอง งั้นมาดูกันดีกว่าว่า อุปกรณ์ของขลุ่ยน้ำเต้าแต่ละส่วนมีความสำคัญและวิธีทำความสะอาด อย่างไรบ้าง

  1. ที่เป่าปาก (ลักษณะคล้ายจุก)ที่เป่าปากมาเริ่มกันด้วยส่วนแรกกันเลย อุปกรณ์ชิ้นนี้ส่วนใหญ่มักจะทำจากพลาสติกที่แข็งแรง แต่ถ้าเกิดอุปกรณ์ชิ้นนี้พังหรือมีรอยแตกเมื่อไร จะทำให้เราเป่าขลุ่ยลําบากทันทีเพราะคุมเสียงยาก บางทีช่วงที่เราเป่าอยู่อาจทำให้เสียงเพี้ยนได้ ถ้าเกิดพังวิธีแก้ไขนั้นง่ายมากคือต้องซื้อเปลี่ยนใหม่เลย ส่วนใหญ่จะมีขายตามร้านขายเครื่องดนตรีจีน หรือ ถ้าจะสั่งผ่านอินเตอร์เน็ตให้หาคำว่า 葫芦丝吹嘴 ส่วนวิธีทำความสะอาด ทุกครั้งที่เราเป่าขลุ่ยเสร็จแล้วให้เอาคอตตอนบัดจุ่มน้ำเล็กน้อยและทำความสะอาดบริเวณนั้น

  2. น้ำเต้าน้ำเต้าน้ำเต้าเป็นเหมือนตัวกำเนิดเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นนี้เลยก็ว่าได้ ข้างล้างของตัวน้ำเต้านั่นมีรู 3 รู ที่ไว้ปักหลอดไม้ไผ่ที่มีขนาดไม่เท่ากันสามหลอด วิธีทำความสะอาด ให้เราใช้ปากเป่าลมใส่เครื่อง เขย่าเบาๆว่ามีน้ำลายตกค้างหรือป่าว ถ้ามีให้เอาคอตตอนบัดจุ่มน้ำเล็กน้อยและทำความสะอาด

  3. หลอดไม้ไผ่ 3 หลอด หลอดไม้ไผ่หลอดไม้ไผ่ตรงกลางจะกว้างที่สุด ข้างบนมีรูเสียงทั้งหมด 6 รู และด้านหลัง 1 รู รวมเป็น 7 รู ไว้บรรเลงดนตรี, ส่วนหลอดไม้ไผ่ทั้งสองข้างที่เหลือจะเป็นเสียงที่ใช้ประสานกันกับเวลาที่เราเล่นดนตรี วิธีทำความสะอาด ถอดตัวหลอดไม้ไผ่ทั้ง 3 อัน ออกมาเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาด(เช็ดจนถึงบริเวณเหล็กสีเงิน) ส่วนตรงแผ่นไม้จะบอกในส่วนต่อไป

  4. แผ่นลิ้นไม้ลิ้นไม้ถ้าในภาษาดนตรี ลิ้น คือ แผ่นไม้บางๆ ที่ทำให้เกิดเสียงสั่นสะเทือนตอนเวลาเป่าเครื่องดนตรี ส่วนใหญ่ลิ้นจะอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ เป็นอุปกรณ์ที่เบาะบางมาก ตัวอย่างเช่น ลิ้นของขลุ่ยน้ำเต้าจะมีลักษณะทรงสามเหลี่ยมดันขั้นมา(ดังภาพประกอบ) เราสามารถดันลิ้นออกมาได้ ถ้าเราคิดว่าเสียงมันเพี้ยน ต้องระวังในเรื่องนี้ เพระาถ้าเกิดพลาดขึ้นมาเราต้องให้ที่ร้านเปลี่ยนลิ้นให้แต่ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนได้เราต้องซื้อเครื่องใหม่เลยเพราะตัวลิ้นของขลุ่ยน้ำเต้ามันเชื่อมต่อกับตัว หลอดไม้ไผ่ซึ่งคิดว่าทางร้านไม่น่ามีตัวหลอดไม้ไผ่ขายแยก ส่วนวิธีทำความสะอาดเบื้องต้นนั้น นำคอตตอนบัดจุ่มน้ำเล็กน้อยแล้วเช็ดตรงลิ้นเบาๆ และทำความสะอาดตรงบริเวณโดยรอบ

  5. ปมเชือกจีนปมเชือกและปมเชือกจีน อุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายส่วนใหญ่จะเอาไว้ผูกตรงบริเวณปลายขลุ่ยจะมีรู 2 รู ที่อยู่ด้านล่างปลายขลุ่ยเอาไว้ผูกให้สวยงาม

    เป็นยังไงกันบ้างค่ะทุกคน หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับขลุ่ยน้ำเต้ากันไปแล้ว ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีจีนอีกชิ้นหนึ่งที่มีเสน่ห์มากๆเลยทีเดียว เกือบลืมบอกทุกคนอีกอย่างหนึ่งไปเลยค่ะว่า หลังจากที่เราเป่าขลุ่ยเสร็จแล้วก็อย่าลืมเอาขลุ่ยเก็บใส่กระเป๋าเครื่องดนตรีด้วยนะคะ ไม่อย่างงั้นถ้าเราทำตกขึ้นมา เครื่องอาจะพังหรือเสียงเพี้ยนได้ค่ะ

Advertisement

Advertisement


บางคนอาจจะสงสัยว่าระหว่างขลุ่ยไทย และ ขลุ่ยน้ำเต้า มีวิธีการเป่าหรืออ่านโน๊ตเหมือนกันหรือไม่

ขอบอกไว้ก่อนเลยว่าคล้ายกันค่ะ เอาไว้ถ้ามีโอกาศจะมาแชร์วิธีการเป่าขลุ่ยน้ำเต้า ให้อ่านกันนะคะ

เพราะว่าถ้าบอกวิธีเป่าในบทความนี้อาจจะยาวจนเกินไป บอกเลยะว่าไม่ยากอย่างที่คิด ยิ่งถ้าใครเป่าขลุ่ยไทยเป็นอยู่แล้ว แค่ปรับวิธีการเล่นและการอ่านโน๊ตเล็กน้อยค่ะ ส่วนมือใหม่หัดเป่าก็ไม่ต้องห่วงนะคะ รับรองค่ะว่าไม่ยากอย่างที่คิด

หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้และชื่นชอบเครื่องดนตรีจีนกันมากขึ้นนะคะ สวัสดีค่ะ


(เครดิตภาพถ่ายโดยผู้เขียน)

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์