อื่นๆ

🙁ลักษณะของสื่อโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริง🙁

7.9k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
🙁ลักษณะของสื่อโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริง🙁

ลักษณะของสื่อโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริง

สื่อโฆษณานับเป็นช่องทางที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ส่งสาร ซึ่งได้แก่ ผู้ผลิตหรือจำหน่าย กับผู้รับสาร ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภค ในชีวิตประจำวันของเรามักพบเห็นโฆษณาอยู่ทั่วไปในหลายรูปแบบ ได้แก่

  • สื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์ เช่น โฆษณาทางนิตยสาร หนังสือพิมพ์์ ใบปลิว แผ่นพับ

ใบปลิว

  • สื่อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ โรงภาพยนตร์

โรงภาพยนตร์

  • สื่อโฆษณากลางแจ้ง เช่น ป้ายโฆษณาลอยฟ้าบริเวณถนน หรือทางยกระดับ หรือทางด่วน

ป้ายลอยฟ้าริมถนน

  • สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ เช่น โฆษณาที่ติดที่เดินรถยนต์รถโดยสารประจำทาง  รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า

  • สื่อโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต เช่น โฆษณาทางเว็บไซต์ (Website) โฆษณาตามสื่อที่สังคมออนไลน์ (Social media)

สื่อโฆษณาเหล่านี้ มีทั้งเป็นสื่อโฆษณาที่ดี คือสื่อโฆษณาที่แนะนำสินค้าและบริการโดยให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคจริงหรือสิ่งที่ให้ประโยชน์จริง และอาจให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคการเลือกใช้สินค้าและบริการอีกด้วย ซึ่งโฆษณาที่ให้ข้อมูลหรือประโยชน์จริงหรือถูกต้องควรไปใช้เยอะๆ รวมทั้งสื่อโฆษณาของทางราชการ อย่างไรก็ตาม ยังมีสื่อโฆษณาจำนวนมากที่มุ่งหวังเพียงผลประโยชน์ทางธุรกิจ จึงมักใช้ขอความที่อวดอ้างเกินจริงหรือหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งหากหลงเชื่อและซื้อสินค้าหรือบริการดังกล่าวมาใช้แล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้บริโภคจึงควรรู้จักวิเคราะห์สื่อโฆษณาว่าเชื่อถือได้หรือไม่ควรไตร่ตรองให้ดีก่อน โดยพิจารณาลักษณะของสื่อดังกล่าว โฆษณาอวดอ้างเกินจริงและโฆษณาหลอกลวงมักมีลักษณะ ดังนี้

Advertisement

Advertisement

  1. ใช้ภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า สิ่งที่ไม่เคยมีความจำเป็นหลายอย่างในชีวิต กลายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นขึ้นมา
  2. โฆษณาด้วยลักษณะท่าทาง ใช้เทคนิคการโฆษณาเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการโดยไม่ใช้คำพูด เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย
  3. การโฆษณาโดยระบุสรรพคุณสินค้าเกินจริงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เช่น การโฆษณาอาหารหรือเครื่องดื่มที่อ้างว่าสามารถรักษาโรคได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง เบาหวาน ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารหรือเครื่องดื่มนั้นมีคุณสมบัติในการรักษาโรค แต่อาหารไม่ใช่ยาจึงไม่มีคุณสมบัติในการรักษาโรค หรือโฆษณาบอกแต่สรรพคุณที่ดีแต่ไม่กล่าวถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
  4. การนำเอาผู้นำเสนอ (Presetet) ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงมาแนะนำผลิตภัณฑ์ และบอกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะอาจทำให้เข้าใจผิดได้
  5. การกล่าวอ้างว่าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ แนะนำให้ใช้สินค้านั้นแต่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าผู้เชี่ยวชาญคือใคร เป็นเพียงข้ออ้าง และเป็นการโฆษณาเลื่อนลอยที่ขาดหลักรับรองทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าไม่มีใบรับรอง
  6. การกล่าวอ้างสถิติผู้ใช้ เช่น "ร้อยทั้งร้อย ใช้ได้ผล" แต่ไม่มีข้อมูลบอกว่าทำการทดลองกี่คน และใช้วิธีการทดลองอย่างไร

Advertisement

Advertisement

เราควรคิดไตร่ตรองก่อนว่าเชื่อถือได้ไหมหรือเชื่อถือไม่ได้ มันอาจส่งผลเสียแก่ร่างกายของเราได้ อาจถึงแก่ชีวิตได้ถ้าร่างกายแพ้สารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น จึงไตร่ตรองก่อนหรือถามคนที่เคยให้ผลิตภัณฑ์นั้น จะได้ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายเราได้และเป็นการประหยัดค่ารักษาไปด้วย

ภาพหน้าปกgeralt/Pixabay

ภาพที่ 1 Inactive account/Pixabay

ภาพที่ 2 Inactive account/Pixabay

ภาพที่ 3 djedj/Pixabay

ภาพที่ 4 nuttanart/Pixabay

อัปเดตสาระดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์