อื่นๆ

วัสดุที่สำคัญสำหรับการปลูกพืชแบบไร้ดินมีอะไรบ้าง

9.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วัสดุที่สำคัญสำหรับการปลูกพืชแบบไร้ดินมีอะไรบ้าง

ปัจจุบันการเพาะปลูกพืชมีหลายวิธีซึ่งโดยทั่วไปเเล้ว มักจะปลูกลงดินโดยใช้เพาะเมล็ด และอนุบาลจนโตที่สามารถเพาะปลูกลงดินได้ ซึ่งการปลูกลักษณะเเบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ดินเหมาะสมกับการเพาะปลูก เเต่บางพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้เนื่องจากสภาพของพื้นดินไม่เอื้ออำนวยในการเจริญเติบโตของพืช เเต่สามารถชดเชยได้โดยการปลูกลงในกระถางหรือถุงพลาสติก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากในการดูเเลรักษาเเละมีค่าใช้จ่าย เเต่มีอีกวิธีนึงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือปัจจุบันเรียกว่า การปลูกพืชแบบแช่ราก ( ไฮโดรโปนิกส์ ) การปลูกพืชแบบนี้มีตั้งแต่สมัยโบราณในยุคอาณาจักรเมโสโปเตเมีย ( ประเทศอิรัก ในปัจจุบัน ) ถูกสร้างขึ้นในปี 372-287 ก่อนคริสต์กาล โดยปลูกบนระเบียงเป็นชั้นๆ ทุกระเบียงจะปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ รวมไปถึงไม้ยืนต้น ชนิดต่างๆไว้บนสิ่งก่อสร้าง  มีชื่อเรียกว่า สวนลอยฟ้าบาลิโลน แต่เนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวทำให้สวนแห่งนี้พังทลายลงไปอย่างน่าเสียดาย

Advertisement

Advertisement

สลัดขอขอบคุณรูปภาพ Pezibear by pixabay.com

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นมากต่อการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของการปลูก ซึ่งคำนึงคือราคาควรไม่สูงเกินไป แต่มีคุณภาพดี และสามารถหาซื้อได้ง่าย นอกนี้นี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชได้อีกด้วย

วัสดุที่สำคัญต่อการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์มีดังนี้

  1. ภาชนะในการปลูก เป็นวัสดุที่สำคัญสำคัญการปลูกพืชเเบบไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุนั้นต้องรองรับน้ำที่ใช้ในการละลายเเร่ธาตเเละสารอาหารเเทนดิน ภาชนะจะต้องทำความสะอาดได้ง่าย เเละไม่ทำปฏิกริยากับสารละลายในภาชนะปลูกด้วย เช่น รางปลูก, กะลังมัง, ลังโฟม เป็นต้น
  2. วัสดุปลูก เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับค้ำยันพืช เพื่อให้พืชเจริญเติบโต เพื่อไม่ให้พืชล้ม และยังช่วยให้รากของพืชเกาะเพื่อรับปุ๋ยจากสารอาหารได้ง่าย เช่น ฟองน้ำ, เม็ดดินเผา, กาบมะพร้าวสับ เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

สลัด1ขอขอบคุณรูปภาพCouleur by pixabay.com

1. ปุ๋ยหรือธาตุอาหารของพืช เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ สำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจากการปลูกพืชเเบบไฮโดรโปนิกส์จะใช้น้ำอย่างเดียวไม่ได้ ต้องการธาตุอาหารสำหรับให้พืชมีการเจริญเติบโต โดยปัจจุบันธาตุอาหารจะมีขายเเบบสำเร็จรูป ที่เรียกสั้นๆว่าปุ่ย A และ B ส่วนปุ๋ย A มีส่วนประกอบด้วย แมกนีเซียมซัลเฟต ( MgSO4 ), โพแทสเซียมไนเตรท ( KNO3 ), โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต ( MAP ), โมโนโพเเทสเซียมฟอสเฟต ( MKP ), แมงกานีสคีเลต ( Mn-EDTA ) และจุลธาตุรวม ในส่วนของปุ่ย B จะประกอบไปด้วย แคลเซียมไนเตรท ( Ca(No3)2 ), เหล็กคีเลต ( Fe-EDTA ) และจุลธาตุรวม โดยจะน้ำสารทั้ง A และ B มีรวมกันในอัตราส่วนของน้ำ 1 : 100 ลิตรโดยประมาณ

2. น้ำ เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ต่อการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารเเละเป็นตัวนำสารอาหารและแร่ธาตุจากสารละลายไปยังสู่พืช

Advertisement

Advertisement

สลัด3ขอขอบคุณรูปภาพ Pexels by pixabay.com

3. ระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้ปลูกแบบน้ำนิ่งไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ เเต่ถ้าปลูกแบบน้ำวนต้องใช้ไฟฟ้าในใช้ปั๊มน้ำในการดูดน้ำขึ้นมาเพื่อทำให้น้ำไหลเวียน

4. ปั้มน้ำ เป็นส่วนสำคัญสำหรับการปลูกเเบบน้ำวน เนื่องจากการปลูกแบบน้ำวนต้องใช้ปั๊มน้ำในการเลี้ยงต้นพืชให้เจริญเติบโต และเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้เพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

5. เมล็ดพืช เป็นสิ่งที่สำคัญในการปลูก การจะปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะใช้เมล็ดในการเพาะพันธุ์และอนุบาลให้เมล็ดพืชงอกขึ้นมากเจริญเติบโตจนออกเป็นผลผลิต

6. อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและควบคุมสารละลาย เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจำเป็นเนื่องจากการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ต้องควบคุมสารละลายเเละคุณภาพของน้ำ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดของสารละลายในน้ำ ที่ทำให้พืชไม่เจริญเติบโต

สลัด4ขอขอบคุณรูปภาพ silviarita by pixabay.com

เห็นไหมครับการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีอุปกรณ์ที่จำเป็นหลายอย่าง เเต่ถ้ามีงบจำกัดก็ตัดวัสดุบางตัวออกได้เช่น ระบบไฟฟ้า, ปั้มน้ำ, อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและควบคุมสารละลาย เนื่องจากการปลูกแบบระบบน้ำนิ่งไม่จำเป็นสำหรับการปลูกมากนัก เพื่อเป็นการประหยัดงบหรือสำหรับทดลองปลูกเล่นที่บ้าน อาจจะใช้กะลัง ขวดน้ำ หรือวัสดุที่เหลือใช้ มาใช้งานได้ ครั้งหน้าจะมาเเนะนำการปลูกไฮโดรโปนิกส์ด้วยวัสดุเหลือใช้ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ


ขอขอบคุณรูปภาพหน้าปก Pezibear by pixabay.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
DiyKub
DiyKub
อ่านบทความอื่นจาก DiyKub

นักเขียนมือใหม่ผู้รักงานเขียนเล่าเรื่องเป็นชีวิตจิตใจ นักเขียนหน้าใหม่ เเต่หน้าเก่า เล่าเเต่เรื่องดี

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์