อื่นๆ
วิธีคํานวณถัวเฉลี่ยหุ้นง่าย ๆ ด้วย Microsoft Excel

สร้างตารางการถัวเฉลี่ยหุ้นง่าย ๆ ด้วย Microsoft Excel
การถัวเฉลี่ยหุ้นเป็นเครื่องมือช่วยคิดการเฉลี่ยต้นทุนในการคิดต้นทุนใหม่เพื่อใช้ในการสร้างพอร์ตการลงทุนในการซื้อหุ้นหลายราคาที่ต่างกันและจำนวนหุ้นที่ต่างกัน ราคาต่อหุ้นเฉลี่ยโดยรวมจะซื้อตามการเปลี่ยนแปลงราคาที่แตกต่างกัน เนื่องจากหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงราคาของแต่ละวัน อาจจะสูงขึ้นหรือลดลงตามผลประกอบการและปริมาณการซื้อขายแต่ละวัน เราไม่อาจบอกได้ว่าซื้อหุ้นในแต่ละครั้งสามารถซื้อในราคาที่ต่ำสุดได้หรือไม่ การถัวเฉลี่ยจึงเป็นการซื้อในราคาที่สูงหรือต่ำเพื่อที่จะนำมาเฉลี่ยต้นทุน แนะนำให้ทำการศึกษาแนวโน้มของหุ้นว่าไปในทิศทางใด หุ้นควรเป็นหุ้นพื้นฐานดี มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต และควรศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ดี เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง วันนี้จะมาบอกวิธีการคำนวณการถัวเฉลี่ยหุ้นโดยใช้โปแกรม Microsoft Excel ในการคำนวณ
Advertisement
Advertisement
ตัวอย่างการคำนวณ
เริ่มต้น นาย A ต้องการซื้อหุ้นของบริษัท AAA ในวันที่ 01/11/2020 เป็นจำนวน 500 หุ้น ราคาหุ้นละ 80.75 บาท เป็นเงิน 40,375.00 บาท ถ้าคิดค่าธรรมเนียม 0.15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% จะต้องซื้อเป็นเงิน 40,499.80 บาท คิดเป็นราคาต่อหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 80.88 บาท
ภาพจาก : ผู้เขียน
เดือนถัดมา นาย A ต้องการซื้อหุ้นของบริษัท AAA วันที่ 01/12/2020 เพิ่มอีก จำนวน 400 หุ้น ราคาหุ้นละ 98.50 บาท เป็นเงิน 39,400.00 บาท ถ้าคิดค่าธรรมเนียม 0.15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะต้องซื้อเป็นเงิน 39,463.24 บาท และราคาต่อหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 98.66 บาท
แสดงว่าตอนนี้ นาย A จะมีหุ้นอยู่ 900 หุ้น โดยราคาเฉลี่ยจะคิดเป็น [(500 หุ้น*80.75 บาทต่อหุ้น) + (400 หุ้น*98.50 บาทต่อหุ้น)] / (500 หุ้น + 400 หุ้น) = 88.64 บาทต่อหุ้น (ไม่คิดค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่ม)
Advertisement
Advertisement
ภาพจาก : ผู้เขียน
เดือนถัดมา นาย A ต้องการซื้อหุ้นของบริษัท AAA ในวันที่ 01/01/2021 เพิ่มอีกจำนวน 600 หุ้น ราคาหุ้นละ 98.00 บาท เป็นเงิน 58,800.00 บาท ถ้าคิดค่าธรรมเนียม 0.15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะต้องซื้อเป็นเงิน 58,894.37 บาท และราคาต่อหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 98.16 บาท
แสดงว่าตอนนี้ นาย A จะมีหุ้นอยู่ 1500 หุ้น โดยราคาเฉลี่ยจะคิดเป็น [(900 หุ้น * 88.64 บาทต่อหุ้น) + (600 หุ้น*98.00 บาทต่อหุ้น)] / (900 หุ้น + 600 หุ้น) = 92.38 บาทต่อหุ้น (ไม่คิดค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่ม) และราคาเฉลี่ยรวมค่าธรรมเนียมเป็น 92.53 บาทต่อหุ้น
ภาพจาก : ผู้เขียน
ดังนั้น จะสามารถเขียนรูปแบบการคำนวณได้ว่า
ภาพจาก : ผู้เขียน
ขั้นตอนต่อไปเราจะมาใช้โปแกรม Microsoft Excel ในการเขียนสูตรคำนวณกันครับ
1. เปิดโปรแกรม Microsoft Excel แล้วสร้างตารางดังรูป
Advertisement
Advertisement
ภาพจาก : ผู้เขียน
2. ตัวอย่างนี้จะจำลองการซื้อหุ้นที่จำนวนหุ้นและราคาซื้อแต่ละครั้งแตกต่างกัน การคาดการณ์หรือคำนวณการซื้อหุ้นแต่ละเดือนจะคำนวณราคาหุ้นเฉลี่ยจะคิดอัตราค่าธรรมเนียม 0.15% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7%
ตัวอย่างการซื้อหุ้นในแต่ละครั้ง
วันที่ 02/11/2020 ซื้อ 500 ราคาหุ้นละ 80.75 บาท
วันที่ 02/12/2020 ซื้อ 400 ราคาหุ้นละ 98.50 บาท
วันที่ 04/01/2021 ซื้อ 600 ราคาหุ้นละ 98.00 บาท
วันที่ 01/02/2021 ซื้อ 600 ราคาหุ้นละ 106.25 บาท
วันที่ 01/03/2021 ซื้อ 600 ราคาหุ้นละ 112.50 บาท
วันที่ 01/04/2021 ซื้อ 500 ราคาหุ้นละ 114.00 บาท
วันที่ 03/05/2021 ซื้อ 300 ราคาหุ้นละ 120.00 บาท
ภาพจาก : Gerd Altmann จาก Pixabay
3. หลังจากที่สร้างตารางตามรูปแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะใช้คอลัมน์ A เป็นวันที่ซื้อหุ้น B เป็นจำนวนหุ้นที่ซื้อ C เป็นราคาต่อหุ้นที่ซื้อในตลาดหลักทรัพย์ และ D เป็นยอดเงินที่ซื้อไม่รวมค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่ม จะคำนวณยอดเงินในการซื้อได้โดยนำจำนวนหุ้นที่ซื้อคอลัมน์ B ในแต่ละแถวกับราคาที่ซื้อคอลัมน์ C ในแต่ละแถวมาคูณกัน (ไม่คิดค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่ม) ลงในคอลัมน์ D ในแต่ละแถว
ภาพจาก : ผู้เขียน
4. คำนวณตามสมการราคาหุ้นเฉลี่ยโดยใช้สูตร SUMPRODUCT และ SUM ด้วย Microsoft Excel โดยให้คอลัมน์ B ในแต่ละแถวเป็นจำนวนหุ้น คอลัมน์ C ในแต่ละแถวเป็นราคาต่อหุ้นไม่รวมค่าธรรมเนียม (ตัวอย่างจะคำนวณเฉพาะแถวที่ 4 – 11 ถ้าต้องการเพิ่มก็สามารถเพิ่มแถวเข้าไปได้เลย) จะเขียนสูตรคำนวณราคาต่อหุ้นเฉลี่ยได้เป็น =SUMPRODUCT(B4:B11,C4:C11)/SUM(B4:B11) ลงใน B12
สามารถศึกษาข้อมูลการใช้โดยคลิกตามลิงก์ SUMPRODUCT และ SUM
ภาพจาก : ผู้เขียน
5. คำนวณราคาเฉลี่ยต่อหุ้นรวมกับค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่ม จะคิดค่าธรรมเนียมจากยอดเงินที่ซื้อในคอลัมน์ D ในแต่ละแถวคูณกับ 0.15% ใน E3 ลงในคอลัมน์ E ในแต่ละแถว
ภาพจาก : ผู้เขียน
6. แล้วคิดภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าธรรมเนียมใช้คอลัมน์ E ในแต่ละแถวคูณกับ 7.00% ใน F3 จากนั้นคิดยอดเงินรวมค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่มในคอลัมน์ G ในแต่ละแถว
ภาพจาก : ผู้เขียน
7. นำยอดเงินรวมมาคิดราคาต่อหุ้นรวมในแต่ละครั้งที่ซื้อ (ราคาต่อหุ้นรวมเป็นราคาที่ซื้อและจ่ายจริง) ในคอลัมน์ H ในแต่ละแถวโดยใช้คอลัมน์ G ในแต่ละแถวหารกับจำนวนหุ้นที่ซื้อแต่ละครั้งในคอลัมน์ B ในแต่ละแถว
ภาพจาก : ผู้เขียน
8. จะสามารถคิดราคาต่อหุ้นรวมเฉลี่ยตามสมการราคาหุ้นรวมเฉลี่ยโดยใช้สูตรได้เป็น =SUMPRODUCT(B4:B11,H4:H11)/SUM(B4:B11) ลงใน H12
ภาพจาก : ผู้เขียน
9. จากตัวอย่างจะเห็นว่าในการซื้อหุ้นในแต่ละครั้งที่จำนวนหุ้นและราคาต่อหุ้นแตกต่างกัน 7 ครั้ง จะได้จำนวนหุ้น 3500 หุ้น ราคาหุ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 103.83 บาทต่อหุ้น เป็นการคาดเดาคร่าว ๆ ได้ว่าเราจะสามารถซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ราคาเท่าใด
ภาพจาก : ผู้เขียน
การคำนวณการซื้อหุ้นในแต่ละครั้งที่จำนวนหุ้นและราคาต่อหุ้นไม่เท่ากันในแต่ละครั้งที่ซื้อเนื่องจากราคาหุ้นในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนั้น เราสามารถสร้างการจำลองและคาดการณ์โดยใช้การคำนวณล่วงหน้าไว้ได้
การเปลี่ยนแปลงราคาขึ้นและลง บางครั้งนักลงทุน ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าหุ้นที่เราซื้อราคาต่ำหรือสูง อาจจะต้องเป็นการลงทุนแบบเฉลี่ยเป็นงวด ๆ เท่า ๆ กัน หรือการลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Average) โดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง ทำให้เราสามารถซื้อได้เพิ่มขึ้นขณะที่หุ้นปรับตัวลงและซื้อได้น้อยลงขณะที่หุ้นปรับตัวขึ้น แต่ขณะที่หุ้นปรับตัวขึ้นก็เป็นการซื้อเพื่อสร้างวินัย ให้ตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไป ถือเป็นการฝึกวินัยในการลงทุน การลงทุนแบบนี้แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี แนวโน้มขาขึ้น ธุรกิจสามารถเติบโตได้ และลงทุนในระยะยาว จะสามารถมารถให้เราทำกำไรจาการลงทุนได้ ถ้าลงทุนแนวโน้มขาลงอาจจะทำให้เราขาดทุนได้ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคน ขอแค่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ในการลงทุน ให้นักลงหมั่นศึกษาหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยง ต้องระมัดระวัง เพราะการเงินอาจจะมีผลทางด้านจิตวิทยา อาจทำให้เราจิตตกเมื่อเห็นหุ้นราคาปรับตัวลง หรือกลับกันอาจจะทำให้เราดีใจเมื่อหุ้นปรับตัวขึ้น การลงทุนแบบ DCA ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีความรู้ด้านการจับจังหวะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้
ภาพหน้าปกจาก : Pexels จาก Pixabay
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
ข้อตกลงและเงื่อนไข|Copyright © True Digital & Media Platform Company Limited. All rights reserved