ไลฟ์แฮ็ก
เทคนิคการใช้เงินวันละ 100 ในแบบมนุษย์เงินเดือน
วันนี้ผมจะมาแนะนำเทคนิคการใช้เงินวันละ100 บาท ในแบบมนุษย์เงินเดือน ซึ่งเป็นประสบการณ์ของผมเอง ต้องบอกก่อนว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งบางคนเงิน 100 บาท อาจจะไม่เพียงพอในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆอย่าง
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าผมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่จัดซื้อที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด และได้เงินเดือนอยู่ที่ 14,000 บาท และในการทำงานอยู่ในโรงแรมหรือรีสอร์ทแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาหารกลางวันให้ฟรี และผมนั้นอาศัยอยู่ที่บ้านกับพ่อแม่เลยทำให้ตอนเย็นนั้นก็จะกลับมากินข้าวที่แม่ทำไว้ให้ ตรงนี้เลยทำให้ผมได้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง
ในแต่ละเดือนผมจะทำการวางแผนการใช้เงินโดยการจดใส่สมุดลงมาเป็นข้อๆว่าในแต่ละเดือนนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องแบ่งแยกค่าใช้จ่ายต่างๆให้ชัดเจน และที่สำคัญห้ามใช้เกินที่กำหนดไว้ และนี่คือวิธีการแบ่งค่าใช้จ่ายที่ผมทำมี ดังนี้
Advertisement
Advertisement
- ค่าใช้จ่ายคงที่ อับดับแรกคือค่าใช้จ่ายคงที่ คือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น และค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ของผมก็จะมี
- ค่าประกันสังคม 700 บาท
- ค่าโทรศัพท์ 427 บาท
- ค่าอินเตอร์เน็ตบ้าน 632 บาท
- เงินเก็บ ในส่วนของเงินเก็บนี้ผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือเก็บเงินสด และส่วนที่สองคือลงทุนในกองทุนรวม ในส่วนของกองทุนนี้ใครที่สนใจควรศึกษาการลงทุนก่อน เพราะว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ซึ่งผมนั้นได้ศึกษาจากยูทูปมาพอสมควร และสัดส่วนในการเก็บของผมมี ดังนี้
- เงินสด 1,000 บาท
- ลงทุนในกองทุนรวม 1,500 บาท
- ค่าใช้จ่ายประจำ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ก็คือวันละ 100 บาท ค่าน้ำมันในการเดินทาง ค่าซ่อมบำรุงรถ ในส่วนค่าซ่อมบำรุงรถนี้ต้องคอยหยอดกระปุกไว้ทุกๆเดือนเพราะรถที่เราใช้ไปทำงานนั้นมันย่อมสึกหรอไปตามระยะทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะสำหรับซื้อความสุขให้ตัวเรา เช่น ไปเที่ยว ดูหนัง กินข้าว หรือซื้อของที่อยากได้ และมีสัดส่วน ดังนี้
Advertisement
Advertisement
- เงินใช้จ่ายในแต่ละวัน 3,000 หรือ 3,100 บาท ตามจำนวนวันในแต่ละเดือน
- ค่าน้ำมัน 3,000 บาท
- ค่าซ่อมบำรุงรถ 500 บาท
- ค่าใช้จ่ายจิปาถะ 1,500 บาท
* ส่วนเงิน 100 บาทในแต่ละวันที่ผมใช้มี ดังนี้ อาหารเช้า แซนวิช 1 อัน นม 1 กล่อง ประมาณ 20 บาท และกาแฟมื้อเที่ยง 1 แก้ว ประมาณ 30 บาท รวมแล้วก็ 50 บาท ส่วนที่เหลือ 50 บาท ผมจะแบ่งใส่กระปุกไว้ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินเกิน 100 บาท มื้อกลางวันกินที่ทำงานและมื้อเย็นกินที่บ้าน
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ก็จะเหลือเงินอยู่ประมาณ 1,700 บาท เงินในส่วนนี้ก็แล้วแต่ว่าจะเอาไปทำอะไร เช่น ให้พ่อแม่ ทำบุญ เก็บสะสมสำหรับซื้อของที่อยากได้ หรือเก็บสะสมสำหรับท่องเที่ยวประจำปี
- ตัวอย่างการวางแผนการเงินที่ผมทำในทุกๆเดือน
- ตั้งต้นด้วยเงินเดือน 14,000
- ค่าประกันสังคม - 700
- ค่าโทรศัพท์ - 427
- ค่าอินเตอร์เน็ต - 632
- เก็บเงินสด - 1,000
- ลงทุนกองทุนรวม - 1,500
- ค่าใช้จ่ายประจำวัน - 3,000
- ค่าน้ำมัน - 3,000
- ค่าซ่อมบำรุงรถ - 500
- ค่าใช้จ่ายจิปาถะ - 1,500
- คงเหลือ = 1,741
Advertisement
Advertisement
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางที่ผมใช้ในทุกๆเดือน มันทำให้ผมมีเงินเก็บสำรองไว้ในยามลำบาก และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีวินัยในการใช้เงิน แบ่งแยกรายจ่ายต่างๆให้ชัดเจน ไม่ใช้ของที่เกินตัว ไม่สร้างหนี้เพิ่ม และควรมีอาชีพเสริมไว้รองรับ หวังว่าบทความนี้อาจจะเป็นประโยชน์กับใครหลายคน เผื่อจะเป็นแนวทางที่ใครอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ช้กับวิถีชีวิตประจำวันได้
ภาพปกโดย ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay">stevepb จาก pixabay
ภาพที่ 1 โดย Harry Strauss จาก Pixabay">image4you จาก pixabay
ภาพที่ 2 โดย Steve Buissinne จาก Pixabay">stevepb จาก pixabay
ภาพที่ 3 โดย sigre จาก Pixabay">sigre จาก pixabay
ภาพที่ 4 โดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay">nattanan 23 จาก pixabay
ความคิดเห็น