อื่นๆ

เสื่อเตยหนาม

772
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เสื่อเตยหนาม

การทอเสื่อเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานตั้งแต่เนิ่นนาน โดยการนำส่วนของใบเตยหนามมาทำเป็นเสื่อ ในอดีตนั้นต้นเตยหนามได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นเตยหนามเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำมักจะเกิดอยู่ในที่น้ำชุ่ม พอเวลาผ่านไปเนิ่นนานก็ได้มีการคิดค้นทดลองหลายอย่างจึงได้ทราบว่าต้นเตยหนามสามารถนำมาทอได้ และในปัจจุบันนี้ต้นเตยหนามได้ถูกตัดจนหมด ชาวบ้านจึงได้ปลูกต้นเตยหนามเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านปลูกต้นเตยเพื่อที่จะนำมาทอแล้วนำไปขายหรือนำไปประยุกต์ใช้ทำของที่ระลึก เช่น ปอกหมอน ที่รองแก้ว กระเป๋าสะพาย กล่องกระดาษชำระ

วิธีการทอเสื่อ

ขั้นตอนที่1 ชาวบ้านที่ทอเสื่อเตยจะตัดใบเตยแล้วนำมาทำเป็นเส้นใหญ่หรือเส้นเล็กตามความต้องการ แล้วนำมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาขูดเพื่อให้เส้นเตยหนามมีความขาว บางท่านอาจนำไปย้อมสีเพื่อความสวยงาม

Advertisement

Advertisement

ขั้นตอนที่ 2 กางโฮงทอเสื่อสอดเชือกไนลอนเข้ากับฟืมจนเสร็จแล้วทอ เริ่มทอเรื่อยๆจนเสร็จเป็นชิ้นที่ยาวตามขนาดของโฮง นำไปตากแดดให้แห้ง

ขั้นตอนที่3 ทำให้เสร็จเป็นชิ้นตามที่ต้องการ(ส่วนมากจากทอแค่2ชิ้น เพราะว่ามีขนาดที่พอดี ถ้าอยากได้เสื่อผืนใหญ่แนะนำให้ทอ3ชิ้น)

ทอเสื่อวิธีการเย็บเสื่อ

ขั้นตอนที่ 1 นำเสื้อไปตัดขอบพอประมาณ ตัดผ้าที่จะนำไปเย็บขอบเสื่อความกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร
ขั้นตอนที่ 2 เย็บตามขอบเสื่อให้ครบตามชิ้นที่ต้องการ และนำไปเย็บต่อกันให้เป็นผืน (อาจใส่สายหรือไม่ใส่สายก็ได้)
ขั้นตอนที่ 3 ตัดด้ายออกให้เรียบร้อยเพื่อความสวยงาม

เสื่อเตย

ในอดีตนั้นโฮงทอเสื่อจะใช้ทอ 2 คน  แต่ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นโฮงที่ทอคนเดียวทำให้สดวกแก่การทอ แม้กระทั่งสีย้อมเสื่อที่ยังไม่ได้มีการใช้แต่ในปัจจุบันได้มีการสีย้อมเสื่อกันอย่างแพร่หลาย และในอดีตยังไม่มีจักรเย็บผ้าจึงทอเสื่อเพื่อใช้ในการนอนเท่านั้น ต่อมาได้ประดิษฐ์ในรูปแบบใหม่และคิดค้นขึ้นมาอย่างเรื่อยๆ เสื่อเตยหนามได้เป็นที่นิยมในการใช้งานอย่างต่อเนื่องจนเป็นสินค้า O-TOP เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยและชาวต่างชาติ และยังสร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านอีกด้วย

Advertisement

Advertisement

ทอเสื่อเตย รูปภาพจาก ผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์