ไลฟ์แฮ็ก
แชร์ Trick :: HOW TO เรียนภาษาอังกฤษจากหนัง/ซีรีส์
ใครที่กำลังอยากฝึกภาษาอังกฤษแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ต้องเลือกหนังแบบไหน หนังหรือซีรีส์ดีกว่ากัน ต้องดูกี่รอบ ดูซับอะไรดี ใครมีคำถามแบบนี้ ยกมือขึ้น! ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้ ซามะ จะมาแจก trick :: HOW TO เรียนภาษาอังกฤษจากหนัง/ซีรีส์ กันค่า บอกก่อนนะคะว่าอันนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวไม่มีผิดถูก อยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านแล้วลองเอาไปปรับใช้ตามฉบับของตัวเอง หรือถ้าอยากลองทำตามเราหมดก็ได้ค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!!
(1) เลือกหนังจากประเภทที่ชอบ และระดับภาษาของเรา
การเลือกหนังจากประเภทที่ชอบ แล้วก็ตรงกับระดับของเรามีข้อดีมากๆ ในการเริ่มต้นค่ะ เพราะมันจะทำให้เรายังพอมีแรงในการเรียนรู้ในระยะยาว โดยที่เราจะแบ่งเป็น 3 ระดับค่ะ
- Basic : อยู่ในระดับที่เราพอรู้ภาษาอังกฤษเล็กน้อยค่ะ แต่ยังจับประโยคยาวๆ ไม่ค่อยได้ ระดับนี้แนะนำให้ดูพวกการ์ตูน แอนิเมชันค่ะ เช่น Frozen ภาค 1-2,
Toy Story ภาค 1-3, Snow White, Cinderella เป็นต้น การ์ตูนและแอนิเมชันมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กค่ะ แปลว่าคำศัพท์หรือประโยค รวมถึงการออกเสียงสำเนียงจะง่าย เข้าใจได้เร็ว แล้วก็ประโยคพื้นฐานเหมาะกับการเริ่มต้น ถ้าลองเปลี่ยนจากการ์ตูนไปเป็นซีรีส์ ซามะแนะนำเป็นซีรีส์แนวซิตคอม แนวครอบครัว หรือแนวโรงเรียนค่ะ เพราะนอกจากจะมีความสมจริงขึ้นมาบ้างแล้ว ยังได้เห็นประโยคที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันค่ะ ทั้งเรื่องเรียน เรื่องรัก เรื่องชีวิตประจำวัน เช่น FRIENDS, How I Met Your Mother, BROOKLYN NINE-NINE ใครสายกินขอเชิญรายการทำอาหาร สารคดีต่างๆ เช่น Our Planet, Chef’s Table - Intermediate : ใครที่พอฟังออกขึ้นมาบ้าง รู้สึกอยากเพิ่มความยาก ก็ลองดูกับระดับนี้ค่ะ ระดับนี้จะเริ่มมีการ์ตูนน้อยลงแล้วค่ะ เราแนะนำลองเป็นหนังประเภทซุปเปอร์ฮีโร่ อย่าง BATMAN, Superman, Thor แนวซีรีส์โรงเรียนบางเรื่อง เช่น Riverdale หนังหลายๆ ภาค เช่น Harry Potter ทุกภาค (เราชอบมากก >///<) หรือถ้าใครอยากเสพการ์ตูนเพิ่ม เราเสนอเรื่องนี้เลยค่ะ we bare bear สามหมีที่น่ารักมาก ไม่ง่ายแล้วก็ไม่ยากเกินไป (เป็นการ์ตูนซีรีส์ที่เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูก็ดี) เรื่องอื่นๆ ก็มี forest gump, the great gatsby, theory of everything, last emperor li>
Advertisement
Advertisement
** แนะนำว่าให้เอาหนังที่ใช้ภาษายุคปัจจุบันดีกว่าค่ะ อย่าเพิ่งดูหนังแนวย้อนยุคไปก่อน เพราะศัพท์บางอย่างของยุคก่อนไม่ได้ใช้ในยุคนี้แล้ว ค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละสเต็ปนะคะ
- Advanced : ใครมาระดับนี้ได้แล้ว ปรบมือให้ตัวเองสามที (แปะ! แปะ! แปะ!) บอกเลยว่าใครระดับนี้ได้ซามะขอยกนิ้วให้ เพราะศัพท์จะเริ่มมีความยากมากขึ้น บวกกับตัวละครในหนัง/ซีรีส์จะพูดเร็วมากขึ้น เร็วชนิดที่ว่าแรปก็อดเลยค่ะ 5555 ประเภทหนังในระดับนี้ซามะมีในหัวคือ เป็นหนังแนวเจาะลึกอาชีพมากขึ้นมาหน่อย แนวประวัติศาสตร์ การเมือง วิทยาศาสตร์จ๋าๆ หรือย้อนยุคก็ได้ค่ะ ได้แก่ The Doctor, Sherlock, Bridgerton ซีซั่น 1-2, The Crown, The King's Speech, Saving Private Ryan เป็นต้น {ขอสารภาพว่าซามะยังเอ๋อๆ ในหนังเซตนี้บ้างในบางครั้ง 55555}
(2) การเปิดซับไตเติ้ล
Advertisement
Advertisement
หากใครไม่แน่ใจว่าการเรียนภาษานั้นต้องเปิดซับไทยหรืออังกฤษก่อน ควรดูกี่รอบ ต้องทำยังไง ก่อนที่จะไปดูวิธีการ ซามะอยากให้ทุกคนดูข้อดี-ข้อเสียของแต่ละซับกันก่อนค่ะ
- การเปิดซับไทย
ข้อดี : เราจะรู้เนื้อเรื่องของหนัง/ซีรีส์ที่ดูว่าตัวละครพูดอะไร มีความสนุกร่วมกันมันได้
ข้อเสีย : บางคนจะไม่ได้โฟกัสที่หนัง แต่จะดูซับไทยตลอดซะส่วนใหญ่
- การเปิดซับอังกฤษ
ข้อดี : ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ โครงสร้างประโยค การออกเสียงของคำแต่ละคำ
ข้อเสีย : ศัพท์ไหนที่ไม่รู้ก็อาจจะทำให้ไม่เข้าใจประโยคนั้นไปบ้าง ถ้าเป็นมากๆ จะหมดความสนุกง่ายๆ แล้วปิดทิ้งไปเลย
สรุปเลยคือ แต่ละซับมีประโยชน์และหน้าที่การใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งสองซับมีทั้งข้อดีและข้อเสียค่ะ ถ้าเราลองปรับวิธีให้เราเรียนรู้ได้ ก็สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษแล้วก็เพลิดเพลินกับมันได้เรื่อยๆ
Advertisement
Advertisement
ต่อมาจะเป็นวิธีการเปิดซับของเราเองค่ะ เราจะฝึก 5 รอบ โดยวิธีนี้เราจะใช้กับหนัง 1 เรื่อง/ซีรีส์ 1 ตอน
- รอบที่ 1 : ซับไทย เพื่อความเข้าใจเนื้อเรื่องในรอบแรก
- รอบที่ 2 : ซับอังกฤษ ดูประโยค ศัพท์คร่าวๆ ให้ผ่านๆ ตา
- รอบที่ 3 : ซับอังกฤษ ลิสต์คำศัพท์ แกรมม่า ประโยคเด็ดๆ ถูกใจเรา
- รอบที่ 4 : ซับไทย ดูเพื่อตรวจทานคำศัพท์อีกครั้ง แล้วก็ดูบริบทการพูดต่างๆ
- รอบที่ 5 : ปิดซับ ดูสีหน้า ท่าทาง ภาษามือ องค์ประกอบต่างๆ ขอหนัง
*การเปิดซับนั้นลองไปปรับใช้กันดูนะคะ เผื่อบางคนอยากลองทดสอบตัวเองดูซับอังกฤษก่อนเลยก็ไม่ผิดค่ะ แต่รอบที่ 5 ลองปิดซับหรือเปิดซับอังกฤษก็ได้น้า แต่เน้นย้ำว่าพยายามอย่าเปิดซับไทยในรอบนี้ และห้ามเปิดพากย์ไทยนะคะ ซามะเตือนแล้วนะ!
(3) พกสมุด กับปากกาตลอด
การจดศัพท์เราจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนค่ะ
- Grammar : เราจะจดแต่แกรมม่าที่เราไม่ค่อยแม่น ไม่รู้มาก่อน หรือบางครั้งก็จะเป็นสำนวนภาษาอังกฤษค่ะ อันนี้ต้องใช้เวลาในการสังเกตนิดหน่อย แต่ทำไปนานๆ จะเข้าใจเองว่าอันไหนสำนวน คำถามนี้ใช้ต่อเมื่อสถานการณ์อะไร อย่างเช่น ในซีรีส์ FRIENDS SS.1 ตอนที่ 1 มีเขียนซับอังกฤษว่า "Gotta" เราเคยเห็นแต่ไม่รู้ความหมายของมัน เราไปหาในเน็ตเลยค่ะ จึงรู้ว่ามันมาจาก (have) got to แปลว่าต้อง แต่ฝรั่งมักจะพูด I gotta... ประมาณนี้ค่ะทุกคน
- Vocabs : เราจะจดแค่คำศัพท์ที่เราไม่รู้ หรือศัพท์ที่เราจำไม่ได้จริงๆ ไปหาคำแปลใน Dictionary หรือในเน็ตก็ได้เลยตามสะดวกค่ะ จดทั้งความหมายและหน้าที่ของคำด้วยนะคะว่าเป็นคำนาม กริยา หรือว่าคำคุณศัพท์
- Sentence : อันนี้แล้วแต่ชอบเลยค่ะ เราอยากฝึกพูด ถูกใจประโยคไหนก็จดเป็นประโยคมาเลย อันนี้ไม่ต้องคัดมาหมดนะคะ เอาอันที่ชอบ อยากจดก็พอน้า
(4) ฝึกพูดตาม คือ Output ที่ดีมาก
การเรียนภาษาอังกฤษส่วนหนึ่งที่สำคัญ คือ การพูดค่ะ ถ้าถามว่าพูดกับใครล่ะ? คำตอบคือ พูดกับตัวเองค่ะ 55555 โดยส่วนตัวแล้วเราจะพูดตอนอยู่ในห้องคนเดียว ตอนเดินขึ้นบันได อาบน้ำ เป่าผม ทุกช่วงที่อยู่คนเดียวค่ะ ขอให้ได้พูดออกมาดีกว่าเก็บเอาไว้ในสมองอย่างเดียว ให้คำพูดออกโรงเลย 555 แนะนำอีกอย่างว่าตอนลิสต์ประโยคเสร็จก็ฝึกเลียนแบบพูดตามก็ได้เลยค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เราจำประโยคได้ไม่พอ ยังจำได้ว่าใช้ตอนสถานการณ์ไหนอีกด้วย เพราะว่าภาพจำเราตอนดูหนังมันฝังหัวไงล่ะ
(5) การดูซ้ำไม่ใช่เรื่องที่ผิด
การดูซ้ำสำหรับเราเป็นเคล็ดลับที่ดีมากเลยค่ะ เราดูซ้ำหนังที่เราเคยฝึกเป็นสิบๆ รอบ จนจำได้ว่าตัวละครจะพูดบทอะไรต่อไป ทำหน้ายังไง ฉากเป็นยังไงละเอียดอย่างนี้คือผลจากการดูซ้ำทั้งนั้น 5555 จนทุกวันนี้เราจำประโยค แกรมม่าภาษาอังกฤษบางอันได้แม่นโดยไม่ต้องพูดช้าๆ หรือนึกนานๆ ค่ะ ดังนั้น จำไว้ว่า การดูซ้ำมันเลิศมาก และถามว่าควรดูซ้ำกี่รอบ ก็จนกว่าเราจะเบื่อหรืออยากเปลี่ยนเรื่องใหม่ค่ะ อยากดูเรื่องใหม่ก็ move on ได้เลย
(6) Mindset ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
เคยไหมคะ เวลาที่เราดูหนังแล้วเราไม่รู้ศัพท์นั้นมากเกินไปจนทำให้รู้สึกท้อ แล้วจะพาลล้มเลิกการฝึกภาษาไปเลย จะบอกว่าไม่ผิดค่ะที่จะรู้สึกหรือคิดแบบนั้น เราเป็นคนไทยค่ะ ถ้าไม่ได้ถูกฝึกพูดมาตั้งแต่เด็ก หรือมีการซึมซับภาษา ที่บ้านไม่มีคนพูดภาษาอังกฤษได้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะไม่เข้าใจ อยากให้ทุกคนคิดมีมุมมองว่า "ทุกคำศัพท์ที่เราไม่รู้ คือบทเรียนชิ้นใหม่ของเรา" ถ้าเราปรับ mindset ได้แล้วเราจะฝึกภาษาอังกฤษจากการดูหนังได้อย่างมีความสุขค่ะ
(7) ความสม่ำเสมอ คือ กุญแจสำคัญของการฝึกฝน
เราจะทำอะไรสำเร็จหรือไม่ พัฒนาการดีขึ้นเท่าไหร่ ซามะขอบอกเลยว่าความสม่ำเสมอนี่แหละ เป็นคีย์พอยท์สำคัญที่สุด การที่เราไปอย่างช้าๆ แต่สม่ำเสมอมีโอกาสที่จะสำเร็จมากกว่าทำแล้วหยุด ทำแล้วพักยาวๆ สิ่งที่เรากำลังจะบอกก็คือ ถ้าเราอยากเก่ง อยากชำนาญ อยากคุ้นชินเราต้องหาอะไรที่เป็นภาษาอังกฤษฟังค่ะ อาจจะเป็นคลิป Podcast ที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษก็ได้ หรือถ้าเป็นดูหนัง ทุกคนไม่จำเป็นต้องดูหนังทุกวันก็ได้ ชีวิตประจำวันแต่ละคนมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำ อย่างน้อย 1 เดือนควรดูสัก 4-5 ครั้งก็ยังดี จะเป็นเรื่องง่ายหรือยากก็แล้วแต่สะดวกเลยจ้า ทำแบบนี้เพื่อให้เราอยู่ในแวดล้อมที่เป็นภาษาอังกฤษ ท่องไว้ค่ะ "ความสม่ำเสมอ คือ กุญแจสำคัญของการฝึกฝน"
7 trick นี้ทำให้ซามะจากที่ชอบภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ทำให้เราชอบมากขึ้นและอยากอยู่กับภาษาอังกฤษอย่างไม่กดดันค่ะ ใครที่รู้สึกท้อ รู้สึกว่ามันยากเราก็ลองกลับไปดูอะไรง่ายๆ เพื่ออุ่นเครื่องก่อนก็ได้ค่ะ อย่ากดดันตัวเอง เราต้องเรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตที่ดี ไม่มีใครที่จะมาทำให้เราเก่งอะไรได้ นอกจากตัวของเราเอง เราควบคุมตัวของเราได้ดีที่สุด ซามะขอเอาใจช่วยคนที่อยากฝึกภาษาอังกฤษนะคะ วันนี้ลาไปก่อน บายจ้า :)
เครดิตภาพ
ภาพปก : Canva จาก ผู้เขียน (ซามะ)
ภาพที่ 1 : Pexels จาก Lucas Pezeta
ภาพที่ 2 : iStock จาก Mohamad Faizal Bin Ramli
ภาพที่ 3 : iStock จาก djiledesign
ภาพที่ 4 : iStock จาก Chaay_Tee
ภาพที่ 5 : Pexels จาก Vlada Karpovich
ภาพที่ 6 : Pexelsจาก Andrea Piacquadio
ความคิดเห็น