รีเซต

ไลฟ์แฮ็ก

โรคลมชักในสุนัข

1.9k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
โรคลมชักในสุนัข

โรคลมชัก

     ภาวะอาการชักในสุนัขเกิดได้กับสุนัขทุกสายพันธุ์ ทุกช่วงอายุ โรคลมจากในสุนัขเป็นความผิดปกติทางด้านสมอง หรือระบบประสาท โดยภาวะชักจะแสดงอาการหลากหลายรูปแบบ เช่น อาการกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก หรือ ร่างกายเหยียดเกร็ง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในบางภาวะสุนัขอาจจะขับถ่ายออกมาโดยไม่รู้ตัวในระหว่างที่มีอาการชักนั่นเอง

     ในทางการแพทย์ยังไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ด้วยการเยียวยา หรือรักษาด้วยการประคับประคองไปตามอาการ เพื่อยืดระยะเวลาการเกิดอาการชักของสุนัขออกไปให้นานขึ้น เพื่อให้สุนัขสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั่นเอง

สาเหตุสาเหตุที่สุนัขเกิดภาวะอาการชัก

เกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็น 2 สาเหตุ คือ

1. ความผิดปกติทางด้านสมอง หรือระบบประสาทของสุนัข

2. เกิดจากความผิดปกติทางด้านร่างกาย หรือกระดูกสันหลังของสุนัข

Advertisement

Advertisement

สังเกต

สังเกตสุนัขก่อนเกิดภาวะอาการชัก

1. น้ำลายไหล อาการคล้ายเคี้ยวลิ้นตัวเอง

2. กล้ามเนื้อส่วนใบหน้า หรือ ร่างกายกระตุก

3. เกร็งคอ ชูหน้าขึ้น

4. ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ขับถ่ายออกมาโดยไม่รู้ตัว

5. มีไข้ ตาแดง หรือตาช้ำบวมอักเสบ

6. อาเจียนหลังทานอาหาร

7. มีอารมณ์หงุดหงิด หรือดุร้ายขึ้น

สุนัขทำอย่างไรเมื่อสุนัขเกิดอาการชัก

1. เคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือของแข็งรอบข้างสุนัขที่ก่อให้เกิดอันตรายได้

2. ห้ามนำมือเข้าใกล้ปากของสุนัข เพราะเมื่อสุนัขชักจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจจะโดนสุนัขกัดได้

3. ถ้าหากสุนัขมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงผิดปกติ ให้นำผ้าชุบน้ำเช็ดตัวสุนัข และนำพัดลมมาเป่าสุนัขเพื่อระบายความร้อนในร่างกาย

4. เจ้าของควรพูดคุย หรือปลอบโยนสุนัขเพื่อให้สุนัขรู้สึกปลอดภัย

5. นำสุนัขไปอยู่ในห้องมืด หรือห้องเก็บเสียง เพื่อป้องกันการชักของสุนัขจากสิ่งเร้ารอบข้างต่าง ๆ เช่น เสียงรถ เสียงต่าง ๆ กลิ่น และสิ่งเคลื่อนไหวรอบข้าง

Advertisement

Advertisement

6. ในขณะที่สุนัขเกิดอาการชัด สุนัขจะกัดลิ้นตัวเอง แนะนำให้นำผ้ามาม้วน และ ใส่ระหว่างฟันกรามของสุนัขเพื่อป้องกันสุนัขกัดลิ้นตัวเอง และเจ้าของควรระวังอย่าให้โดนสุนัขกัดด้วย

7. นวดส่วนหัว และต้นคอของสุนัขเบา ๆ เพื่อลดการเกร็ง และคลายกล้ามเนื้อของสุนัข เพื่อให้บรรเทาอาการชักลง

8. นำผ้าชุบน้ำเช็ดคาบน้ำลายสุนัขให้สะอาด และน้ำผ้าเช็ดให้แห้ง เพื่อให้สุนัขสบายตัว และไม่ได้กลิ่นนั่นเอง

9. นำเบาะรองสุนัข เพราะเวลาที่สุนัขเกิดอาการชัก หัวของสุนัขอาจจะกระแทกกับพื้นได้

10. เฝ้าดูอาการตลอดเวลา และจดบันทึกการชัก และระยะเวลาที่สุนัขชัก

สุนับพันธุ์คอร์กี้หลังจากที่สุนัขเกิดอาการชัก

     หลังจากที่สุนัขเกิดอาการชัก สุนัขจะมาการมึน เบลอ มองไม่เห็นชั่วขณะ หรืออ่อนแรง ขาหลังไม่มีแรง หรือสลบลง และอาจจะจำเจ้าของไม่ได้ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่สุนัขมีอาการชัก

Advertisement

Advertisement

     เมื่อสุนัขหยุดชักแล้ว เจ้าของควรพาสุนัขไปสัตวแพทย์เฉพาะทางของสุนัข เพื่อเข้ารับการรักษา และประเมินร่างกายของสุนัข เพื่อรับยาระงับภาวะอาการชัก หรือรับยารักษา และบำรุงประสาท

     เมื่อเข้ารับการรักษาแล้วสุนัขของท่านจะมีภาวะอาการชักน้อยลง หรือเกิดภาวะอาการชักช้าลง หรือสุนัขบางตัวอาจจะยังมีอาการชักอยู่ ในกรณีนี้ หมอจะจ่ายยาที่ใช้ระงับอาการชักของสุนัขแบบสวนทวารให้ เมื่อสุนัขมีอาการชักที่รุนแรงนั่นเอง

    หลังจากที่เข้ารับการรักษา และได้รับยาแล้ว เจ้าของเองก็ต้องเฝ้าดูแลสุนัขเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินอาการชักของสุนัข หรือจะจดบันทึงเอาไว้ เพราะเมื่อไปพบสัตวแพทย์ จะได้ปรับเปลี่ยนตัวยาให้เหมาะสมกับอาการของสุนัขนั่นเอง

ความรักหมายเหตุ

  โรคลมชักไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ จากเจ้าของสุนัขนั่นเอง


ภาพปกจาก : https://www.canva.com

ภาพประกอบจาก : ภาพที่ 1ภาพที่ 2ภาพที่ 3ภาพที่ 4

ภาพประกอบ ภาพที่ 5 จาก : เจ้าของบทความ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์