ไลฟ์แฮ็ก
ใครเป็นใคร ในกองถ่ายภาพยนตร์! เรามาทำความรู้จักกันดีกว่า...

Cr. ขอบคุณภาพโดย stokpic จาก https://pixabay.com/images/id-2545676/
ใครเคยดูภาพยนตร์จนจบถึงช่วงท้ายของภาพยนตร์บ้างว่าภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ต้องใช้ทีมงานกี่คน? เราจะมาทำความรู้จักพวกเขาว่าช่วงท้ายเครดิตที่ยาว ๆ นั้นมีตำแหน่งอะไรบ้าง แล้วพวกเขาทำหน้าที่อะไรกันบ้าง เรามารู้จักพวกเขากันเลย...
Cr. ขอบคุณภาพโดย meineresterampe จาก https://pixabay.com/images/id-973107/
1. Execusive Production : นายทุน หรือผู้อำนวยการผลิต/สร้าง บางครั้งเรียกว่าผู้ควบคุมงานสร้าง แต่จะเป็น Producer ในด้านเงินทุน จะเหนือกว่า Producer ก็ประมาณว่าเป็นคนให้เงินทุนทำหนังนั่นเอง
2. Producer : ผู้ควบคุมงานสร้าง เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนายทุน คอยดูแลควบคุมการถ่ายให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย เป็นคนคุยกับนายทุนให้เข้าใจในสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี ต้องควบคุมการใช้งบประมาณไม่ให้มากจนเกินไป บางครั้ง Producer ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วย
Advertisement
Advertisement
▪️Assosiate Production : ทำหน้าที่รับผิดชอบและประสานงานตามคำสั่งของผู้อำนวยการผลิต
▪️Production Manager (P.M.) : ผู้จัดการกองถ่าย ก็คือคนที่คอยดูแลประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการต่างๆในกองถ่าย เช่น นัดหมายนักแสดง จัดการเรื่องสวัสดิการในกองถ่าย ประสานงานในกองถ่าย ถ้ากองถ่ายขาดอะไร ต้องการอะไรก็ต้องหามาให้ได้ และต้องดูแลเรื่องของอาหาร ต้องเตรียมข้าว เตรียมน้ำมาเพื่อพร้อมทานตอนพักกอง จะเรียกคนที่ทำกับข้าวว่า Cateering
ผู้ช่วย P.M. อีก 2 คนคือ
▫️ PA >>> Production Assitant ผู้ช่วยกองถ่าย คอยเรียกนักแสดงเข้าฉาก
▫️ Spacial Effect เทคนิคในการทำฉาก
3. Script Writer : คนเขียนบทภาพยนตร์ คนที่สร้างสรรค์แนวความคิดออกมาเป็นบทเป็นเรื่องราวเพื่อถ่ายทอดให้ผู้กำกับเล่าออกมาเป็นภาพ
4. Director : ผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นคนคอยกำกับและครีเอทีพงานเพื่อเล่าเรื่องและต้องคอยรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ในกอง และที่สำคัญผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจ ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร
Advertisement
Advertisement
5. Director of Photography (DP) ,(DOP) : ช่างภาพ / Camera Man ตากล้อง แต่ถ้าเวลาทำหนังจะไม่เรียกกัน / Camera Operator ผู้ควบคุมกล้อง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถจัดแสงได้ / Steadicam Operator เป็นตากล้องคนหนึ่งเพียงแต่ว่ากล้องที่ถ่ายเป็นกล้องพิเศษที่เรียกว่า Steadicam คือกล้องที่เซ็ตไว้ให้ติดกับตัวของตากล้องเลย ซึ่งตากล้องคนนี้ต้องเป็นคนที่แข็งแรงและเชี่ยวชาญเอามาก ๆ
Cr. ขอบคุณภาพโดย Roger Blomquist จาก https://pixabay.com/images/id-3074391/
▪️AC 1 : Asst. camera 1 หรือเรียกว่า first AC ดูแลกล้อง คอยปรับโฟกัส ชาร์ตกล้อง ปัดเป่าเช็ดกล้อง
▪️AC 2 : Second AC มีหน้าที่ถือสเลท(Slatd) camera repord ข้างในต้องเขียน Short Sence ฉาก เช็คว่าต้องถ่ายอะไรไปบ้างและถ่ายอย่างไร
Cr. ขอบคุณภาพโดย stokpic จาก https://pixabay.com/images/id-2545676/
Advertisement
Advertisement
End Slatd ภาพของเสียง wave frome > เสียงที่เกิดจากการตี slatd ตัดตรงเสียงสูงของภาพslatd เสียงดังของslatd เอามาเชื่อมกันเรียก “sync sound” ใช้ในสถานการณ์ไม่เอาเสียง เรียกว่า “MOS” (Mute of Sound)
▪️AC 3 : จะเรียกว่า “loader” ใช้สำหรับกล้องฟิล์ม แต่ตอนนี้ปัจจุบันใช้ memory card ,computer ,ฮาร์ตดิส 2 ลูกอย่างต่ำ loader จะมี ฮาร์ตดิส 2 ลูกอย่างต่ำ computer ปลั๊ก3ตา เรียกเค้าอีกชื่อว่า “Dit” > Digiton intermedia transfer
Loader ก็คือคนที่ทำหน้าที่เตรียมฟิล์มและเปลี่ยนม้วนฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำ เวลาฟิล์มหมด ซึ่งจะมี Reporter ทำหน้าที่คอยจดเวลาที่ใช้ไปในฟิล์มแต่ละม้วน ว่าถ่ายอะไรไปบ้าง และ Reporter ก็จะคอยดูว่าฟิล์มใกล้หมดม้วนหรือยัง ความยาวของฟิล์มเพียงพอที่จะใช้ถ่ายทำในช๊อตต่อไปหรือเปล่า เพราะถ้าถ่าย ๆ อยู่แล้วฟิล์มกลับหมดขึ้นมา คนที่ซวยคือ Reporter มีความผิดโทษฐานที่ปล่อยให้ฟิล์มหมดม้วน
▪️ควบคุมเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ผู้คุมหลังเรียกว่า “Gaffer” คนจัดแสง มีผู้ช่วย Gaffer อีกคนหนึ่งคือ Best Boy ดูเช็คไฟ ปลั๊ก ฯลฯ
Gaffer มีผู้ช่วยคือ G&E
▫️G >>> Grip อุปกรณ์ช่วยทุกอย่างเกี่ยวกับการจัดการเรื่องอุปกรณ์ไฟ จะมี Dolly ,Sand Bag , Crune
*** ห้าม : ยุ่งเกี่ยวกับกล้องไม่ว่าจะช่วยถือให้หรือยืมเด็ดขาด
▫️E >>> Electric ช่างไฟ ทีมไฟ
6. ART : Production Designer (PD) ผู้ออกแบบงานสร้าง มีหน้าที่สร้างสรรค์รูปแบบ (Style) ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดทั้งเรื่องวางแผนการจัดฉาก มุมกล้อง Mood&Tone การจัดแสง การใช้สี เสื้อผ้า การแต่งหน้า ทรงผม ต้องควบคุมทุกอย่างโดยปรึกษากับผู้กำกับ เมื่อสรุปรูปแบบได้แล้วก็จะส่งมอบงานต่อให้กับ Art Director นำไปปฏิบัติ
▪️หัวหน้ารองจาก PD ก็คือ Art Director : ผลิต สร้าง ออกแบบ มีหน้าที่เซตให้ฉากนี้เกิดขึ้น
▪️Props. : อุปกรณ์ที่ใช้เข้าฉาก มันไม่ได้ถูกจัดวางและที่มีอยู่ เช่น พระเอกเดินมาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาคุย > โทรศัพท์ คือ props. /คือต้องใช้ถ่ายแบบมีความสำคัญ
*** Stylish >>> ที่เฉพาะเจาะจง เช่น หนังเกี่ยวกับอาหารก็จะไม่มี props. เปลี่ยนชื่อเป็น “stylish”
“Animal Wrangter” >>> ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์มาจัด props. แทน
▪️Make-up Artist : ช่างแต่งหน้านักแสดง
▪️Hair and make-up : ช่างทำผม
7. Location Manager : จัดหาสถานที่ ต้องคอยทำงานประสานงานกับผู้จัดการกองถ่ายตลอดเวลา ต้องหาที่แต่งหน้าทำผม ,ที่รับรองลูกค้า ,ที่จอดรถ ,สถานที่ถ่ายทำข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ,ป้ายบอกสถานที่ต่าง ๆ ,ห้องน้ำ ,ต้องสามารถเข้าไปติดต่อกับชุมชน
8. Casting Director : จัดหานักแสดง มีหน้าที่คัดเลือกนักแสดงนำและตัวประกอบ คนที่ทำหน้าที่นนี้ต้องเป็นคนใจเย็น สามารถพูดจาโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามได้ ต้องมีมุมมองและรสนิยมที่ดี และต้องทำเทปแคสติ้งว่าจะแคสนักแสดงด้วยบทไหน
9. Acting Coach : สอนนักแสดง ควรทำ Work Shop ก่อนที่นักแสดงจะถ่ายทำ
10. Fighting Coordinator : ผู้กำกับคิวบู้ > พันนา ฤทธิไกร ออกแบบคิวบู้ ถือว่าเป็น Martial Coreographer
11. Stuntman : นักแสดงแทน
12. Extra : นักแสดงสมทบ
13. Sound
▪️Boom Operator : ไมค์บูม เป็นไมค์ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บเสียงมาก
▪️Sound Recorder : คนคอยเก็บเสียงและบันทึก
14. Assistant Director : ผู้ช่วยผู้กำกับ
▪️AD 1 : ผู้ช่วยกำกับ 1 ทำ call sheet ,Break down คนที่ทำตำแหน่งนี้สามารถจะเติบโตเป็นทาง คือ ผู้กำกับ กับ Producer
▪️AD 2 : จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลนักแสดง
▪️AD 3 : ในกรณีที่ทำหนังใหญ่ ตำแหน่งนี้จะเพิ่มขึ้นมาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ
Cr. ขอบคุณภาพโดย StockSnap จาก https://pixabay.com/images/id-2562034/
กว่าจะมาเป็นภาพยนตร์ให้เราทุกคนได้ดูแต่ละเรื่อง ต้องผ่านการดูแลเอาใจใส่ของทีมงานแต่ละฝ่ายมาก อีกทั้งยังต้องใช้เวลามากมายไปกับการถ่ายทำ ทีนี้พวกเราก็รู้แล้วว่าตำแหน่งงานของแต่ละฝ่ายมีอะไรบ้าง และทำหน้าที่กันอย่างไรบ้าง หวังไว้ว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่านทุกท่าน
Cr. ขอบคุณภาพทั้งหมดจาก https://pixabay.com
ความคิดเห็น
