ไลฟ์แฮ็ก

"10 ศัพท์การถ่ายรูป" ที่มือใหม่ต้องรู้

8.9k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"10 ศัพท์การถ่ายรูป" ที่มือใหม่ต้องรู้

สมัยนี้ไม่ว่าการถ่ายรูปจะเปลี่ยนไปอย่างไร เราจะใช้มือถือถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายรูป แต่พื้นฐานการถ่ายรูปก็ไม่ได้เปลี่ยนไปนะครับ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องศัพท์เทคนิคของการถ่ายรูปที่ต้องรู้เพื่อการถ่ายภาพที่ดีขึ้น จะได้คุยกับช่างภาพได้รู้เรื่องนะจ๊ะ

อันที่จริงแล้วคำศัพท์ในการถ่ายภาพมีค่อนข้างเยอะ แต่จะขอเน้นเฉพาะศัพท์ที่จำเป็น และใช้บ่อยโดยจะอธิบายเป็นภาษาง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่เริ่มต้นถ่ายรูป หรือสนใจในการถ่ายรูปแบบจริงจังมากขึ้น จะได้เข้าใจได้ไม่ยากครับ


10 คำศัพท์ "การถ่ายภาพ" ที่มือใหม่ต้องรู้

1.

รูรับแสง (Aperture)

พื้นฐานการถ่ายรูปจริง ๆ แล้ว คือ การปล่อยให้แสงเข้าไปตกกระทบฟิล์ม หรือในปัจจุบันเป็นเรื่องของเซ็นเซอร์รับแสง ดังนั้นมนุษย์จึงสร้างตัวควบคุมรูรับแสงขึ้นมา เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าไปตกกระทบฟิล์มหรือเซ็นเซอร์ แต่รูรับแสงนอกจากจะทำหน้าที่รับแสงในปริมาณที่แตกต่างกันแล้ว ยังทำให้ผลของภาพแตกต่างกัน เช่นกล้องมือถือ มักจะโฆษณาว่ารูรับแสง f 1.4 หมายถึงสามารถถ่ายภาพได้ดีในเวลากลางคืนเพราะรับแสงค่อนข้างกว้างทำให้ปริมาณแสงที่เข้ามาค่อนข้างมากเป็นต้น หรือรูรับแสงที่กว้างจะให้ฉากหลังที่เบลอมากกว่ารูรับแสงที่แคบ ซึ่ง มักจะใช้ค่า f-stop และ f-number (ค่ารูรับแสง) เป็นตัวบอกความกว้างหรือแคบของรูรับแสง

Advertisement

Advertisement

ตัวเลขแสดงค่า รูรับแสงของเลนส์มือหมุนตัวเลขแสดงค่า รูรับแสงของเลนส์แบบมือหมุน

ภาพแสดงรูรับแสงและชัตเตอร์ของกล้อง Canon M50ภาพแสดงรูรับแสงและ ความเร็วชัตเตอร์ ของกล้อง Canon M50

2. ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

ความเร็วชัตเตอร์คือ ระยะเวลาความเร็วของชัตเตอร์ที่เปิดเพื่อให้แสงเข้าไปในฟิล์มหรือเซ็นเซอร์รับแสง ซึ่งจะเป็นตัวเลขเศษ 1 ส่วนวินาที เช่น 1 ส่วน 250 จะเท่ากับเศษ 1/250 วินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณแสงที่ผ่านเข้าไปถึง เซ็นเซอร์รับแสง มีน้อยลงทำให้ภาพมืดลง เมื่อเทียบกับ ชัตเตอร์ 1/60 ซึ่งตรงนี้จะทำให้ระยะเวลาของแสงที่เข้าไปตกกระทบฟิล์มหรือเซ็นเซอร์สั้น-ยาวไม่เท่ากัน ทำให้ความสว่างของภาพมากหรือน้อยไม่เท่ากัน นอกจากนี้ ความเร็วชัตเตอร์ ยังมีผลต่อการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ เช่น หากเราใช้ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ภาพที่ได้จะออกมาเบลอ
ปุ่มปรับปุ่มปรับ"ชัตเเตอร์สปีด" หรือ "ความเร็วชัตเตอร์" ในกล้องฟิล์ม

Advertisement

Advertisement

3.โฟกัส  (Focus)

โฟกัส คือ ระยะชัดของวัตถุที่อยู่ในภาพ เราเรียกว่า ระยะโฟกัส สิ่งที่อยู่นอกระยะชัดหรือ เอาท์โฟกัส ซึ่งจะทำให้ภาพวัตถุนั่น ๆ เบลอ ซึ่งปัจจุบันกล้องส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของออโต้โฟกัสช่วยให้โฟกัสชัดได้อย่างง่าย ๆ  แต่สำหรับคนที่หันกลับมาใช้เลนส์มือหมุน จะต้องปรับระยะโฟกัสเอง หรือที่เราเรียกว่าโฟกัสมือ (แมนนวลโฟกัส) นั่นเอง

ถ่ายด้วยกล้องแคนนอน M50ภาพจุดโฟกัสที่แก้วน้ำ กับฉากหลังที่เบลอจากการ Out of Focus

4. ระยะชัดลึก  (Depth of field)

หมายถึงระยะห่างของวัตถุที่ชัดในภาพที่ใกล้สุดไปจนถึงไกลสุด ซึ่งการถ่ายภาพบุคคล หรือการถ่าย Portrait มักจะชอบที่ใช้รูรับแสงที่กว้าง เพื่อให้มีระยะชัดตื้น ด้านหลังจะเบลอหรือที่เรามักเรียกกันว่า "หน้าชัดหลังเบลอ" ส่วนการถ่ายภาพบางอย่างเช่นสิ่งของเพื่อการโฆษณาเราอาจจะต้องการความชัดที่มากขึ้นเป็นต้น ระยะชัดลึก สามารถคำนวณได้จากความยาวโฟกัสของเลนส์ ระยะห่างของวัตถุ และรูรับแสง

Advertisement

Advertisement

ภาพชัดลึกภาพชัดลึก

ชัดลึก

ภาพชัดตื้น

5. ความไวแสง (ISO)

สมัยก่อนที่เราใช้ฟิล์ม สิ่งที่สำคัญคือฟิล์ม ซึ่งจะมีความไวต่อแสง คงที่  หากเราต้องการถ่ายภาพในที่มืดเราก็จะต้องซื้อฟิล์มที่มี ISO สูง ๆ หรือความไวต่อแสงสูงขึ้นนั่นเอง หากเราต้องการภาพพิเศษบางชนิดเช่น ภาพที่มีความละเอียดสูง เราก็จะต้องใช้ฟิล์มที่มี ISO ต่ำขึ้นเพื่อให้มีความละเอียดของเกรนเยอะขึ้นนั่นเอง แต่สำหรับปัจจุบันนี้เราใช้เซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นอิเล็กทรอนิกส์เราสามารถปรับตั้ง ISO ได้ในขณะที่เราถ่ายภาพ ซึ่งจะมีผลทำให้ เกรนของภาพแตกต่างกันออกไป การใช้กล้องดิจิตอลที่ ISO สูง ๆ จะทำให้เกิดเกรนของภาพมากขึ้น หรือเห็นภาพแตกเป็นเม็ดนั่นเอง

6. สมดุลแสงสีขาว (White balance)

ทุกวันนี้แสงที่เรามองเห็นจากดวงอาทิตย์หรือแหล่งกำเนิดแสงอื่น ๆ เช่นหลอดไฟในบ้าน หลอด LED สายตาของเราจะไม่ค่อยรู้สึกเปลี่ยนแปลงต่ออุณหภูมิสีเท่าไหร่ อาจจะมีช่วงที่เป็นแสงสีเหลืองมาก ๆ เช่นตอนเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก เราจะรู้สึกสีของลำแสงจากดวงอาทิตย์ เป็นแสงสีทอง หรือสีส้ม ในขณะที่หลอดไฟในบ้านเป็นแสงสีขาวปกติ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะสายตาของเรา สามารถปรับสมดุลของแสงสีขาวได้โดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุนี้เอง กล้องปัจจุบันสมัยใหม่ที่เป็นกล้องดิจิตอลจึงมีโหมด white balance หรือสมดุลแสงสีขาว ขึ้นมาเพื่อให้ตัวกล้องปรับสมดุลสี เนื่องจากว่าจริง ๆ แล้วแสงจากแหล่งกำเนิดแสงต่าง ๆ กัน ให้สีที่แตกต่างกัน เช่นหลอดไส้จะเป็นสีเหลือง และหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะเป็นแสงโทนสีเขียวฟ้า การที่เราปรับ white balance ในกล้องทำให้เราสามารถควบคุมภาพให้ได้สีที่ถูกต้องนั่นเอง

แสงสี

7. ภาพ OVER EXPOSURE หรือ UNDER EXPOSURE

ในการถ่ายรูป นอกจากที่เราจะรู้อยู่แล้วว่า มันคือการรับปริมาณแสงเข้าไปในกล้องแล้วตกกระทบที่ฟิล์มหรือเซ็นเซอร์รับแสง ดังนั้น

ถ้าเราปล่อยให้แสงมีปริมาณมากเกินไป
ทำให้ภาพสว่างเกินความเป็นจริง
เราจะเรียกสิ่งนั้นว่า
"ภาพ OVER EXPOSURE" หรือ ภาพโอเวอร์

ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้ส่วนใหญ่ในรูป มีความขาวมากกว่าปกติ รวมถึงเราจะไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดเนื่องจากความสว่างของมันมากเกินไปนั้นเอง

ลักษณะภาพ over

ในทางกลับกันหากเราปล่อยให้แสงเข้าไปน้อยเกินว่าที่เซ็นเซอร์หรือฟิล์มจะรับรู้ได้ ทำให้บริเวณของภาพส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างที่จะมืด หรือไม่มีรายละเอียดเกิดขึ้นนั่นเอง เราจะเรียกภาพลักษณะนี้ว่า Under EXPOSURE หรือภาพที่ถ่ายมาได้แสงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

ภาพอันเดอร์

8.โบเก้ (Bokeh)

หมายถึงจุดสว่างที่อยู่นอกระยะโฟกัสซึ่งเป็นผลที่ได้จากเลนส์ถ่ายภาพ ทำให้จุดนั้นบวมใหญ่ขึ้น ในลักษณะที่มัวขยายใหญ่ขึ้น เราจะเรียกมันว่า โบเก้ ซึ่งเป็นลักษณะวงกลมผสมกับสีของวัตถุที่อยู่ด้านหลังที่ out-of-focus เป็นลักษณะพิเศษที่หลายคนชอบในการถ่ายภาพ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเภทของเลนส์ และทางยาวโฟกัสของเลนส์ด้วย และถือเป็นความสวยงามอย่างหนึ่งของภาพ ครับ

โบเก้ ถ่ายโดยกล้อง Canon M50ดูลักษณะ โบเก้ บริเวณฉากหลัง


9.องค์ประกอบภาพ (Composition)

ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพด้วยกล้องมือถือหรือกล้องขนาดใหญ่แบบมืออาชีพ เนื้อหาของภาพ การวางจุดสนใจ การจัดองค์ประกอบ เราจะเรียกโดยรวมว่าคอมโพซิชั่น หรือองค์ประกอบในภาพถ่ายทั้งหมด เป็นสิ่งจำเป็นเสมอ ซึ่งในที่นี้ซึ่งผู้ถ่ายภาพจะต้องเรียนรู้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ไม่ว่าจะเป็นตามหลักของศิลปะ การใช้งานกฎ 3 ส่วน จุดตัด 9 ช่อง และเส้นนำสายตาเป็นต้น เพื่อให้ได้ภาพที่มีองค์ประกอบภาพสวยงามหรือน่าสนใจ

Eos m50ถ่ายโดยกล้อง Canon M50 50 mm 1/1000 sec; ISO 200

10.ภาพ Portrait

หมายถึงการถ่ายภาพบุคคล หรือภาพที่เป็นลักษณะแนวตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพบุคคลที่ทำท่าทางต่าง ๆ โดยจะเน้นไปที่ตัวแบบไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอน แต่จะเน้นไปที่ตัวแบบมากกว่า มีทั้งแบบครึ่ง ตัวเต็มตัว ฯลฯ

ภาพนางแบบ

ยังมีคำศัพท์และความรู้ที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพอีกมากนะครับ เชื่อว่าบทความนี้จะทำให้น้อง ๆ มือใหม่ เข้าใจความหมายของคำศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ได้มากขึ้นนั่นเอง

ติดตามผู้เขียนเรื่องของการถ่ายภาพได้ที่  Youtube : online2easy

Facebook : https://www.facebook.com/online2easy/

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

(ภาพทั้งหมดโดยผู้เขียน)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์