ไลฟ์แฮ็ก

5 เคล็ด(ไม่)ลับ เรียนอย่างไรให้เข้าใจเนื้อหา

5.7k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เคล็ด(ไม่)ลับ เรียนอย่างไรให้เข้าใจเนื้อหา

สวัสดีเพื่อนนักอ่านนักเขียนทุกคนด้วยนะครับ วันนี้ผู้เขียนจะมาเเชร์บทความ 5 เคล็ดลับเรียนอย่างไรให้เข้าใจเนื้อหา เป็นเคล็ดลับที่ตัวผู้เขียนเองใช้ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม โดยที่ตัวผู้เขียนนั้นไม่เคยผ่านการเรียนพิเศษมาเลยเเม้เเต่นิดเดียว ส่วนใหญ่เเล้วจะเน้นทำความเข้าใจเนื้อหาจากการเรียนโดยตรง เเละนำมาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง ทั้งนี้ เเต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเองที่ต่างกันออกไป เเนะนำว่าให้เอามาเป็นเเนวทางการพัฒนาตนเอง มากกว่าการนำไปใช้ทั้งหมด


1. ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย ไม่หยอกล้อเล่นกัน หรือไม่เล่นมือถือระหว่างเรียน

หอประชุม ร้านอาหาร โรงงาน การประชุม มื้ออาหาร การฝึกอบรม ห้องประชุม ห้องเรียน การออกแบบตกแต่งภายใน เก้าอี้ นักเรียน สาธารณะ การประชุม บทเรียน ลำโพง ครู การสอน การประชุม สอน ศูนย์การประชุม วิทยาลัย การฝึกอบรมวิชาชีพ ห้องประชุม ครู คนที่ยืนอยู่ ห้องโถงทำงาน การประชุมวิชาการ หอประชุม

ขอบคุณรูปภาพจาก http://pxhere.com/th/photo/618609

ข้อนี้ถือเป็นข้อที่เป็นพื้นฐานของการเรียนมาก ๆ เพราะการที่เราจะเข้าใจอะไรได้นั้น เราต้องตั้งใจฟังเสียก่อน เพราะไม่อย่างนั้นเเล้ว สมองของเราจะไม่เก็บข้อมูลนั้นเอาไว้ ยิ่งถ้ากำลังเรียนวิชาที่ไม่เข้าใจ หรือวิชาที่เราอ่อน ยิ่งต้องตั้งใจฟังเป็นพิเศษ จะได้มีคำถามไว้ในใจเพื่อไปถามเพื่อน หรือถามอาจารย์เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ตัวเอง บางวิชาถ้าเราไม่เริ่มตั้งใจฟังตั้งเเต่คาบเเรกที่เข้าเรียน เราอาจจะไม่เข้าใจวิชานั้นไปตลอดทั้งภาคเรียนเลยก็เป็นได้ เพราะเนื้อหาช่วงต้น จนถึงช่วงท้ายมันเชื่อมต่อกัน มีบางครั้งที่เนื้อหาจะนำช่วงต้นมาอธิบายเพื่อหาเหตุผลต่าง ๆ เเล้วพอเรามาตั้งใจเรียนช่วงท้ายหรือช่วงกลางเนื้อหา มันจะเกิดความงุนงงเเละไม่เข้าใจขึ้นมาได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจฟังเนื้อหาตั้งเเต่ต้นเเล้วนั่นเอง

Advertisement

Advertisement


2. ไม่เข้าใจตรงไหน ให้ยกมือถามอาจารย์ หรือถ้าไม่กล้าก็ลองไปถามเพื่อนที่เก่งในวิชานั้นดู

ห้องพัก การศึกษา ห้องเรียน เด็ก ๆ ห้องสมุด นักเรียน โรงเรียน การเรียนรู้ ชั้น อินโดนีเซีย ครู บาลา ชั้นเรียน นักเรียน

ขอบคุณรูปภาพจาก http://pxhere.com/th/photo/1237486

บางครั้งการตั้งใจเรียนก็ไม่อาจจะทำให้เราเข้าใจได้ ยิ่งถ้าเป็นวิชาที่เราไม่ถนัดหรือวิชาที่เราไม่ชอบเป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว ยิ่งจะทำให้ไม่เข้าใจมากขึ้นไปอีก สิ่งเดียวที่เราต้องทำก่อนเนื้อหาที่ไม่เข้าใจนี้จะผ่านบทไป คือการยกมือถามอาจารย์นั่นเอง เพราะอาจารย์จะได้หยุดเนื้อหาที่กำลังสอน เเล้วมาอธิบายให้เราได้หายข้องใจ หรือไม่ก็ลองเดินไปถามหัวข้อที่ข้องใจกับอาจารย์หลังจากจบคาบเรียน เเต่ว่ามันจะมีบางคนที่ไม่กล้าถาม เพราะด้วยความเขินอายหรืออะไรก็ตามเเต่ ถ้ามีอาการเเบบนั้นให้ลองเบนเข็มไปถามเพื่อนในห้อง ถามคนที่ดูท่าทางเเล้วน่าจะเชี่ยวชาญในวิชานี้เป็นพิเศษ ถ้าได้เรียนกับเพื่อนใกล้ตัว อาจจะพอช่วยให้ลดความเกร็งหรือความเขินอายลงได้บ้าง สุดท้ายเเล้วถ้าไปถามใครเเล้วไม่เข้าใจจริง ๆ ลองหันหน้าเข้าหาเทคโนโลยี พิมพ์ค้นหาวิธีทำหรือคำตอบใน Google ก็ได้ ยิ่งทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไกล คนที่มีความรู้เขาจะมาเเบ่งปันเทคนิค เป็นประจำอยู่เเล้ว หน้าที่ของเราที่อยากทำความเข้าใจก็เเค่ ตั้งคำถาม เเล้วพิมพ์ค้นหาลงไปในช่องค้นหา

Advertisement

Advertisement


3. จดบันทึกเนื้อหาที่เรียน เเล้วนำไปทบทวนที่บ้านอีกครั้ง

ธุรกิจ, โต๊ะเขียนหนังสือ, เอกสาร, มือ, การเรียนรู้

ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/images/id-1868015/

เมื่ออาจารย์เริ่มสอน เเละเริ่มจดตัวอย่างเเบบทดสอบ จดเนื้อหาลงบนกระดาน ให้เรารีบจดตามทันที เพราะจะได้นำเนื้อหานั้นกลับไปทบทวนทีหลัง เเต่ไม่ควรตั้งใจจดอย่างเดียว ให้ทำความเข้าใจไปด้วย เพราะการจดอย่างเดียวเเต่ไม่ทำความเข้าใจเลยนั้น พอถึงบ้านเเล้วเปิดเนื้อหาขึ้นมาอ่าน เราจะไม่เข้าใจเนื้อหาที่จดมาเลย การจดบันทึก สามารถเล่นลูกเล่นต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจได้ เช่น การใช้ปากกาเน้นคำ มาขีดทับเนื้อหาที่สำคัญต่อการเรียนครั้งนั้นเอาไว้ เมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องอ่านเนื้อหาในเล่นนั้น จะส่งผลให้เราทำความเข้าใจกับมันได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นเเล้ว หลังจากจดให้นำกลับมาทบทวนด้วย ไม่ใช่จดเอาไว้เพียงอย่างเดียว ไม่เคยเปิดออกมาทบทวนเลยเเม้เเต่ครั้งเดียว

Advertisement

Advertisement


4. เเยกเนื้อหาที่เรียนมา กระจายเป็นรูปเเบบของ Mind Mapping

ผู้หญิง, จิตใจ, สาว, สื่อสังคม, ความสุข, แผนที่

ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/images/id-1169316/

บางครั้งการจดอย่างเดียว ก็ไม่อาจทำให้เราเข้าใจมันได้ ยิ่งถ้าบางคนจดมาเเบบข้ามขั้นตอน ยิ่งจะทำให้สับสนไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อตัวรู้เเล้วว่าเนื้อหาในบทเรียนครั้งนี้มีอะไรบ้าง ให้เราทำการสร้าง Mind Mapping ขึ้นมาทันที เพราะมันจะช่วยให้เราเข้าใจได้ง่ายว่า เนื้อหาย่อยที่จะเรียนต่อไปนี้ มันอยู่ในส่วนไหนของเนื้อหาหลัก อาจจะจดเนื้อหาในบทนั้นเพิ่มลงไปด้วยก็ได้ จะได้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นกว่าการจดเเบบปกติ เเต่หากลองทำเเล้วเกิดความรู้สึกงง ก็ให้เลิกไป เพราะคนเรานั้นมีความถนัดต่างกัน บางคนชอบการจดเเบบบันทึกเป็นตัวอักษร เเต่บางคนอาจจะชอบทำความเข้าใจกับรูปภาพได้ดีกว่า ก็ลองจดบันทึกข้อมูลในรูปเเบบ Mind Mapping ดู


5. ติวกับเพื่อนหลังเลิกเรียนหรือก่อนเข้าเรียน

คน, สาว ๆ, ผู้หญิง, นักเรียน, เพื่อน, การศึกษา

ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2557399/

ก่อนเข้าเรียนหรือหลังเลิกเรียน ลองชวนเพื่อนไปติวเนื้อหาในวันนี้ด้วยกัน มันจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาในวันนี้ได้ โดยที่ไม่ต้องไปท่องจำหรือทบทวนในสมุดจดเลย เเถมยังเป็นการทบทวนความจำที่สนุกขึ้นอีกด้วยนะ เพราะได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งความสนุกสนานเฮฮาในกลุ่มเพื่อนของเรา เพื่อนเเต่ละคน ก็จะมาเเชร์ความรู้ในเเบบที่ตัวเองได้รับมา ตรงไหนไม่เข้าใจก็สามารถถามตอบกันได้ด้วย ส่วนใหญ่วิธีนี้หลายคนจะนำไปทำช่วงใกล้สอบ เพราะจะได้ช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาในข้อสอบได้ง่ายขึ้นด้วย เเต่หาไม่รู้ไม่ว่า มันนำไปใช้กับการเรียนปกติได้ด้วยนะ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ทบทวนเฉพาะช่วงก่อนสอบอย่างเดียว


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับเคล็ดลับในการเรียนยังไงให้เข้าใจ ที่ผมได้หยิบยกมาเเนะนำในบทความนี้ สามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนของทุกคนได้เลยนะ เพราะส่วนใหญ่เเล้วช่วงมัธยมผู้เขียนก็นำวิธีเหล่านี้ไปใช้ จนสามารถจบออกมาได้ด้วยเกรดที่ไม่ได้สูงมาก เเต่ถือว่าดูดีอยู่ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ไว้เจอกันใหม่ในบทความครั้งหน้า สำหรับวันนี้ ขอบคุณเเละสวัสดีครับ

ขอบคุณภาพปกจาก http://pxhere.com/th/photo/1454051

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์