ไลฟ์แฮ็ก

5 เทคนิคเขียนช็อตโน๊ตยังไงให้ได้ใจความครบถ้วน

1.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เทคนิคเขียนช็อตโน๊ตยังไงให้ได้ใจความครบถ้วน

เวลาที่เราต้องนั่งฟังอาจารยอธิบายเนื้อหาสำคัญ ๆ ในรายวิชาที่เราต้องเรียน รวมไปถึงคนที่ต้องสรุปใจความสำคัญของการประชุมของเจ้านาย การจดสิ่งสำคัญจากการได้ยินออกมาเป็นข้อความคงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะไหนจะต้องฟังสิ่งที่เราได้ยิน กลั่นออกมาเป็นข้อความอีก ดังนั้นวันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ มาแนะนำสำหรับคนที่ต้องการจดบันทึกเรื่องราว ๆ สำคัญ ๆ ออกมาให้ได้ใจความครบถ้วน กับ 5 เทคนิคเขียนช็อตโน๊ตยังไงให้ได้ใจความครบถ้วนมาฝากจ้า

writeภาพถ่ายโดย Bich Tran จาก Pexels

1. เลือกใช้วิธีที่เราถนัด 

วิธีที่เราพูดถึงคือ รูปแบบของการจดสิ่งสำคัญที่เราได้ยินออกมาเป็นข้อความ ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป ใส่สัญลักษณ์ การเเขียนผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ หรือแม้แต่วิธีการดั่งเดิมแบบจดลงไปกับกระดาษเลยก็ได้ เช่นกัน เพราะแต่ละคนนั้นมีวิธีการในการเรียนรู้ และการตีความจากสิ่งที่ได้ยินออกไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำหากอยากจดช็อตโน๊ตได้ดี คือ การเลือกวิธีการที่เราถนัดก่อน จะดีที่สุดคะ

Advertisement

Advertisement

2.  สรุปออกมาเป็นภาษาของเราเอง ตามความเข้าใจของเรา

การตีความจากสิ่งที่เราได้ยิน แล้วแปลงออกมาเป็นภาษาของเรา มากกว่าการใช้คำพูดแบบคำต่อคำมาเลย นอกจากจะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เราได้ยินตามแบบฉบับเฉพาะตัวของเราแล้ว ยังเป็นการรีเช็คตัวเองได้ดีอีกด้วยว่า สิ่งที่เราได้ยินนั้น เราตั้งใจฟังมันจริง ๆ จนเข้าใจแล้วแปลงมันเป็นภาษาของเราเองได้หหรือไม่ 

writeภาพถ่ายโดย Madison Inouye จาก Pexels

3. ใช้สัญลักษณ์หรือหัวข้อย่อยต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

ส่วนใหญ่แล้ว เวลาที่เราฟังอาจารย์หรือเจ้านายอธิบายหัวข้อต่าง ๆ ก็มักจะมีการอธิบายเป็นสเต็ปหรือเป็นขั้นเป็นตอนอยู่แล้ว แต่หากว่าการฟังนั้นเป็นการพูดแบบโดยกว้างไม่มีหัวข้อย่อยอะไรเลย เราก็ควรพยายามสรุปออกมาให้เป็นข้อ ๆ หรือเป็นหัวข้อย่อย ๆ เช่น 1,2,3..... เพื่อเวลาที่เรากลับมาทบทวนจะได้เกิดความเข้าใจว่าควรเริ่มต้นทำอะไรก่อนหลัง หรือแม้เวลาอ่านก็จะได้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เราเองสามารถเข้าใจในสัญลักษณ์นั้น ๆ ก็จะยิ่งให้เราได้ข้อมูลสำคัญ ๆ ในแต่ละหัวข้อได้ดียิ่งขึ้นด้วย

Advertisement

Advertisement

4. จดคำถามที่เราไม่เข้าใจหรือดีเทลอื่น ๆ  ที่เราคิดได้จากการฟังนั้นลงไปด้วย

ในระหว่างการฟังนั้น เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่เราจะต้องเจอจุดที่เราเกิดความสงสัยหรือมีความคิดต่อยอดมาจากสิ่งที่เราได้ยิน ดังนั้นในระหว่างที่จด ควรใส่ข้อสงสัย ซักถามพร้อมใส่สัญลักษณ์เครื่องหมายคำถามลงไปด้วย เพื่อที่ว่าเมื่อการฟังจบลงเราจะสามารถสอบถามไปยังผู้ที่พูดอยู่ได้ และนอกจากนี้การสรุปต่อยอดจากสิ่งที่เราคิดได้เพิ่มเติมจากเรื่องที่เราฟังไป นอกจากจะเป็นการเช็คว่าเราเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ได้ดีแล้ว ยังแสดงถึงว่าเราเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ได้ทันทีอีกด้วย จึงควรต้องเขียนลงไปทุกครั้งที่เราได้ประเด็นใหม่ ๆ จากการฟัง

writeภาพถ่ายโดย Jessica Lewis จาก Pexels

5. สรุปเนื้อหาออกมาอีกครั้งหนึ่ง

ในการจดช็อตโน๊ตในครั้งแรก เราอาจจะสรุปออกมาได้อย่างไม่เรียบร้อยมากนัก เป็นภาพ ข้อความ หรือสัญลักษณ์เยอะแยะเต็มไปหมด เพื่อให้ทันกับใจความสำคัญในช่วงเวลานั้น ๆ ที่เรากำลังฟังอยู่ ดังนั้นการเขียนสรุปเนื้อหาหลังจากที่เราได้เขียนช็อตโน๊ตไปในรอบแรก ออกมาเป็นภาษาของเราเองทั้งหมดในรอบที่ 2 จึงทำให้เนื้อหาที่ได้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นการทบทวนความเข้าใจของเราเองด้วยว่า เราเข้าใจในสิ่งที่เราฟังมาจริง ๆ หรือเปล่า ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นการทบทวนเนื้อหาที่ดี ไม่ต่างจากการอ่านหนังสือเลยนะ ตอนเราเรียนก็ใช้วิธีนี้เลย เวิร์คสุด ๆ 

Advertisement

Advertisement

หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้รับเทคนิคการจดบันทึกดี ๆ ที่นำมาฝากกันในวันนี้นะคะ บทความหน้าจะนำเทคนิคดี ๆ อะไรมาฝากกัน ฝากติดตามและเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ 

ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

กำลังโหลดบทความ ...
กำลังโหลดบทความ ...