ไลฟ์แฮ็ก

5 IDE ยอดฮิตสำหรับการเขียนโปรแกรมด้านต่างๆ

1.6k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 IDE ยอดฮิตสำหรับการเขียนโปรแกรมด้านต่างๆ

IDE (integrated development environment) คือ โปรแกรมประยุกต์ซอฟต์แวร์ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ซึ่งมีให้เลือกใช้งานมากมาย โดยบทความนี้จะแนะนำ IDE ที่เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมต่างๆในการเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนา Microcontroller, Software จนไปถึง Application เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้โปรแกรมเพื่อพัฒนา

1) Visual Studio Code (VS Code)

https://bit.ly/3d4c3LU

Visual Studio Code หรือ VS Code ซึ่งพัฒนาโดย Microsoft ถือเป็นโปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้รอบด้านมากที่สุด เนื่องจากสามารถดาวน์โหลด extension ต่างๆได้ทั้ง extension แบบภาษาโปรแกรมต่างๆมากมายเช่น ภาษา C, ภาษา Python, ภาษา Dart หรือ ภาษา Java / extension แบบ app theme ต่างๆอีกทั้งยังมี app theme แบบพื้นฐานที่มีให้พร้อมใช้ตั้งแต่ดาวน์โหลดโปรแกรมได้แก่ Black Theme และ White Theme รวมถึงสามารถเปลี่ยนสีของตัวหนังสือที่แสดงในคำสั่ง command ต่างๆของภาษาโปรแกรมนั้นๆได้ / extension แบบ co-working ที่ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมร่วมกับคนอื่นได้เช่น GitLens ซึ่งเป็นการเชื่อมไฟล์โปรแกรมที่เขียนอยู่กับโปรแกรม Github ได้

Advertisement

Advertisement

จุดเด่น :

  • มี extension ต่างๆเพื่อปรับแต่งภายในโปรแกรมมากมาย
  • สามารถเชื่อมกับโปรแกรม Github ได้สะดวกที่สุด เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมร่วมกับเพื่อนร่วมงาน

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ :

  • ระบบแนะนำคำสั่งในทุกๆภาษา
  • สามารถใช้งานผ่านเว็ปไซต์ได้ในกรณีที่ไม่ต้องการโหลดโปรแกรม

รีวิวหลังใช้งาน : โปรแกรมมี user interface ที่สวย ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น โหลดเพียงโปรแกรมเดียวสามารถเขียนได้เลยทุกภาษา

Link ดาวน์โหลด : https://code.visualstudio.com

2) Android Studio

https://bit.ly/3ztNgs9

Android Studio ถูกพัฒนาโดย Google ที่สร้างมาเพื่อเขียนโปรแกรมสำหรับลงแอปพลิเคชัน Android โดยเฉพาะ โดยสามารถดาวน์โหลด extension ต่างๆได้เหมือนกับ Visual Studio Code หรือ VS Code แต่ใน Android Studio จะถูกเรียกว่า Plugins แทน และสามารถสร้าง Android Simulator ต่างๆได้โดยสามารถปรับแต่ง config ต่างๆได้เช่น ขนาดหน้าจอ เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ Android และสามารถนำ Android Simulator นี้ไปใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่นได้เช่น Visual Studio Code หรือ VS Code หรือใช้งาน Android Simulator นี้ภายในตัวโปรแกรม Android Studio เองก็สามารถทำได้เช่นกัน

Advertisement

Advertisement

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ :

  • ระบบแนะนำคำสั่งในภาษา Java ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบ Android

รีวิวหลังใช้งาน : สามารถใช้พัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android ได้สะดวกมาก แต่ user interface ยังไม่สวยและน่าใช้เท่ากับ VS Code แต่สามารถใช้งานโปรแกรมได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ window และ macOS จึงน่าจะเหมาะสำหรับสายแอปพลิเคชันที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการ window

Link ดาวน์โหลด : https://developer.android.com

3) Xcode

https://apple.co/3zwzQf5

Xcode เป็นโปรแกรมสำหรับเขียนภาษา Swift ซึ่งถูกพัฒนาโดย Apple เพื่อเขียนโปรแกรมสำหรับแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS มีจุดเด่นที่ฟังชัน Xcode Preview ซึ่งสามารถช่วยแสดงโค้ดที่เราเขียนได้ในทันที โดยที่เราไม่ต้องกด Run ใน iOS Simulator ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลาการทำพัฒนาลงได้และสามารถสร้าง Simulator ได้เหมือนกับ Android Studio และสามารถปรับแต่ง config ต่างๆได้เหมือนกันเช่น รุ่นของ iOS Simulator แต่ไม่สามารถเลือกเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการได้เหมือนกับ Android Studio โดยตัวโปรแกรมจะใช้เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการจากเวอร์ชันของโปรแกรมเช่น Xcode เวอร์ชันล่าสุดจะใช้เวอร์ชันของ iOS ล่าสุดเช่นกัน แต่โปรแกรมนี้มีข้อเสียที่สำคัญมากนั่นคือสามารถดาวน์โหลดได้เพียงในระบบปฏิบัติการ macOS เท่านั้น

Advertisement

Advertisement

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ :

  • ระบบแนะนำคำสั่งในภาษา Swift ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบ iOS

รีวิวหลังใช้งาน : เป็นโปรแกรมที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS เพียงโปรแกรมเดียว จึงเหมือนเป็นการบังคับว่าต้องใช้โปรแกรมนี้โปรแกรมเดียว แต่ user interface ก็สวยงามและน่าใช้ใกล้เคียงกับ VS Code และเหมาะสำหรับคนเริ่มต้นในการเขียนแอปพลิเคชันบนมือถือเนื่องจาก ใช้ภาษา Swift ในการพัฒนาโปรแกรมซึ่งเป็นภาษาที่มีความง่ายมากกว่า Kotlin หรือ Java ที่ใช้เขียนใน Android Studio

Link ดาวน์โหลด : https://apps.apple.com

4) PyCharm

https://bit.ly/3P3OcsV

PyCharm เป็นโปรแกรมที่ใช้เขียนภาษา Python โดยเฉพาะซึ่งมี JetBrains เป็นผู้พัฒนาโดยแบ่งเป็นเวอร์ชั่นแบบฟรีและแบบเสียเงิน โดยเวอร์ชันฟรีจะเรียกว่า PyCharm Community ส่วนเวอร์ชันเสียเงินจะเรียกว่า PyCharm Professional และยังมี PyCharm EDU สำหรับนักเรียน นักศึกษาและครูอีกด้วย ซึ่งสามารถใช้ฟีเจอร์ทุกอย่างได้เหมือนกับ PyCharm Professional โดยจะเป็นแบบต่ออายุรายปี โดยใช้อีเมล์มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนในการสมัคร โดย PyCharm Professional หรือเวอร์ชันเสียเงินจะมีราคาแบบรายปีซึ่งยิ่งซื้อแบบรวมเป็น 3 ปี ก็จะได้ราคาที่ถูกลงไปอีก เพราะในปีที่ 2 และ 3 จะได้ส่วนลดเพิ่ม โดยราคาต่างๆจะมีดังนี้

  • สำหรับการซื้อ 1 ปีแรก จะมีราคา 2,700 บาท โดยประมาณ
  • สำหรับปีที่ 2 จะมีราคา 2,150 บาท โดยประมาณ
  • สำหรับปีที่ 3 จะมีราคา 1,600 บาท โดยประมาณ

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ :

  • ระบบแนะนำคำสั่งในภาษา Python
  • ระบบเชื่อมกับฐานข้อมูล (Database) ได้โดยตรง

รีวิวหลังใช้งาน (เวอร์ชัน Education) : โปรแกรมมีการออกแบบมาให้ใช้สำหรับเขียนภาษา Python โดยเฉพาะภาษาเดียว แต่ user interface บางส่วนจะดูใช้ยากเนื่องจากค่อนข้างมีความซับซ้อนไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

Link ดาวน์โหลด : https://www.jetbrains.com

5) Arduino IDE

Arduino pic

Arduino IDE เป็นโปรแกรมเพื่อเขียนโปรแกรมให้กับ Microcontroller Board ต่างๆเช่น Arduino Nano, Arduino Mega, Arduino Uno หรือ ESP8266 (NodeMCU) ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ด้วยภาษา C++ ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่ออัปโหลดลง Microcontroller Board ต่างๆ โดยสามารถดาวน์โหลด library ที่ใช้กับ Sensor ต่างๆเช่น Library LiquidCrystal ที่ต้องดาวน์โหลดและ #includeในโค้ดเพื่อใช้จอ LCD ร่วมกับ Board

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ :

  • สามารถ Save โปรแกรมที่เขียนไว้แล้วอัปโหลดขึ้นเว็ปด้วยบัญชี google ได้โดยตรงผ่านเว็ปไซต์ arduino

รีวิวหลังใช้งาน : โปรแกรมสามารถใช้เขียนโค้ดใส่ Microcontroller Board ได้ง่าย ฟังชัน ฟีเจอร์ ต่างๆใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเขียนโปรแกรมด้าน Microcontroller มี Library ที่ต้องใช้ร่วมกับ sensor ต่างๆให้ดาวน์โหลดทันทีภายในโปรแกรมแต่ Library ของบาง sensor อาจมีหลาย Library และบาง Library ก็ไม่สามารถใช้งานได้จึงอาจสับสนสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มใช้โปรแกรมนี้

Link ดาวน์โหลด : https://www.arduino.cc

จากประสบการณ์การใช้งานจริง แต่ละโปรแกรมมีจุดดีและจุดด้อยที่แตกต่างกันครับ ไม่ว่าจะเป็นด้าน UI UX รวมไปถึง tool ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน อีกทั้งแต่ละโปรแกรมจะมีภาษาที่รองรับแตกต่างกันไป โดยจากประสบการณ์การใช้งานจริง ผู้เขียนจึงขอแนะนำสายงาน ภาษาและโปรแกรมที่ควรใช้ร่วมกัน ได้แก่

  • สาย Microcontroller Board (ภาษา C++) =>  ArduinoIDE
  • สายแอปพลิเคชัน (ระบบปฏิบัติการ iOS ภาษา Swift)  => Xcode   (ระบบปฏิบัติการ Android ภาษา Java)  => Android Studio
  • สาย AI (Python) => PyCharm
  • มือใหม่ เพิ่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม (ทุกภาษา) => VS Code

ที่มารูปภาพ :

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์